Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 สิงหาคม 2557 ช่อง3.ประวิทย์ ระบุ หากต้องนำช่อง 3 แอนะล็อกไปออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัล จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นทุนของบริษัท และช่อง 3 ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมาตั้งแต่ 45 ปีที่ผ่านมา แต่เพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา"

ประเด็นหลัก

ใน ทางกลับกัน หากต้องนำช่อง 3 แอนะล็อกไปออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัล จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นทุนของบริษัท ประกอบกับช่อง 3 แอนะล็อกก็เป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่ง อีกทั้งเป้าหมายการประมูลทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่องก็เพื่อพัฒนาธุรกิจทีวีของบริษัท ไม่ได้ตั้งใจว่าจะไปประมูลมาแล้วเพื่อนำช่อง 3 แอนะล็อกมาออกอากาศคู่ขนาน

ความ ตั้งใจของประวิทย์ คือ ยังยืนยันว่าจะออกอากาศช่อง 3 แอนะล็อกต่อไป "ช่อง 3 เดิมยังออกอากาศเหมือนเดิม เพราะแบรนด์ของช่อง 3 มีความแข็งแกร่งแล้ว แต่เมื่อสัมปทานช่อง 3 เดิมหมดแล้วค่อยนำทรัพยากรทั้งหมดย้ายมาที่ทีวีดิจิทัล แต่ปัจจุบันนี้ต้องต่างฝ่ายต่างพัฒนาช่องของตัวเองให้มีความแข็งแรงไปก่อน"







______________________________




"ช่อง 3" เดินหน้าสานฝัน ผงาด...ทีวีดิจิทัล



หลัง เปิดฉากประมูลทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่องด้วยเม็ดเงินถึง 6,471 ล้านบาท วันนี้ "ช่อง 3" เดินหน้าออกอากาศมาแล้ว 4 เดือน ท่ามกลางสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงข่าย การแจกคูปองสนับสนุน การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล การวัดเรตติ้งที่ยังไม่ครอบคลุม ตลอดจนปัจจัยภายในองค์กรเอง เช่น คอนเทนต์ บุคลากร เป็นต้น

"ประวิทย์ มาลีนนท์" กรรมการและอดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ฉายภาพหลังจากทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่อง คือ ช่องแฟมิลี่ 13 ช่องเอสดี 28 และเอชดี 33 ออกอากาศมาแล้ว 4 เดือน ว่ามีแต่รายจ่ายเกิดขึ้นยังไม่มีรายได้เข้ามา

ปัจจุบันผู้ประกอบการ ทีวีดิจิทัลกำลังเผชิญอยู่กับต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะที่โฆษณาซึ่งเป็นรายได้หลักฟรีทีวีก็ยังไม่เกิดขึ้น ผู้ผลิตรายการจากเดิมที่เคยยอมรับความเสี่ยงเรื่องต้นทุนไว้ ด้วยการมาเช่าเวลาของสถานีเพื่อออกอากาศรายการนั้น ๆ ก็จำเป็นต้อง ผลักภาระต้นทุนให้สถานีในช่วงเริ่มต้นนี้เมื่อโฆษณาขายไม่ได้ สถานีก็ไม่มีรายได้และจ้างผลิตรายการใหม่ไม่ได้เช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ช่องทีวีดิจิทัลวันนี้จึงไม่มีรายการใหม่ สุดท้ายแล้วผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทุกรายก็อาจจะหยุดผลิตรายการใหม่

นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกเรื่องความไม่พร้อมโครงข่ายการออกอากาศ การวัดเรตติ้งที่ยังไม่ครอบคลุม ความไม่พร้อมของผู้ประกอบการ จากระยะเวลาการประมูลจนถึงกำหนดออกอากาศค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวไม่ทัน ด้วยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลช้าลง เพราะอุตสาหกรรมไม่เดินหน้าจากปัญหาที่เกิดขึ้น"ทุกอย่างผิดคาด เพราะก่อนประมูลผู้ประกอบการโดยเฉพาะทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวีต่างมองว่าเป็นโอกาส เพราะการย้ายจากทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ขึ้นสู่ฟรีทีวี ทำให้เข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น และราคาโฆษณาก็อาจจะขยับขึ้นจากหลักพันเป็นหลักหมื่น หลักแสน แต่ทุกอย่างไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ อีกทั้งวันนี้ทุกรายกำลังเผชิญหลายปัญหาที่เกิดขึ้น"

ขณะเดียวกัน บริษัทเองก็ให้คำตอบไม่ได้เช่นกันว่า คอนเทนต์ใหม่ ๆ จะออกอากาศได้อย่างเต็มกำลังในต้นปีหน้าหรือไม่ หรืออาจจะไม่มีรายการใหม่เกิดขึ้น เพราะรายได้โฆษณาของทีวีดิจิทัลที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลก็อยู่ในภาวะขาดทุนอยู่แล้ว

