Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 สิงหาคม 2557 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ชี้ ส่วนกรณีที่ที่ผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอลเลื่อนระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 ( ยอมให้กรณีเดี่ยวคือการขยายโครงข่ายไม่เข้าเป้า ห้ามชี้เหตุคูปอง )

ประเด็นหลัก


ส่วนกรณีที่ที่ผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอล จะรวมตัวกันยื่นเรื่องต่อ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช. พิจารณาเลื่อนระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 และเลื่อนระยะเวลาการจ่ายค่ายให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ให้ผู้ให้บริการโครงข่ายภาคพื้นดินในระบบทีวีดิจิตอลนั้น ตนเห็นว่าทางกลุ่มผู้ประกอบการสามารถเข้ามายื่นเรื่องให้แก่ กสทช. พิจารณาได้ แต่หากเป็นการขอเลื่อนโดยให้เหตุผลเพราะ กสทช. ออกคูปองล่าช้า ก็คงไม่สามารถดำเนินการตามคำขอได้ แต่หากเป็นเหตุผลที่ผู้ให้บริการโครงข่ายมีปัญหาในการให้บริการ ก็มีความเป็นไปได้ในการพิจารณาคำขอดังกล่าว


______________________________




กสทช.แย้มออกอากาศช้าเหตุโครงข่ายไม่พร้อมพอฟังขึ้น-จี้ขายกล่องทัน15ต.ค.

แบะท่ายืดค่าต๋งทีวีดิจิตอล

กสทช.เปิดเวทีรับฟังความเห็น ประเด็นความพร้อมทีวีดิจิตอล ก่อนนำความเห็นเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. 20 สิงหาคม และเข้าชี้แจง คสช.ในวันเดียวกัน ฐากรเผย ผู้ขายกล่องรับสัญญาณขอยืดเวลาไปถึง 1 พ.ย. พร้อมผ่อนเกณฑ์หลายข้อทั้งเรื่องคุณสมบัติสินค้าและผู้ประกอบการ ส่วนกรณี

คนที่ได้ไลเซ่นส์ทีวีดิจิตอล จะยืดเวลาจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 2 นั้น จะรับฟังข้อเสนอ หากว่าต้นเหตุจากโครงข่ายไม่พร้อม แต่ถ้ายกข้ออ้างแจกคูปองล่าช้า อันนี้ฟังไม่ขึ้น

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยในงานประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเฉพาะกลุ่มเรื่องกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ที่สำนักงาน กสทช. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2557 ว่า การเชิญผู้ประกอบการช่องโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ผู้ประกอบการผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล และกลุ่มคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มาแสดงความเห็นในครั้งนี้ เพื่อนำความเห็นที่มีต่อการกำหนดหลักเกณฑ์ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการรับแลกอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลโดยการใช้คูปอง นำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด กสทช. พิจารณาในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ ก่อนที่จะนำผลที่ได้เข้าชี้แจงต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่นัดหมายให้ กสทช. เข้าไปชี้แจงเรื่องการแจกคูปองในช่วงเย็นของวันดังกล่าว

ทั้งนี้จากการรับฟังความเห็นเบื้องต้นพบว่า การที่ กสทช. มีกำหนดจะประกาศรายชื่อบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการ ในวันที่ 10 กันยายน ส่งผลให้ผู้ประกอบการผู้จัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 45 วัน ทำให้ผู้จัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณมีความพร้อมที่จะให้รับแลกคูปองได้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน

อย่างไรก็ตาม กสทช. จะเจรจากับทางผู้ประกอบการให้หาความเป็นไปได้ในการเลื่อนระยะเวลาความพร้อมเร็วขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม เพื่อให้สอดรับกับคูปองที่ กสทช. จะเริ่มดำเนินการแจกในวันที่ 15 กันยายน ซึ่งประชาชนอาจต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 7-10 วัน ในการส่งคูปองถึงมือประชาชน ส่วนประเด็นทุนจดทะเบียนที่จะเป็นตัวกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทางผู้ประกอบการได้เสนอให้กำหนดที่ 1 ล้านบาท เพื่อให้มีบริษัทเข้าร่วมมากสุดที่ 52 ราย ตามที่ลงทะเบียนกับ กสทช. ซึ่งกรณีดังกล่าวทาง กสทช. ไม่ขัดข้องแต่อยากขอความร่วมมือให้ทยอยเพิ่มทุนจดทะเบียนในภายหลัง เพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้ผู้บริโภค ทั้งนี้ ทาง กสทช. ยังมีแผนตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อติดตามดูแลและตรวจสอบปัญหาการรับแลกคูปองที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

