Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 สิงหาคม 2557 EasyTaxi แอปสัญชาติบราซิลที่เพิ่งเปิดเป็นทางการ หลังเข้ามาลองตลาดอยู่เกือบปี รวมไปถึง "Uber" ที่จับกลุ่มพรีเมี่ยมเพราะมีรถยี่ห้อหรูทั้ง Benz, BMW เป็นต้น และเปิดบริการแล้วในกว่า 100 เมือง ใน 36 ประเทศ

ประเด็นหลัก



ล่าสุด "อีซี่แท็กซี่" (EasyTaxi) แอปสัญชาติบราซิลที่เพิ่งเปิดเป็นทางการ หลังเข้ามาลองตลาดอยู่เกือบปี รวมไปถึง "Uber" ที่จับกลุ่มพรีเมี่ยมเพราะมีรถยี่ห้อหรูทั้ง Benz, BMW เป็นต้น และเปิดบริการแล้วในกว่า 100 เมือง ใน 36 ประเทศ

ลักษณะการทำงานของแอปเหล่านี้เริ่มจากหารถแท็กซี่มาเป็นสมาชิก และให้ผู้โดยสารลงทะเบียนด้วยการโหลดแอปมาไว้ในสมาร์ทโฟน เมื่อต้องการเรียกรถจะต้องแจ้งจุดหมายปลายทางที่จะไปก่อน จากนั้นระบบจะค้นรถแท็กซี่สมาชิกที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพิกัดที่อยู่ของผู้เรียก ด้วยระบบ GPS หากแท็กซี่สมาชิกต้องการให้บริการจะตอบรับกลับ ทำให้ผู้โดยสารเห็นชื่อ "โชเฟอร์" ทะเบียนรถ และกดโทร.ออกจากแอปเพื่อพูดคุยกับคนขับได้

______________________________




ประชันแอปฯ "เรียกแท็กซี่" แข่งตอบโจทย์คนเมือง


เมื่อฝนฟ้าตก สิ่งที่เห็นชินตาในเมืองใหญ่ คือ การแย่งชิง "แท็กซี่" ในภาวะที่ใครก็อยากกลับบ้านเร็ว ไม่นับปัญหาซ้ำซากที่ผู้โดยสารต้องเจอกับคนขับปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ก๊าซหมด หรือต้องส่งรถ"

ปัญหาข้างต้นบรรเทาลงได้ด้วยแอปพลิเคชั่นเรียกแท็กซี่ ที่เริ่มได้รับความนิยมในเมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลก จนเริ่มมีกระแสต้านจากบรรดาโชเฟอร์ที่ยังพึ่งพาวิธีการหาลูกค้าแบบเดิม

แอปเรียก "แท็กซี่" หลายแบรนด์เริ่มเข้ามาในบ้านเราตั้งแต่ปีที่แล้ว เช่น GrabTaxi ที่เกิดจากแนวคิดของนักศึกษา "Havard Business School" ที่ต้องการแก้ปัญหาการเรียกแท็กซี่ในมาเลเซีย

ล่าสุด "อีซี่แท็กซี่" (EasyTaxi) แอปสัญชาติบราซิลที่เพิ่งเปิดเป็นทางการ หลังเข้ามาลองตลาดอยู่เกือบปี รวมไปถึง "Uber" ที่จับกลุ่มพรีเมี่ยมเพราะมีรถยี่ห้อหรูทั้ง Benz, BMW เป็นต้น และเปิดบริการแล้วในกว่า 100 เมือง ใน 36 ประเทศ

ลักษณะการทำงานของแอปเหล่านี้เริ่มจากหารถแท็กซี่มาเป็นสมาชิก และให้ผู้โดยสารลงทะเบียนด้วยการโหลดแอปมาไว้ในสมาร์ทโฟน เมื่อต้องการเรียกรถจะต้องแจ้งจุดหมายปลายทางที่จะไปก่อน จากนั้นระบบจะค้นรถแท็กซี่สมาชิกที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพิกัดที่อยู่ของผู้เรียก ด้วยระบบ GPS หากแท็กซี่สมาชิกต้องการให้บริการจะตอบรับกลับ ทำให้ผู้โดยสารเห็นชื่อ "โชเฟอร์" ทะเบียนรถ และกดโทร.ออกจากแอปเพื่อพูดคุยกับคนขับได้

สำหรับค่าบริการจะเก็บเพิ่มจากค่าโดยสารตามมิเตอร์ โดย GrabTaxi มีค่าบริการ 25 บาท EasyTaxi ถูกกว่าอยู่ที่ 20 บาท ส่วน Uber คิดค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 45 บาท และ 9.20 บาทต่อกิโลเมตร (ขั้นต่ำต้องจ่ายอย่างน้อย 75 บาท) ถ้าไปสนามบินต้องเหมาจ่าย 1,000 บาท ต่อเที่ยว ชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต ซึ่งแตกต่างจาก 2 แอปแรกที่จ่ายเป็นเงินสดให้คนขับแท็กซี่

