Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 กันยายน 2557 (บทความ) ลิขสิทธิ์บอลนอก ยุค "รวมกันเราอยู่รอด" // ตั้งข้อสังเกตุ ค่าย TV ดาวเทียมรายเดือน ปรับทิศทางการตลาดเลิกเดินด้วยลำแข้งของตัวเองเพียว ๆ แล้วหันมาจับมือผนึกกำลังกันเอง (ธนา เธียรอัจฉริยะ ชี้ ลิขสิทธิ์ฟุตบอลในปัจจุบัน แพงไป )

ประเด็นหลัก



ส่งผลให้ช่องทางการดูฟุตบอลในเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากเมื่อก่อนลิขสิทธิ์ถูกผูกขาดอยู่กับ "ทรูวิชั่นส์" เพียงแค่รายเดียว ก็กลายมาเป็นกระจายสู่คู่แข่งขันเพย์ทีวีรายอื่นอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น "ซีทีเอช" ที่ได้ลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ, "อาร์เอส" ถือครองสิทธิ์ลาลีกาสเปน และฟุตบอลโลก, "แกรมมี่" มีลิขสิทธิ์บุนเดสลีก้า เยอรมัน และฟุตบอลยูโร รวมทั้งทรูวิชั่นส์ที่ได้ไทยลีกและฟุตบอลยุโรปเช่นเดิม

เมื่อต่างฝ่ายต่างถือครองลิขสิทธิ์ศึกลูกหนังชั้นนำกันถ้วนหน้า สงครามแย่งชิงสายตาคอบอลในช่วงเวลาดังกล่าวจึงค่อนข้างเป็นเอกเทศ ต่างคนต่างเดินเกมทางการตลาดชิงไหวชิงพริบด้วยตัวเองอย่างหนัก เพียงแต่ผลลัพธ์ของการถ่ายทอดสดยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจมากนัก เพราะส่วนใหญ่ไม่อาจจุดกระแสลูกหนังในมือให้ติดตลาดได้อย่างที่คิด

ขณะบางรายออกอาการเจ็บหนักจากการใช้เงินมหาศาลเข้าซื้อลิขสิทธิ์ รวมทั้งการเข้าแทรกแซงจากทางภาครัฐเป็นการเฉพาะกิจเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยบนสังเวียนเพย์ทีวี ผู้เล่นรายใหญ่อย่างทรูวิชั่นส์,ซีทีเอช, อาร์เอส และแกรมมี่ จึงตัดสินใจปรับทิศทางการตลาดเลิกเดินด้วยลำแข้งของตัวเองเพียว ๆ แล้วหันมาจับมือผนึกกำลังกันเองระหว่างค่ายเพย์ทีวี เพื่อเพิ่มช่องทางการถ่ายทอดสดให้กว้างยิ่งขึ้นกว่าเดิม

"ธนา เธียรอัจฉริยะ" นักการตลาดอิสระ ให้ความเห็นว่า สถานการณ์แลกเปลี่ยนลิขสิทธิ์ฟุตบอลในปัจจุบัน ถือเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติของทฤษฎีการตลาดทั่วไป ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการตัดสินใจ

ประมูลแพงเกินความจำเป็นทางธุรกิจ แม้ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลระยะยาวในการสร้างฐานลูกค้า หรือแม้แต่การสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดก็ตาม "ตอนนี้เป็นช่วงของการสร้างคอนเน็กชั่นระหว่างบริษัทเพย์ทีวีด้วยกันเอง และเป็นช่วงเวลาของการปรับตัวให้บาดเจ็บน้อยที่สุด" ธนาอธิบายอย่างกระชับเห็นได้จากปีที่แล้ว (2556) เมื่ออาร์เอสบริหารลิขสิทธิ์ฟุตบอลลาลีกา สเปน เข้าสู่การแข่งขันฤดูกาลที่ 2 พวกเขาได้ตัดสินใจมองหาพันธมิตรถ่ายทอดสดขนานใหญ่ จนกระทั่งมาลงตัวกับ 4 คู่ค้าหลักอย่างช่อง 7, ทรูวิชั่นส์, พีเอสไอ และมีเทลิวิชั่น (ทีโอที ไอพีทีวี) ด้านแกรมมี่ก็เลือกแบ่งฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน ซีซั่นก่อน (2013/2014) มาออกอากาศทางช่อง 3 เป็นจำนวน 15 แมตช์






______________________________




ลิขสิทธิ์บอลนอก ยุค "รวมกันเราอยู่รอด"



ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา วงการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก หรือ "เพย์ทีวี" ในเมืองไทย ได้เกิดการแข่งขันแย่งชิงความเป็นเบอร์หนึ่งกันอย่างดุเดือด โดยมี "คอนเทนต์" เป็นอาวุธสำคัญในการฟาดฟันกับคู่แข่งบนสมรภูมิแต่ทว่าในบรรดาอาวุธ (คอนเทนต์) จำนวนมากมายมหาศาลบนหน้าจอเพย์ทีวี

การถ่ายทอดสด "ฟุตบอลชั้นนำ" ถือว่าเป็นอาวุธหนักเทียบชั้นระเบิดปรมาณูที่สามารถชี้เป็นชี้ตายให้กับ ธุรกิจได้เลยทีเดียว จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ค่ายเพย์ทีวีขาใหญ่ตัดสินใจทุ่มทุนก้อนโต เพื่อดึงลิขสิทธิ์คอนเทนต์กีฬาลูกหนังมาถือไว้ในกำมือ

ส่งผลให้ช่องทางการดูฟุตบอลในเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากเมื่อก่อนลิขสิทธิ์ถูกผูกขาดอยู่กับ "ทรูวิชั่นส์" เพียงแค่รายเดียว ก็กลายมาเป็นกระจายสู่คู่แข่งขันเพย์ทีวีรายอื่นอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น "ซีทีเอช" ที่ได้ลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ, "อาร์เอส" ถือครองสิทธิ์ลาลีกาสเปน และฟุตบอลโลก, "แกรมมี่" มีลิขสิทธิ์บุนเดสลีก้า เยอรมัน และฟุตบอลยูโร รวมทั้งทรูวิชั่นส์ที่ได้ไทยลีกและฟุตบอลยุโรปเช่นเดิม

เมื่อต่างฝ่ายต่างถือครองลิขสิทธิ์ศึกลูกหนังชั้นนำกันถ้วนหน้า สงครามแย่งชิงสายตาคอบอลในช่วงเวลาดังกล่าวจึงค่อนข้างเป็นเอกเทศ ต่างคนต่างเดินเกมทางการตลาดชิงไหวชิงพริบด้วยตัวเองอย่างหนัก เพียงแต่ผลลัพธ์ของการถ่ายทอดสดยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจมากนัก เพราะส่วนใหญ่ไม่อาจจุดกระแสลูกหนังในมือให้ติดตลาดได้อย่างที่คิด

ขณะบางรายออกอาการเจ็บหนักจากการใช้เงินมหาศาลเข้าซื้อลิขสิทธิ์ รวมทั้งการเข้าแทรกแซงจากทางภาครัฐเป็นการเฉพาะกิจเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยบนสังเวียนเพย์ทีวี ผู้เล่นรายใหญ่อย่างทรูวิชั่นส์,ซีทีเอช, อาร์เอส และแกรมมี่ จึงตัดสินใจปรับทิศทางการตลาดเลิกเดินด้วยลำแข้งของตัวเองเพียว ๆ แล้วหันมาจับมือผนึกกำลังกันเองระหว่างค่ายเพย์ทีวี เพื่อเพิ่มช่องทางการถ่ายทอดสดให้กว้างยิ่งขึ้นกว่าเดิม

"ธนา เธียรอัจฉริยะ" นักการตลาดอิสระ ให้ความเห็นว่า สถานการณ์แลกเปลี่ยนลิขสิทธิ์ฟุตบอลในปัจจุบัน ถือเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติของทฤษฎีการตลาดทั่วไป ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการตัดสินใจ

ประมูลแพงเกินความจำเป็นทางธุรกิจ แม้ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลระยะยาวในการสร้างฐานลูกค้า หรือแม้แต่การสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดก็ตาม "ตอนนี้เป็นช่วงของการสร้างคอนเน็กชั่นระหว่างบริษัทเพย์ทีวีด้วยกันเอง และเป็นช่วงเวลาของการปรับตัวให้บาดเจ็บน้อยที่สุด" ธนาอธิบายอย่างกระชับเห็นได้จากปีที่แล้ว (2556) เมื่ออาร์เอสบริหารลิขสิทธิ์ฟุตบอลลาลีกา สเปน เข้าสู่การแข่งขันฤดูกาลที่ 2 พวกเขาได้ตัดสินใจมองหาพันธมิตรถ่ายทอดสดขนานใหญ่ จนกระทั่งมาลงตัวกับ 4 คู่ค้าหลักอย่างช่อง 7, ทรูวิชั่นส์, พีเอสไอ และมีเทลิวิชั่น (ทีโอที ไอพีทีวี) ด้านแกรมมี่ก็เลือกแบ่งฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน ซีซั่นก่อน (2013/2014) มาออกอากาศทางช่อง 3 เป็นจำนวน 15 แมตช์

