Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2557 ไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว กู้ในวงเงินไม่เกิน 5 พันล้านบาท มียอดการจองใช้สัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 7 แล้วเต็มจำนวน 100% และสามารถบรรลุข้อตกลงการขายช่องสัญญาณล่วงหน้าไปแล้ว 50%

ประเด็นหลัก


     
       ดาวเทียมไทยคม 7 จัดสร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ไทยคม กับบริษัท เอเชีย แซทเทลไลท์ เทเลคอมมิวนิเคชั่นส จำกัด ก่อสร้างโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส/ลอเรล (Space Systems/Loral) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการ ณ ตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก โดย บมจ.ไทยคม มีช่องสัญญาณในการให้บริการทั้งหมด 14 ทรานสพอนเดอร์ บนย่านความถี่ซี-แบนด์ สำหรับเงินทุนในโครงการจัดสร้างดาวเทียมไทยคม 7 นั้น ทางไทยคม มีโครงการเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 5 พันล้านบาท ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของโครงการฯ ลงได้กว่าครึ่ง จากยอดต้นทุนเดิมที่ประมาณ 171 ล้านเหรียญสหรัฐ
     
       ​“การส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นการเพิ่ม Capacity ให้ไทยคมมีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ ของไทย โดยเสริมช่องสัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ที่ให้บริการเต็มในปัจจุบัน การมีดาวเทียมเพิ่มเติมอีกดวงหนึ่งนี้ จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการให้บริการ และช่วยขยายตลาดของไทยคมในต่างประเทศด้วย”
     
       โดยขณะนี้ บริษัทฯ มียอดการจองใช้สัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 7 แล้วเต็มจำนวน 100% และสามารถบรรลุข้อตกลงการขายช่องสัญญาณล่วงหน้าไปแล้ว 50% ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างทยอยจัดทำสัญญา ขณะเดียวกัน ไทยคม ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการทั้งในด้านปริมาณช่องสัญญาณ การรองรับความต้องการใช้งานของตลาด และการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีและบริการในลักษณะครบวงจร (End-to-End Solutions) เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งาน และส่งเสริมให้ไทยคมเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป


______________________________




ไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว


       “ไทยคม” ส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา เวลา 01.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ด้วยจรวดขนส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (Space Exploration Technologies Corporation- SPACE X) ณ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสิทธิในวงโคจรของไทย พร้อมช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ไทย ด้วยการเพิ่มปริมาณช่องสัญญาณเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน และการเติบโตของโทรคมนาคมในประเทศ พร้อมขยายศักยภาพในฐานะบริษัทดาวเทียมไทยเพื่อให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั้งในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลีย
     
       นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม เปิดเผยว่า ความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจรนี้ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่วงการดาวเทียมไทย โดยไทยคม สามารถบรรลุภารกิจการส่งดาวเทียมไทยขึ้นไปเพื่อรักษาสิทธิ์วงโคจรให้แก่ประเทศได้ ขณะเดียวกัน ยังถือเป็นความสำเร็จของการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ New Frontiers ในส่วนของการจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ (New Birds) เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณช่องสัญญาณให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศ และช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของการให้บริการ และการขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งดาวเทียมไทยคม 7 มีศักยภาพการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลีย
     
       ดาวเทียมไทยคม 7 จัดสร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ไทยคม กับบริษัท เอเชีย แซทเทลไลท์ เทเลคอมมิวนิเคชั่นส จำกัด ก่อสร้างโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส/ลอเรล (Space Systems/Loral) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการ ณ ตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก โดย บมจ.ไทยคม มีช่องสัญญาณในการให้บริการทั้งหมด 14 ทรานสพอนเดอร์ บนย่านความถี่ซี-แบนด์ สำหรับเงินทุนในโครงการจัดสร้างดาวเทียมไทยคม 7 นั้น ทางไทยคม มีโครงการเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 5 พันล้านบาท ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของโครงการฯ ลงได้กว่าครึ่ง จากยอดต้นทุนเดิมที่ประมาณ 171 ล้านเหรียญสหรัฐ
     
       ​“การส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นการเพิ่ม Capacity ให้ไทยคมมีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ของไทย โดยเสริมช่องสัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ที่ให้บริการเต็มในปัจจุบัน การมีดาวเทียมเพิ่มเติมอีกดวงหนึ่งนี้ จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการให้บริการ และช่วยขยายตลาดของไทยคมในต่างประเทศด้วย”
     
       โดยขณะนี้ บริษัทฯ มียอดการจองใช้สัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 7 แล้วเต็มจำนวน 100% และสามารถบรรลุข้อตกลงการขายช่องสัญญาณล่วงหน้าไปแล้ว 50% ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างทยอยจัดทำสัญญา ขณะเดียวกัน ไทยคม ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการทั้งในด้านปริมาณช่องสัญญาณ การรองรับความต้องการใช้งานของตลาด และการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีและบริการในลักษณะครบวงจร (End-to-End Solutions) เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งาน และส่งเสริมให้ไทยคมเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
     

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000102574

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.