Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2557 (บทความ) ป้องเม็ดเงินโฆษณา? เบื้องหลังเกมยื้อช่อง3 // แหล่งข่าวรูปแบบของเพย์ทีวี ซึ่งมีข้อกำหนดเวลาโฆษณาไว้ไม่เกิน 6 นาที แต่ช่อง3 มีโฆษณานาน 12 นาที

ประเด็นหลัก


   แหล่งข่าววงการโทรทัศน์ชี้ว่า ช่อง 3 พยายามดิ้นรนเพื่อออกอากาศทางดาวเทียม-เคเบิลให้ได้ตามเดิมนั้น  ที่ผ่านมาช่อง 3 ได้ออกอากาศในหมายเลขช่อง 1 ทางทีวีดาวเทียมนั้น โดยอยู่ในรูปแบบของเพย์ทีวี  ซึ่งมีข้อกำหนดเวลาโฆษณาไว้ไม่เกิน 6 นาที
    แต่การที่ช่อง 3 ไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจในรูปแบบเพย์ทีวี และยังมีโฆษณานาน 12 นาทีเช่นเดิม  ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับ ดังนั้น หากช่อง 3 จะหาทางออกโดยไปยื่นขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจเพย์ทีวี แทน  ก็ต้องหั่นเวลาโฆษณาที่เคยทำได้ลงครึ่งหนึ่ง หรือ 50 % จากเม็ดเงินรายได้จากการโฆษณาของช่อง 3 ดั้งเดิม ในระบบอะนาล็อก ที่มีมูลค่าปีละกว่าหมื่นล้านบาท
 ++ หวั่นสูญรายได้ก้อนโต
    จากรายงานผลประกอบการของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือช่อง 3  พบว่า รายได้จากการขายเวลาโฆษณา ระหว่างปี 255-2556  มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2553 ช่อง 3 มีรายได้ 1.10 หมื่นล้านบาท  ปี 2554 มีรายได้ 1.19 หมื่นล้านบาท  เติบโตเพิ่มขึ้น  8% ปี 2555 มีรายได้ 1.36 หมื่นล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 13.8%  และปี 2556 มีรายได้ 1.49 หมื่นล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 9.8%  โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้น มาจากการปรับขยายธุรกิจ การปรับผังรายการ  การปรับราคาขายบางช่วงเวลา และการขยายเวลาของรายการที่มีราคาขายสูงให้ยาวขึ้น เช่น ละครหลังข่าว จากเดิมที่เคยออกอากาศในช่วง 20.20  - 22.00 น. เป็น 20.20 – 22.30 น. , รายการเรื่องเล่าเช้านี้  จากเดิมที่เคยออกอากาศในช่วง 06.00 – 09.00 น.  เป็น 06.00 – 09.30 น. เป็นต้น
    รายได้จากการขายเวลาโฆษณาถือเป็นรายได้หลัก คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 90% ของรายได้ทั้งหมด หากช่อง 3 ต้องปรับลดเวลาโฆษณาลง 50% เชื่อว่ารายได้จากการขายเวลาโฆษณาก็จะลดลงเฉลี่ย 40-60%  ตามไปด้วย  ถือเป็นเม็ดเงินมหาศาลที่เชื่อว่าช่อง 3 ไม่อยากสูญเสียไป
    ในอีกด้านที่ช่อง 3 เองก็ตระหนักดี คือ หลังการเกิดทีวีดิจิตอล  24 ช่อง เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทีวีที่มีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ย่อมมีตัวหารเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม จากเดิมที่เคยมีผู้ประกอบการ 4 รายหลัก  ดังนั้นหากจะหวังพึ่งเม็ดเงินโฆษณาจากทีวีดิจิตอล ก็ต้องแข่งขันฟาดฟันกันสูง และอัตราค่าโฆษณาที่เฉลี่ยราว 1 แสนบาทต่อนาทีในช่วงไพรม์ไทม์ เมื่อเทียบกับฟรีทีวี ที่มีเรตโฆษณา 4.8 แสนบาทต่อนาที  ย่อมทำให้ช่อง 3 ทำงานหนักขึ้นเพื่อให้มีรายได้เท่าเดิม














______________________________




ป้องเม็ดเงินโฆษณา? เบื้องหลังเกมยื้อช่อง3