EasyTaxi และ GrabTaxi มีให้ดาวน์โหลดได้ครบทั้งจาก "แอปสโตร์, กูเกิลเพลย์, วินโดวส์สโตร์ และแบล็คเบอร์รี่" ส่วน Uber มีบนแอปสโตร์และกูเกิลเพลย์สโตร์ ซึ่งทุกแอปเมื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้วเดินทางไปในประเทศที่ให้บริการ ก็จะเรียกแท็กซี่ในประเทศนั้น ๆ ได้ทันที ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่

แต่ละแอปพลิเคชั่นมีโปรโมชั่นเพื่อแนะนำบริการให้ลูกค้ารู้จักเป็นระยะ ๆ อาทิ Uber ที่แจกรหัสส่วนลดค่าโดยสาร 300 บาท เพื่อให้ทดลองใช้งาน หรือ GrabTaxi แจกรหัสส่วนลด 100 บาท ให้ผู้หญิงในวันสตรีสากล หรือ EasyTaxi มีโปรโมชั่นในเทศกาลวันแม่ให้ร่วมสนุก

ถ่ายรูปคู่กับแม่เมื่อใช้บริการ หรือบอกรักแม่ผ่านเฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ ลุ้นรับรางวัลพิเศษ "เฟลิปเป้ คาซินสกี้" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "อีซี่แท็กซี่ ไทยแลนด์" กล่าวว่า ปัจจุบันเมืองใหญ่ทั่วโลกต่างมีแอปพลิเคชั่นสำหรับเรียกแท็กซี่เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตและความสะดวกสบายในการเดินทาง

ซึ่งอีซี่แท็กซี่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียกรถแท็กซี่ยากในบราซิล หลังเปิดตัวเมื่อปี 2554 ได้รับผลตอบรับดีมากจากผู้โดยสารและแท็กซี่ ปัจจุบันขยายบริการใน 182 เมือง 32 ประเทศทั่วโลก มียอดดาวน์โหลด 10 ล้านครั้ง มีแท็กซี่เข้าร่วมกว่า 185,000 คัน ไทยเป็น 1 ใน 9 ประเทศในเอเชียที่เข้ามาทำตลาด มีแท็กซี่ในกรุงเทพฯร่วมโครงการ 8,000 คัน มียอดดาวน์โหลดกว่า 5 แสนครั้ง

"แอปเรียกแท็กซี่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟน ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก ไม่ต้องรอคิวหรือต่อรองแท็กซี่ว่าจะไปหรือไม่ไป แท็กซี่ที่มารับจะตอบรับการเรียกของผู้โดยสารเอง ทุกเที่ยวจะมีการบันทึกข้อมูลคนขับ เลขทะเบียนรถที่มารับ หากลืมสิ่งของมีบริการคอลเซ็นเตอร์ 24 ชั่วโมงไว้บริการ มีการประเมินผลการบริการเพื่อคัดแท็กซี่ที่ไม่มีคุณภาพออกจากโครงการ นอกจากผู้โดยสารจะได้ประโยชน์แล้ว ฝั่งแท็กซี่ก็ได้ประโยชน์จากการมีผู้โดยสาร และรายได้เพิ่มขึ้น 50-100% มีความปลอดภัยด้วยเพราะลงทะเบียนข้อมูลผ่านแอปทั้ง 2 ฝ่าย"

ณัฐภัค อติชาตการ กรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ อีซี่แท็กซี่ ประเทศไทยกล่าวว่า มูลค่าตลาดแอปเรียกแท็กซี่ในไทยยังประเมินได้ยาก เพราะเป็นตลาดใหม่ ทั้งอีซี่แท็กซี่เข้ามาในไทยหลังคู่แข่ง แต่มั่นใจในคุณภาพและบริการที่เน้นสร้างความพึงพอใจทั้งผู้โดยสารและแท็กซี่ ซึ่งโมเดลการหารายได้ในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เช่น ในประเทศไทยค่าบริการเรียกรถ 20 บาท เป็นของคนขับแท็กซี่ทั้งหมดเพื่อจูงใจให้มีรถเข้าร่วมโครงการ คาดว่าในสิ้นปีจะมีรถในโครงการ 2.8 หมื่นคัน ส่วนบริษัทมีรายได้ในปัจจุบันจากแบนเนอร์โฆษณาในแอป

การแข่งขันในตลาดแอปเรียกแท็กซี่รุนแรงทุกประเทศอีซี่แท็กซี่มีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนรถโดยร่วมเป็นพันธมิตรกับสหกรณ์แท็กซี่ต่าง ๆ ลดเวลาการรอรถจากเฉลี่ย 10 นาที ให้เหลือ 5 นาที เพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต พร้อมเพิ่มบริการในต่างจังหวัด เช่น พัทยา อุบลราชธานี เชียงใหม่ ตอนนี้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย รวมทั้งสนับสนุนโครงการร่วมกับภาครัฐ เช่น โครงการเมาไม่ขับกลับปลอดภัย

สิ่งสำคัญคือการให้ผู้บริโภคเห็นความสะดวกของการใช้แอปเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลูกค้าหันมาเรียกแท็กซี่ผ่านแอปมากขึ้นนับเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกของผู้บริโภคยุคนี้ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408097800

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.