Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2557 ติ๋ม ทีวีพูล ระบุ ไม่ปล่อยรายการแรง ๆ มาเรียกผู้ชม ต้องบอกว่ายังทำไม่ได้ เพราะรายได้โฆษณาไม่เข้ามาตามเป้าหมาย จึงต้องเลือกควบคุมต้นทุนก่อน

ประเด็นหลัก


- ปัจจุบันทีวีดิจิทัลต้องเจอกับอุปสรรคต่าง ๆ รวมถึงต้นทุนมหาศาล "ไทยทีวี" บริหารอย่างไร

สิ่ง แรกที่ต้องทำ คือ บริหารจัดการต้นทุนทั้งหมด จากบทเรียนการบริหารช่องทีวีดาวเทียม 2 ช่องที่ผ่านมา ก็ทำเรื่องนี้มาตลอด โดยเฉพาะช่วงที่รายได้โฆษณาไม่เข้า ดังนั้นการบริหารทีวีดิจิทัลก็เลือกเดินในแนวทางเดียวกัน ขณะที่หลายคนก็มีคำถามว่า ทำไม ไม่ปล่อยรายการแรง ๆ มาเรียกผู้ชม ต้องบอกว่ายังทำไม่ได้ เพราะรายได้โฆษณาไม่เข้ามาตามเป้าหมาย จึงต้องเลือกควบคุมต้นทุนก่อน


______________________________




บริหารสไตล์ "ติ๋ม ทีวีพูล" สมรภูมิทีวีดิจิทัล...เราตัดสินใจไม่ผิด



สัมภาษณ์

หลังสิ้นสุดการประมูลทีวีดิจิทัลปลายปีก่อนด้วยมูลค่า 1,976 ล้านบาท รวม 2 ช่อง คือ ช่องเด็กและช่องข่าวของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ด้วยการนำทัพของเจ้าแม่บันเทิงสุดแซบก่อนสนามทีวีดิจิทัลจะเริ่มต้นขึ้น "เธอ" ประกาศว่าจะนำช่อง "ไทยทีวี" ขึ้นเป็น 1 ใน 5 ของสถานีที่ได้รับความนิยมจากผู้ชม เทียบชั้นเจ้าตลาดฟรีทีวีภายใน 5 ปีจากนี้

อย่างไรก็ตาม หลังจากทีวีดิจิทัลออกอากาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ออนแแอร์มาแล้ว 4 เดือน แต่การแข่งขันก็ไม่ได้แรงเหมือนที่คาดการณ์ไว้

ในทางกลับกันทีวีดิจิทัล กลับต้องเผชิญกับสารพัดปัญหา พร้อมกระแสด้านลบว่าช่องทีวีดิจิทัลกำลังจะไปไม่รอด หนึ่งในกระแสลบนั้น มีชื่อบริษัท ไทยทีวี จำกัด ติดบ่วงลือสะพัดนี้มาด้วย

งานนี้ "เจ้ติ๋ม ทีวีพูล" หรือ "พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด ผู้บริหารช่องโลก้าและไทยทีวี ออกมาไขทุกประเด็นร้อนกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

- ผลตอบรับหลังจากออกอากาศ 4 เดือน

หลังออนแอร์มา 4 เดือนไม่ได้มีปัญหาอะไร ขณะที่ภาพรวมทีวีดิจิทัลการแข่งขันก็ไม่ได้รุนแรง แม้ทุกสถานีจะเตรียมคอนเทนต์ไว้พร้อม แต่ยังไม่ปล่อยคอนเทนต์แม่เหล็กออกมา เพราะการแจกกล่องสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลยังไม่เริ่มต้น โครงข่ายการรับชมก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ จำนวนผู้ชมก็มีไม่มาก ทำให้ทุกช่องจึงอยู่ในสถานการณ์รอจังหวะที่เหมาะสม บริษัทเองก็ถนอมเนื้อถนอมตัว ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้บุคลากรจากนิตยสารในเครือ 3 เล่มเข้ามาช่วยทำงานของทีวีดิจิทัล เพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ลง

- ปัจจุบันทีวีดิจิทัลต้องเจอกับอุปสรรคต่าง ๆ รวมถึงต้นทุนมหาศาล "ไทยทีวี" บริหารอย่างไร

สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ บริหารจัดการต้นทุนทั้งหมด จากบทเรียนการบริหารช่องทีวีดาวเทียม 2 ช่องที่ผ่านมา ก็ทำเรื่องนี้มาตลอด โดยเฉพาะช่วงที่รายได้โฆษณาไม่เข้า ดังนั้นการบริหารทีวีดิจิทัลก็เลือกเดินในแนวทางเดียวกัน ขณะที่หลายคนก็มีคำถามว่า ทำไม ไม่ปล่อยรายการแรง ๆ มาเรียกผู้ชม ต้องบอกว่ายังทำไม่ได้ เพราะรายได้โฆษณาไม่เข้ามาตามเป้าหมาย จึงต้องเลือกควบคุมต้นทุนก่อน