 altข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  กับช่อง 3 กลายเป็นประเด็นร้อนที่ยังยื้อไม่จบ โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) นัดหารือข้อเสนอทางออกที่ให้ช่อง 3 ทำมาเสนออีกรอบ พร้อมขีดเส้นใน 15 วัน ห้ามถ่ายทอดรายการช่อง 3 ผ่านสถานีโทรทัศน์ดาวเทียว-เคเบิลอีกต่อไป
    ขณะที่ช่อง 3 ยื้อแนวปฏิบัติกสทช.มาตลอด หลังอ้างคำสั่งคสช.ที่ 27 ที่ว่าให้ถ่ายทอดต่อผ่านทุกแพลตฟอร์มต่อไม่ได้แล้ว ยังเอาผู้ชม 15 ล้านครัวเรือนเป็นตัวประกัน ว่าจะเสียหายหากช่อง 3 ถูกสั่ง"จอดำ" ทางสถานีโทรทัศน์เคเบิล-ดาวเทียม  ร้องไม่อาจออกอากาศคู่ขนานเช่นสถานีโทรทัศน์หลักอื่นได้ เพราะเป็นคนละนิติบุคคลกัน บีบกสทช.มาช่วยแก้ปัญหาให้ตนเองต่อ ท่ามกลางความงุนงงไปทั้งบ้านทั้งเมืองว่า  อะไรคือเบื้องหลังการแตกฝูงจากวงการ เปิดเกมยื้อเข้าทีวีดิจิตอลของช่อง 3

 ++ ติดสัมปทานอสมท
    แน่นอนว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการฟรีทีวี ไม่ว่าจะเป็นช่อง 5 , 7 , 9 , 11 และไทยพีบีเอส ก้าวเข้าสู่ระบบดิจิตอล ด้วยการออกอากาศคู่ขนานไปกับระบบอะนาล็อก แต่ "ช่อง 3" ยืนยัน นำช่อง 3 ดั้งเดิมเดินหน้าออกอากาศในระบบอะนาล็อก  จนกว่าจะหมดสัมปทานที่ทำสัญญากับบมจ.อสมท  ในปี 2563  ซึ่งช่อง 3 มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ทำกับอสมท ณ ปัจจุบัน ต้องจ่ายค่าตอบแทนรวมทั้งสิ้น 1,362 ล้านบาท    และเมื่อสิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินที่ช่อง 3 ลงทุนไปทั้งหมดและอยู่ภายใต้ชื่อของ บมจ. บีอีซี เวิลด์  อาทิ เสาโครงข่ายสัญญาณ  ฯลฯ จะต้องตกเป็นทรัพย์สินของอสมท ทั้งหมด  ซึ่งหากช่อง 3 ต้องยุติการออกอากาศในระบบอะนาล็อก หรือยุติสัญญากับอสมท ก็ต้องสูญเสียทั้งเงินค่าตอบแทนและทรัพย์สินในส่วนนี้ไปด้วย
    ดังนั้นช่อง 3 จึงอาศัยความคุ้มครองเอกชนจากภาครัฐ ในมาตรา  75  ที่อสมท มีต่อช่อง 3 ในฐานะคู่สัญญาจนกว่าสัญญานั้นจะถูกยกเลิก  มาเป็นข้ออ้างอิงการเดินหน้าออกอากาศระบบอะนาล็อกต่อไปได้  ส่วนการประมูลใบอนุญาตทีวีระบบดิจิตอลของช่อง 3 ทั้ง  3 ช่องนั้น ดำเนินการในนามบริษัทในเครือ คือบีอีซี มัลติมีเดีย  ไม่ใช่บีอีซี เวิลด์  ซึ่งแม้ช่อง 3 จะอ้างว่าเป็นอีกนิติบุคล เป็นอุปสรรคในการนำเนื้อหารายการช่อง 3 ดั้งเดิม มาออกอากาศในระบบดิจิตอลตรง ๆ ซึ่งทำไม่ได้
    ล่าสุด กสทช. ออกหน้ารับแล้วว่า  เงื่อนไขสัญญาสัมปทานที่เกิดจากนิติบุคคลนั้นสามารถแก้ไขได้ โดยให้ช่อง 3 ทำหนังสือขออนุญาตผ่านทางกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)  
    น่าจับตาว่า การเจรจาช่วยเปลื้องภาระสัญญาสัมปทานช่อง 3 ที่มีกับอสมท ในอนาคตจะออกรูปไหน เพราะนอกจากภาระสัมปทานที่ผูกพันกับอสมท แล้ว ช่อง 3 ยังเทเงินเข้าประมูลทีวีดิจิตอลมาถือไว้อีก 3 ช่องเป็นเม็ดก้อนใหญ่ รวมแล้วเป็นภาระถึง 7.83 พันล้านบาท
 -ยื้อออกเคเบิลช่องเบอร์1
    ไม่เพียงปมสัญญาสัมปทานที่ช่อง 3 ดั้งเดิมมีภาระผูกพันกับอสมท เท่านั้น ช่อง 3 พยายามยื้อเวลาการได้ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์เคเบิล-ดาวเทียมสุดชีวิต แม้กสทช.จะออกประกาศกฎMust Carry  ที่บังคับให้"ฟรีทีวี" ต้องออกอากาศเนื้อหารายการเดียวกันในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะทางภาคพื้นดิน ดาวเทียม เคเบิล  ตั้งแต่ปี 2555 และกุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา กสท.ประกาศให้ทีวีหลักอะนาล็อกเดิม หมดสภาพความเป็นฟรีทีวี ห้ามสถานีโทรทัศน์เคเบิล-ดาวเทียม นำสัญญาโทรทัศน์ช่องหลักเดิมในระบบอะนาล็อกไปออกอากาศอีกต่อไป