ไม่เพียงปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น ปัจจัยภายในที่บริษัทต้องเผชิญอยู่ คือ การขาดแคลนบุคลากรในทุกส่วน ประวิทย์ยอมรับว่า วันนี้ขาดแคลนบุคลากรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง กลายเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ยังไม่พร้อมปล่อยคอนเทนต์ใหม่ออกไป และปัญหาอีกด้านก็อยู่ที่ผลตอบรับจากผู้ชมว่าจะรับชมช่องของบริษัทมากน้อย แค่ไหน

เขาตระหนักดีว่า ความสำเร็จของธุรกิจทีวี อยู่ที่ผู้ชมเป็นหลัก เพราะรายได้ฟรีทีวีมาจากเรตติ้ง และเรตติ้งก็คือความนิยมของผู้ชม

"การสร้างช่องทีวีให้ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมจากผู้ชมไม่ได้เกิดขึ้น ง่าย ๆ ทั้งนี้ช่อง 3 แอนะล็อกก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมากว่า 45 ปี ถึงจะมีวันนี้ และช่อง 3 ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมาตั้งแต่ 45 ปีที่ผ่านมา แต่เพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา"

"เราต้องผลิตสินค้า ใหม่อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าทำแล้วอยู่ได้ตลอด เพราะธุรกิจทีวีแตกต่างจากการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่เมื่อสร้างแบรนด์ให้ ติดตลาดแล้ว และรักษาแบรนด์ไว้ ก็จะมียอดขายเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ทีวีต้องสร้างคอนเทนต์ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งการสร้างคอนเทนต์ใหม่ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าละครหรือคอนเทนต์นั้น ๆ จะได้รับความนิยมเหมือนของเดิมหรือเปล่า"

ประวิทย์บอกอีกว่า บริษัทกำลังหาคีย์ซักเซสของทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่องอยู่ แต่คีย์ซักเซสที่กำลังหาวันนี้ ไม่ได้หมายถึงช่องอีกต่อไป แต่หมายถึงรายการ นั่นคือ ช่องต้องหารายการที่ได้รับความนิยมให้ได้ เพราะการทำทีวีคือการสร้างรายการขึ้นมาทีละรายการ ๆ เป็นการสั่งสมบารมี สะสมผู้ชม และไม่ใช่ว่าช่องจะมีแค่รายการเดียวแล้วผู้ชมจะให้ความสนใจ เพราะทีวีไม่ใช่นิตยสาร คือเมื่อคนซื้อแล้วจบ ส่วนจะไปอ่านที่ไหนก็ไม่รู้อนาคตหลังจากสัมปทานของช่อง 3 แอนะล็อกหมดลงในอีก 6 ปีข้างหน้า บริษัทก็จะเททรัพยากรทั้งหมดย้ายมาที่ทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่อง

ในส่วนของประเด็นเรื่องช่อง 3 แอนะล็อกได้รับสิทธิ์ออกอากาศในฐานะฟรีทีวีจาก กสทช. อีก 100 วันนับจากวันที่ 25 พ.ค. 57 ซึ่งจะเป็นวันครบกำหนดในวันที่ 1 ก.ย.นี้ และยังไม่มีคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ทำให้ช่อง 3 ต้องปฏิบัติตามประกาศมัสต์แครี่ นั่นคือ ช่อง 3 จะออกอากาศได้เฉพาะบนโครงข่ายทีวีแอนะล็อกภาคพื้นดินเท่านั้น และต้องยุติการออกอากาศฟรีทีวีบนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิล ประวิทย์บอกว่า ถึงแม้จะไม่ได้รับการคำสั่งคุ้มครองก็ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบอะไร

ใน ทางกลับกัน หากต้องนำช่อง 3 แอนะล็อกไปออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัล จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นทุนของบริษัท ประกอบกับช่อง 3 แอนะล็อกก็เป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่ง อีกทั้งเป้าหมายการประมูลทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่องก็เพื่อพัฒนาธุรกิจทีวีของบริษัท ไม่ได้ตั้งใจว่าจะไปประมูลมาแล้วเพื่อนำช่อง 3 แอนะล็อกมาออกอากาศคู่ขนาน

ความ ตั้งใจของประวิทย์ คือ ยังยืนยันว่าจะออกอากาศช่อง 3 แอนะล็อกต่อไป "ช่อง 3 เดิมยังออกอากาศเหมือนเดิม เพราะแบรนด์ของช่อง 3 มีความแข็งแกร่งแล้ว แต่เมื่อสัมปทานช่อง 3 เดิมหมดแล้วค่อยนำทรัพยากรทั้งหมดย้ายมาที่ทีวีดิจิทัล แต่ปัจจุบันนี้ต้องต่างฝ่ายต่างพัฒนาช่องของตัวเองให้มีความแข็งแรงไปก่อน"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408695081

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.