- แต่ก็ยังมีกระแสข่าวว่า "ไทยทีวี" จะไปไม่รอด

พี่จบไฟแนนซ์มา...ประสบการณ์ในการศึกษาด้านไฟแนนซ์ ทำให้เราต้องบริหารจัดการเรื่องต้นทุนของทั้ง 2 ช่องให้ดี ในเมื่อรายได้ยังไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ต้องคุมต้นทุน เพื่อให้ช่องอยู่ได้ เราอยู่ได้ แต่เรื่องที่ว่า 24 ช่องทีวีดิจิทัลจะไปไม่รอด อันนี้ไม่เชื่อ เพราะยังอีกยาวไกล วันนี้เพิ่งเริ่มต้น และการแข่งขันยังไม่เริ่มด้วยซ้ำ จะมีช่องไปไม่รอดได้อย่างไร

- เตรียมความพร้อมด้านคอนเทนต์ไว้แค่ไหน

ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความพร้อมเราปล่อยคอนเทนต์ไปแล้ว 50% ของทั้งหมด และยังตุนคอนเทนต์ไว้อีกมาก ทั้งวาไรตี้ ทอล์กโชว์ และละครที่ถ่ายทำเสร็จแล้ว 5 เรื่อง รอจังหวะการออกอากาศที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีละครอยู่ระหว่างถ่ายทำ 2 เรื่อง เรียกว่าเตรียมคอนเทนต์ไว้พร้อม แต่ยังไม่ออนแอร์

"แม้มีกระแสว่าบริษัทหยุดถ่ายละครที่เปิดกล้องไปแล้วนั้น ขอยืนยันว่ายังถ่ายต่อทุกเรื่อง เพราะล็อกคิวนักแสดง เตรียมทุกอย่างไว้แล้ว ไม่เดินหน้าต่อไม่ได้ ละคร 5 เรื่องลงทุนเองเรื่องละ 20 ล้านบาท แต่ต้องชะลอการออกอากาศไป จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะถ้าออนแอร์ไปก็เท่ากับเผาเงินทิ้งเฉย ๆ เหมือนกัน"

นอกจากนี้เตรียมปรับผังรายการอีกครั้ง โดยปรับลดสัดส่วนข่าวบันเทิงลง และเพิ่มสารคดี จากเดิมที่ผังรายการเป็นวาไรตี้ 50% ข่าวบันเทิง 30% และข่าวหลัก 20%

- จะมีพันธมิตรด้านคอนเทนต์อื่น ๆ เข้ามาเสริมอีกไหม

ต้องปรับผังรายการใหม่ ตามข้อกำหนดของ กสทช. ด้วยการใส่สาระและสารคดีเข้าไป แต่ครั้งนี้จะไม่มีพันธมิตรเข้ามาร่วม และจะไม่ร่วมงานกับใครแล้ว...เรามีทุนเราจะทำเอง ส่วนการลงทุนที่ผ่านมา ลงทุนไปแล้วประมาณ 1,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคาดว่าการคืนทุนก็จะต้องยืดออกไป และคาดว่าเดือนพฤศจิกายนนี้ ถ้ามีการแจกกล่อง สถานการณ์ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น และผู้ประกอบการก็คงพร้อมจะปล่อยคอนเทนต์อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้สมรภูมินี้คึกคัก

- ถึงวันนี้ทุกอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

การกระโดดเข้ามาบนสมรภูมิทีวีดิจิทัลของทีวีพูล ไม่ถือว่าตัดสินใจผิด เพียงแต่ว่าสิ่งที่ กสทช.ต้องดำเนินการ ทั้งการประชาสัมพันธ์ การแจกคูปอง กลับไม่ได้เป็นไปตามแผนทำให้ผู้ประกอบการต้องออกมาเรียกร้อง ขณะที่ผู้ชมเองก็รับชมทีวีดิจิทัลไม่ได้ หาก กสทช.ดำเนินการตามแผนสถานการณ์ทุกอย่างก็จะกลับมาดีขึ้น เพราะผู้ประกอบการต้องจ่ายเงินค่าใบอนุญาตที่สูง แต่สภาพทีวีดิจิทัลวันนี้ไม่ต่างจากช่องทีวีดาวเทียม เพราะจำนวนผู้ชมเท่าเดิม ราคาโฆษณาเท่ากับช่องดาวเทียม เรตติ้งก็ไม่มี หากเป็นอย่างนี้ต่อไป เมื่อครบกำหนดจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่จะถึงในเดือนมกราคมปีหน้า รวมถึงค่าเช่าโครงข่ายก็ต้องยืดระยะเวลาออกไปด้วย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410196118

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.