ล่าสุดเป็นคิวของซีทีเอช ที่ขาดทุนไปกับการบริหารลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกฤดูกาลแรก ทำให้ปีนี้จำเป็นต้องหาแนวร่วมเข้ามาเพิ่มช่องทางการชมให้มากขึ้น เริ่มจากการเทกโอเวอร์แลกหุ้นกับแกรมมี่

ที่ประสบปัญหาธุรกิจทีวีดาวเทียมขาดทุนไม่ต่างกัน ด้วยการให้ "ซีทีเอช แอล ซี โอ" บริษัทลูกของซีทีเอชเข้าไปถือหุ้น 100เปอร์เซ็นต์ของ "จีเอ็มเอ็ม บี" บริษัทลูกด้านทีวีดาวเทียมของแกรมมี่ ส่วน "แซท เทรดดิ้ง" บริษัทลูกอีกแห่งของแกรมมี่ได้ถือหุ้นของซีทีเอช 10 เปอร์เซ็นต์

"เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์" ประธานกรรมการบริหารบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแข่งขันธุรกิจทีวีมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ให้บริการเพย์ทีวีต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก ทำให้ซีทีเอชและแกรมมี่ตัดสินใจร่วมมือกัน เพื่อกระตุ้นให้รายได้กลับไปอยู่ในจุดคุ้มทุนภายใน 1 ปี อีกทั้งตั้งเป้าสร้างฐานผู้ชมให้ได้ 10 ล้านคน และสร้างรายได้6-7 พันล้านบาท สำหรับลูกค้ากลุ่มเดิมของทั้ง 2 ค่ายจะยังคงดูรายการอื่น ๆ ได้ตามปกติ และยังสามารถซื้อแพ็กเกจพิเศษอย่างพรีเมียร์ลีกเพิ่มเติมได้ด้วย

นอกจากซีทีเอชจะจับมือกับแกรมมี่แล้ว ยังจับมือพีเอสไอและอาร์เอสในการถ่ายทอดสดเพิ่มเติม

ธนา เธียรอัจฉริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจับมือของเพย์ทีวีถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะลิขสิทธิ์เหล่านี้มีวันหมดอายุแบบเดียวกับนมกล่อง ถ้าไม่สามารถสร้างตลาดให้แข็งแกร่งได้ด้วยตัวเองในเวลาอันสั้น หรือมีเวลาไม่มากพอในการครองตลาด ก็ต้องพยายามสร้างช่องทางการขายและถ่ายทอดให้มากพอ

"ถ้าระยะเวลา 3 ปีไม่สามารถสร้างช่องทางการขายของตัวเองได้เพียงพอ สิ่งที่ต้องทำคือไปใช้ช่องทางของคนอื่นช่วย เพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน ซึ่งถือเป็นวิธีการบริหารลิขสิทธิ์ที่แก้ปัญหาได้"

นักการตลาดรายเดิมยังอธิบายเสริมว่า ในอนาคตมูลค่าของการประมูลลิขสิทธิ์เกรดเอ (พรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลโลก และฟุตบอลยูโร ฯลฯ) จะลดลง ไม่น่าสูงมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา แต่ส่วนตัวมองว่า ลิขสิทธิ์เกรดรองลงมาอย่างวอลเลย์บอล หรือบาสเกตบอล อาจจะแพงยิ่งขึ้น เพราะทีวีดิจิทัลที่เกิดขึ้นมาในปัจจุบันจะกระโดดเข้ามาประมูลแย่งชิลิขสิทธิ์กลุ่มนี้ เพราะไม่มีงบฯมากพอสำหรับการทุ่มซื้อลิขสิทธิ์เกรดเอแบบเพย์ทีวีน่าสนใจว่า ซีซั่นนี้จะเป็นซีซั่นสุดท้ายของอาร์เอสในการบริหารลิขสิทธิ์ลาลีกาสเปน และแกรมมี่ในการถือลิขสิทธิ์บุนเดสลีกา เยอรมัน ทำให้ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่า การประมูลรอบหน้า ใครจะได้ถือครองลิขสิทธิ์ของฟุตบอลทั้ง 2 ลีกดังไปอีก 3 ปี



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409548937

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.