ส่วนกรณีที่ที่ผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอล จะรวมตัวกันยื่นเรื่องต่อ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช. พิจารณาเลื่อนระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 และเลื่อนระยะเวลาการจ่ายค่ายให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ให้ผู้ให้บริการโครงข่ายภาคพื้นดินในระบบทีวีดิจิตอลนั้น ตนเห็นว่าทางกลุ่มผู้ประกอบการสามารถเข้ามายื่นเรื่องให้แก่ กสทช. พิจารณาได้ แต่หากเป็นการขอเลื่อนโดยให้เหตุผลเพราะ กสทช. ออกคูปองล่าช้า ก็คงไม่สามารถดำเนินการตามคำขอได้ แต่หากเป็นเหตุผลที่ผู้ให้บริการโครงข่ายมีปัญหาในการให้บริการ ก็มีความเป็นไปได้ในการพิจารณาคำขอดังกล่าว

นายเอกศักดิ์ แดงเดช ประธานชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายดิจิตอลทีวี กล่าวว่า ในการเสนอความเห็นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการรับแลกคูปอง เห็นว่าหาก กสทช. กำหนดวันประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติเป็นวันที่ 10 กันยายน จะส่งผลให้ผู้ประกอบการความพร้อมในการเปิดให้ประชาชนแลกคูปองได้จริงในวันที่ 1 พฤศจิกายน เนื่องจากตามขั้นตอนหลังประกาศรายชื่อ ผู้ประกอบการจะต้องไปเปิดบัญชีธนาคารและขอเครดิตการนำเข้าจำหน่ายสินค้า จากนั้นจึงมีการส่งผลิต ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจนถึงการจัดส่งในปริมาณมากที่จะมาทางเรือ จะใช้ระยะเวลาราว 45-60 วัน

ทั้งนี้ จากการที่ กสทช. กำหนดให้ราคาคูปองมีมูลค่า 690 บาทต่อครัวเรือน ส่งผลให้การจำหน่ายกล่องทีวีดิจิตอลในจำนวนดังกล่าวแทบจะไม่สามารถสร้างกำไรให้ผู้ประกอบการได้เลย จึงอยากเสนอให้ กสทช. พิจารณาเปลี่ยนระยะเวลาการรับประกันจาก
2 ปี เหลือ 1 ปี ตามมาตรฐานสากล ยกเลิกข้อกำหนดเปลี่ยนสินค้าให้ทันทีเป็นจะเปลี่ยนสินค้าให้หลังการตรวจสอบ แต่จะมีกล่องให้ยืมใช้งาน เนื่องจากอาจมีความเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะทำเสียเองและอ้างว่าสินค้าจากโรงงานมีปัญหา อยากเสนอให้กำหนดทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้านบาท ให้มีผู้เข้าร่วมโรงการมากสุด เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาด และขอให้ กสทช. พิจารณาละเว้นการจัดเก็บค่าภาษีสินค้า

ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอล ต้องการเสนอให้ กสทช. จัดตั้งคณะอนุกรรมการที่มีสมาชิกเป็นทั้ง กสทช. ผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอล ผู้จำหน่ายอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอล และกลุ่มคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เพื่อดูแลความเรียบร้อยในการขั้นตอนการช้คูปองแลกอุปกรณ์ ป้องกันการทุจริต การทำแผนประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน และการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโครงข่ายดำเนินการตามแผนงานเป็นต้น

นายสุภาพกล่าวว่า เร็วๆ นี้ ทางผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องจะรวมตัวกันมายื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช. พิจารณาเลื่อนระยะเวลาการจัดเก็บค่าใบอนุญาตในงวดที่ 2 และค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน เนื่องจากการที่คูปองทีวีดิจิตอลออกล่าช้า ประกอบกับการให้บริการโครงข่ายของผู้ประกอบการบางรายในบางพื้นที่ยังคงมีปัญหาการให้บริการ ส่งผลให้รายได้จากค่าโฆษณา







http://www.naewna.com/business/117795

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.