    ขณะที่ทีวีช่องหลักอื่นประมูลได้ช่องทีวีดิจิตอลและยอมปรับเนื้อหารายการเข้าเงื่อนไขทีวีดิจิตอล จึงสามารถออกอากาศให้ชมผ่านดาวเทียม-เคเบิลได้ ในลักษณะ"ออกอากาศคู่ขนาน"
    ช่อง 3 ยังอ้างประกาศคสช. ฉบับที่ 27/2557 ที่ระบุให้"โทรทัศน์อะนาล็อกเดิม ออกอากาศผ่านทางคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ดาวเทียมและเคเบิลได้" ว่ามีสถานะเป็นกฎหมาย  หักล้างประกาศกฎ"Must Carry" ของกสทช. และจะเดินหน้าออกอากาศช่อง 3 ดั้งเดิมทางทีวีเคเบิลและดาวเทียมต่อ
    แหล่งข่าววงการโทรทัศน์ชี้ว่า ช่อง 3 พยายามดิ้นรนเพื่อออกอากาศทางดาวเทียม-เคเบิลให้ได้ตามเดิมนั้น  ที่ผ่านมาช่อง 3 ได้ออกอากาศในหมายเลขช่อง 1 ทางทีวีดาวเทียมนั้น โดยอยู่ในรูปแบบของเพย์ทีวี  ซึ่งมีข้อกำหนดเวลาโฆษณาไว้ไม่เกิน 6 นาที
    แต่การที่ช่อง 3 ไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจในรูปแบบเพย์ทีวี และยังมีโฆษณานาน 12 นาทีเช่นเดิม  ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับ ดังนั้น หากช่อง 3 จะหาทางออกโดยไปยื่นขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจเพย์ทีวี แทน  ก็ต้องหั่นเวลาโฆษณาที่เคยทำได้ลงครึ่งหนึ่ง หรือ 50 % จากเม็ดเงินรายได้จากการโฆษณาของช่อง 3 ดั้งเดิม ในระบบอะนาล็อก ที่มีมูลค่าปีละกว่าหมื่นล้านบาท
 ++ หวั่นสูญรายได้ก้อนโต
    จากรายงานผลประกอบการของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือช่อง 3  พบว่า รายได้จากการขายเวลาโฆษณา ระหว่างปี 255-2556  มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2553 ช่อง 3 มีรายได้ 1.10 หมื่นล้านบาท  ปี 2554 มีรายได้ 1.19 หมื่นล้านบาท  เติบโตเพิ่มขึ้น  8% ปี 2555 มีรายได้ 1.36 หมื่นล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 13.8%  และปี 2556 มีรายได้ 1.49 หมื่นล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 9.8%  โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้น มาจากการปรับขยายธุรกิจ การปรับผังรายการ  การปรับราคาขายบางช่วงเวลา และการขยายเวลาของรายการที่มีราคาขายสูงให้ยาวขึ้น เช่น ละครหลังข่าว จากเดิมที่เคยออกอากาศในช่วง 20.20  - 22.00 น. เป็น 20.20 – 22.30 น. , รายการเรื่องเล่าเช้านี้  จากเดิมที่เคยออกอากาศในช่วง 06.00 – 09.00 น.  เป็น 06.00 – 09.30 น. เป็นต้น
    รายได้จากการขายเวลาโฆษณาถือเป็นรายได้หลัก คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 90% ของรายได้ทั้งหมด หากช่อง 3 ต้องปรับลดเวลาโฆษณาลง 50% เชื่อว่ารายได้จากการขายเวลาโฆษณาก็จะลดลงเฉลี่ย 40-60%  ตามไปด้วย  ถือเป็นเม็ดเงินมหาศาลที่เชื่อว่าช่อง 3 ไม่อยากสูญเสียไป
