Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 กันยายน 2557 ผู้ประกอบการ Digital TV ขอ กสทช. ขยายเวลาใบอนุญาตจาก 15 ปีเป็น 20 ปี // ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและเงินสมทบเข้ากองทุน กทปส. รวม 4% ของรายได้ใน 2 ปีแรก,//เลื่อนเวลาชำระค่าประมูลงวดที่ 2 ไปจ่าย ก.พ. 2560

ประเด็นหลัก



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรวมตัวกันยื่นหนังสือร้องเรียน กสทช. ทั้งในส่วนการสนับสนุนให้จัดลำดับช่องรายการใหม่ให้ช่องทีวีดิจิทัลอยู่ตรง กันทุกแพลตฟอร์ม, ปัญหาช่อง 3 แอนะล็อก เป็นต้นนางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เรียกร้องให้ กสทช.เยียวยาผลกระทบให้ผู้ประกอบการจากความล่าช้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิ จิทัล ทั้งการเลื่อนแจกคูปองส่วนลด การขยายโครงข่ายไม่เป็นตามแผน

โดย ผู้ประกอบการขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและเงินสมทบเข้ากองทุน กทปส. รวม 4% ของรายได้ใน 2 ปีแรก, ให้เลื่อนเวลาชำระค่าประมูลงวดที่ 2 ไปจ่าย ก.พ. 2560 และจ่ายงวดถัดไปอีกทุก 2 ปีจนกว่าจะครบ พร้อมขยายเวลาใบอนุญาตจาก 15 ปีเป็น 20 ปี

แหล่งข่าวจากวงการทีวีดาวเทียมเปิดเผยว่า ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเตรียมฟ้อง กสทช. กรณีออกประกาศเรียงช่องใหม่ เนื่องจากต้องรื้อระบบเรียงช่องรวมถึงโปรโมตช่องรายการให้ประชาชนรับรู้ใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเคเบิลทีวีที่ระบบออกอากาศรองรับช่องได้จำกัด จะเหลือช่องรายการของตัวเองน้อยมากเพราะถูก 36 ช่องดิจิทัลเบียด

______________________________




"ทีวีดิจิทัล" ขอยืดไลเซนส์เลื่อนจ่ายเงิน/เลิกมัสต์แคร์รี่แอนะล็อก

ผู้ประกอบการ "ทีวีดิจิทัล" รวมตัวร้อง"กสทช." ขอ "ยืดเวลาจ่ายเงินค่าประมูล-ต่ออายุใบอนุญาตเป็น 20 ปี" พร้อมหนุนประกาศเรียงช่องใหม่เหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม จับตาอนาคตช่อง 3 แอนะล็อก หลังไม่ต่อเวลา "มัสต์แครี่" ย้ำต้องปฏิบัติตามประกาศทั้ง "คสช.-กสทช. และมติ กสท."

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า บอร์ด กสท. (1 ก.ย.) มีมติยืนยันการสิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป ของทีวีช่องแอนะล็อก ตั้งแต่ 1 ก.ย. ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมไม่จำเป็นต้องนำทีวี ภาคพื้นดิน 6 ช่องแอนะล็อก ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และไทยพีบีเอสไปออกอากาศอีก เว้นแต่เป็นการออกอากาศคู่ขนานในระบบดิจิทัล ซึ่งเจ้าของโครงข่ายทีวีทุกแพลตฟอร์มต้องนำ 36 ช่องทีดิจิทัลไปออกอากาศแทนตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แครี่)

ทั้งนี้จะทำหนังสือแจ้งผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ทุกแพลตฟอร์มให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด พร้อมนัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษหากมีการฝ่าฝืนนำช่อง 3 แอนะล็อกไปออกอากาศบนโครงข่ายเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม

กรณีที่ ช่อง 3 อ้างประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 27 ที่ระบุให้ทีวีแอนะล็อกกลับมาออกอากาศได้บนทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีนั้น เป็นสิ่งที่ช่อง 3 ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับประกาศ กสทช. และมติ กสท. และมีมติให้นำประเด็นที่ช่อง 3 หารือเรื่องการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตส่งต่อให้คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย เพื่อขอความเห็นต่อไป เพราะตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ยกเว้นให้ผู้รับสัมปทานไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาของกสทช. แต่ พ.ร.บ.กสทช. พ.ศ. 2553 ที่ประกาศใช้ภายหลัง มีข้อความหักล้างกันก่อนหน้านี้ช่อง 7 ได้ส่งข้อหารือในประเด็นนี้มาด้วยเช่นกัน

ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า มติ กสท.ไม่ขัดกับประกาศ คสช. ฉบับที่ 27โดยสามารถออกอากาศบนโครงข่ายเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมได้ถ้าปฏิบัติตาม ประกาศ และมติ กสทช.ด้วย ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ นำรายการในช่องแอนะล็อกมาออกอากาศคู่ขนานในช่องดิจิทัลที่ประมูลมาได้ หรือขอใบอนุญาตให้บริการช่องทีวีดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ที่มีโฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรวมตัวกันยื่นหนังสือร้องเรียน กสทช. ทั้งในส่วนการสนับสนุนให้จัดลำดับช่องรายการใหม่ให้ช่องทีวีดิจิทัลอยู่ตรง กันทุกแพลตฟอร์ม, ปัญหาช่อง 3 แอนะล็อก เป็นต้นนางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เรียกร้องให้ กสทช.เยียวยาผลกระทบให้ผู้ประกอบการจากความล่าช้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิ จิทัล ทั้งการเลื่อนแจกคูปองส่วนลด การขยายโครงข่ายไม่เป็นตามแผน

โดย ผู้ประกอบการขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและเงินสมทบเข้ากองทุน กทปส. รวม 4% ของรายได้ใน 2 ปีแรก, ให้เลื่อนเวลาชำระค่าประมูลงวดที่ 2 ไปจ่าย ก.พ. 2560 และจ่ายงวดถัดไปอีกทุก 2 ปีจนกว่าจะครบ พร้อมขยายเวลาใบอนุญาตจาก 15 ปีเป็น 20 ปี

แหล่งข่าวจากวงการทีวีดาวเทียมเปิดเผยว่า ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเตรียมฟ้อง กสทช. กรณีออกประกาศเรียงช่องใหม่ เนื่องจากต้องรื้อระบบเรียงช่องรวมถึงโปรโมตช่องรายการให้ประชาชนรับรู้ใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเคเบิลทีวีที่ระบบออกอากาศรองรับช่องได้จำกัด จะเหลือช่องรายการของตัวเองน้อยมากเพราะถูก 36 ช่องดิจิทัลเบียด


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409895464

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.