Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กันยายน 2557 Fortinet ประกาศเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ความเร็วระดับ 1 เทราบิตต่อวินาที (Terabit per second: Tbps) รายแรกในอุตสาหกรรม มีออปชั่นรองรับได้ถึง 10GbE, 40GbE และ 100GbE

ประเด็นหลัก


ด้าน นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ฟอร์ติเน็ต อินเตอร์แนชั่นแนล อิงค์  กล่าวว่า อุปกรณ์ชุดซีรีส์ FortiGate 5000 Series เป็นแพลทฟอร์มไฟร์วอลล์ในรูปแบบ Chassis และ Blade ที่เป็นที่นิยมสูง พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการโครงข่าย องค์กรขนาดใหญ่ มีระบบสำรองครบครัน มีระบบไฟฟ้าสำรองแบบ Hot-swappable พัดลม และ Firewall blades เพื่อให้อุปกรณ์มีการใช้งานที่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยเชสซีใหม่ – FortiGate 5144C, คอนโทรลเลอร์ใหม่ 5903C/5913C และเบลดความปลอดภัยใหม่ 5001D ที่ ใช้โพรเซสเซอร์สำหรับเครือข่าย (Network Processor) เวอร์ชั่น NP6 ใหม่ล่าสุด เพื่อให้ความเร็วทรูพุธผ่านไฟร์วอลล์ 40 Gbps ต่อ ASIC ไม่เหมือนกับโพรเซสเซอร์ที่ผู้ผลิตรายอื่นใช้ โพรเซสเซอร์ NP6 ASIC ถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัย เพราะตัวโพรเซสเซอร์ที่ใช้พลังงานน้อย มีค่าความเร็วทรูพุธผ่านไฟร์วอลล์ได้สูงถึง 40 Gbps และมีค่าหน่วงเพียง 2-3 microsecond รองรับการใช้งานบนเทคโนโลยี IPv4 และ IPv6 จึงทำให้ NP6 เหมาะสมกับเครือข่ายเน็กซ์เจอเนอเรชั่นเป็นอย่างยิ่ง.


______________________________




ฟอร์ติเน็ต พัฒนาไฟร์วอลล์รุ่นใหม่ ความเร็วทรูพุธทะลุ 1Tbps


ฟอร์ติเน็ต ขึ้นแท่นผลิตไฟร์วอลล์เร็วสูงที่สุดในโลก ความเร็วทรูพุธ 1Tbps เป็นรายแรกในตลาดอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยระบบไอที ชูจุดเด่นที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลขนาดใหญ่ คลาวด์ และการให้บริการซอฟท์แวร์ของดาต้าเซ็นเตอร์...

ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) ประกาศเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ความเร็วระดับ 1 เทราบิตต่อวินาที (Terabit per second: Tbps) รายแรกในอุตสาหกรรม โดยได้ส่งอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ รุ่น FortiGate 5144C มีความเร็วเกิน 1Tbps (เทราบิตต่อวินาที)พร้อมมีออปชั่นรองรับได้ถึง 10GbE, 40GbE และ 100GbE สู่ตลาดในไตรมาส 3 นี้ โดยอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ รุ่นดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย องค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูง และความคล่องตัวสูงในการจัดขนาดด้านความปลอดภัยเครือข่าย แอพพลิเคชั่น ข้อมูล ให้แก่ลูกค้าและผู้ใช้งานของตน


ดาต้าเซ็นเตอร์ทุกแห่งล้วนต้องการแพลทฟอร์มที่เร็วและปลอดภัย
นายเคน ซี ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัทฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ ที่เป็นการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ บิ๊กดาต้า (Big data) การให้บริการที่อยู่บนคลาวด์ (Cloud-based services) และความนิยมของการให้บริการซอฟท์แวร์ (Software as a Service) ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ดาต้าเซ็นเตอร์ทุกแห่งล้วนต้องการแพลทฟอร์มที่เร็วและปลอดภัยสูงเพื่อปกป้องแอพพลิเคชั่น และข้อมูลที่ตนดูแลอยู่ ทั้งนี้ อาจมีผู้ค้าอุปกรณ์มากมายที่ประกาศว่า ได้ผลิตไฟร์วอลล์ที่เร็วที่สุด แต่ยังไม่มีค่ายใดที่สามารถผลิตอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงถึงระดับนี้ได้เลย การสร้าง อุปกรณ์ชุดซีรีส์ FortiGate 5000 Series จึงช่วยให้ตลาดดาต้าเซ็นมีความมั่นใจว่า ไฟร์วอลล์ของตนนั้นจะไม่เป็นจุดปัญหาในเครือข่าย รวมทั้งยังได้สร้างมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประสิทธิภาพสูงผ่าน NP6 ASICs



อุปกรณ์ชุดซีรีส์ FortiGate 5000 Series
ด้าน นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ฟอร์ติเน็ต อินเตอร์แนชั่นแนล อิงค์  กล่าวว่า อุปกรณ์ชุดซีรีส์ FortiGate 5000 Series เป็นแพลทฟอร์มไฟร์วอลล์ในรูปแบบ Chassis และ Blade ที่เป็นที่นิยมสูง พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการโครงข่าย องค์กรขนาดใหญ่ มีระบบสำรองครบครัน มีระบบไฟฟ้าสำรองแบบ Hot-swappable พัดลม และ Firewall blades เพื่อให้อุปกรณ์มีการใช้งานที่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยเชสซีใหม่ – FortiGate 5144C, คอนโทรลเลอร์ใหม่ 5903C/5913C และเบลดความปลอดภัยใหม่ 5001D ที่ ใช้โพรเซสเซอร์สำหรับเครือข่าย (Network Processor) เวอร์ชั่น NP6 ใหม่ล่าสุด เพื่อให้ความเร็วทรูพุธผ่านไฟร์วอลล์ 40 Gbps ต่อ ASIC ไม่เหมือนกับโพรเซสเซอร์ที่ผู้ผลิตรายอื่นใช้ โพรเซสเซอร์ NP6 ASIC ถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัย เพราะตัวโพรเซสเซอร์ที่ใช้พลังงานน้อย มีค่าความเร็วทรูพุธผ่านไฟร์วอลล์ได้สูงถึง 40 Gbps และมีค่าหน่วงเพียง 2-3 microsecond รองรับการใช้งานบนเทคโนโลยี IPv4 และ IPv6 จึงทำให้ NP6 เหมาะสมกับเครือข่ายเน็กซ์เจอเนอเรชั่นเป็นอย่างยิ่ง.

http://www.thairath.co.th/content/449094

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.