    ในอีกด้านที่ช่อง 3 เองก็ตระหนักดี คือ หลังการเกิดทีวีดิจิตอล  24 ช่อง เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทีวีที่มีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ย่อมมีตัวหารเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม จากเดิมที่เคยมีผู้ประกอบการ 4 รายหลัก  ดังนั้นหากจะหวังพึ่งเม็ดเงินโฆษณาจากทีวีดิจิตอล ก็ต้องแข่งขันฟาดฟันกันสูง และอัตราค่าโฆษณาที่เฉลี่ยราว 1 แสนบาทต่อนาทีในช่วงไพรม์ไทม์ เมื่อเทียบกับฟรีทีวี ที่มีเรตโฆษณา 4.8 แสนบาทต่อนาที  ย่อมทำให้ช่อง 3 ทำงานหนักขึ้นเพื่อให้มีรายได้เท่าเดิม
 ++ ขีดเส้น ช่อง 3 "จอดำ"
    อย่างไรก็ดี หากที่สุดแล้ว ช่อง 3 ไม่เลือกทางเดินใดทางเดินหนึ่งที่เป็นไปตามข้อกำหนดของกสทช. ทั้งการยื่นขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจในรูปแบบเพย์ทีวี ซึ่งมีกำหนดเวลาโฆษณาไม่เกิน 6 นาที  หรือออกอากาศระบบอะนาล็อก คู่ขนานกับระบบทีวีดิจิตอล และยังเดินหน้าออกอากาศอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ สิ่งที่กสทช. สามารถกระทำได้คือ การสั่งระงับสัญญาณออกอากาศ หรือจอดำ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สิ่งที่ช่อง 3 จะสูญเสีย คงไม่ใช่แค่เม็ดเงินเท่านั้น
    altโดยนางสาววรรณี  รัตนพล  นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย  และประธานบริหาร บริษัท ไอพีจี มีเดีย แบรนด์ส จำกัด  กล่าวแสดงความคิดเห็นกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากตราบใดที่ช่อง 3 ยังออกอากาศ ไม่จอดำ การซื้อขายเวลาโฆษณาก็ยังดำเนินการได้ตามปกติ  แต่ถ้าจอดำ สิ่งที่จะสูญเสียคือเรื่องของเม็ดเงินโฆษณา ส่วนผู้ประกอบการที่จองเวลาโฆษณา ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปหาแพลตฟอร์มอื่นแทน เช่น ถ้าคนดูหันไปดูช่อง 3 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น ยูทูบ สินค้าก็จะหันไปลงโฆษณาในยูทูบแทน เพื่อเป็นการชดเชยให้กับลูกค้าที่จองโฆษณาไว้
    ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ช่อง 3 มีรายได้จากการขายเวลาโฆษณาประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยรูปแบบการขายโฆษณาจะขายทั้งช่อง 3 อะนาล็อก , ช่อง 3 แฟมิลี่ , ช่อง 3 SD  และ ช่อง 3 HD แยกส่วนกัน โดยอัตราค่าโฆษณาของช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 3 ช่อง มีราคาเฉลี่ยในหลักหมื่นบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าทีวีดิจิตอลบางช่อง เช่น ช่อง 8 เป็นต้น
    เพราะถูกมองว่า "ผลประโยชน์" ที่ช่อง 3 ได้ในทุกวันนี้เป็นข้อได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่น รวมทั้งยังส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านจากทีวีจากระบบอะนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล ไม่คืบหน้า
    แรงขัดขืนของช่อง 3 ที่มีช่องโทรทัศน์ทักระบบ 4 ช่องในมือ การยื้อออกอากาศช่อง 3 ดั้งเดิมต่อไป เท่ากับยังดูดเม็ดเงินโฆษณาไว้กับช่อง 3 และโทรทัศน์อะนาล็อก ไม่ไหลสู่โทรทัศน์ดิจิตอลที่นับวันรอออกซิเจนมาต่อลมหายใจ
    ระบบโทรทัศน์ดิจิตอลที่เป็นความหวังวงการทีวีไทยอาจถึงคราวอวสานเพียงแค่เพิ่งลืมตาดูโลกก็เป็นได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=245590:-3&catid=94:2009-02-08-11-26-28&Itemid=417#.VA6Q_0tAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.