Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 กันยายน 2557 แหล่งข่าวในวงการทีวีดิจิตอลรายหนึ่ง เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วันนี้ช่อง 3 ตกที่นั่งลำบากและเป็นจำเลยสังคมไปโดยปริยาย คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์และรายได้

ประเด็นหลัก


    แหล่งข่าวในวงการทีวีดิจิตอลรายหนึ่ง  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วันนี้ช่อง 3 ตกที่นั่งลำบากและเป็นจำเลยสังคมไปโดยปริยาย  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายมักโจมตีช่อง 3 ถึงกรณีไม่ออกอากาศคู่ขนานไปในทิศทางที่กำหนดไว้ โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องผลประโยชน์  แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ช่อง 3 ไม่เคยออกมาพูดเลยคือเรื่องของสัญญาที่ทางช่อง 3 ทำกับอสมท  แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะมีหลายฝ่ายออกมาเสนอแนวทางการแก้ไขให้ช่อง 3 ถึงปัญหาสัญญาสัมปทานต่างๆที่ทำขึ้นกับอสมท แต่ต้องแลกเปลี่ยนกับการออกทีวีดิจิตอลในรูปแบบคู่ขนาน  โดยส่วนตัวอยากให้มองว่าหลักการทำงานในแง่การปฏิบัติมันไม่สามารถเป็นไปในทิศทางดังกล่าวได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสัญญา

    "ช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายค่อนข้างโจมตีช่อง 3 ในเรื่องการออกอากาศโทรทัศน์รูปแบบอะนาล็อกว่าคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์และรายได้  แต่ในความเป็นจริงแล้วอยากให้ย้อนไปดูการทำสัญญาของช่อง3 ที่ทำไว้กับอสมท  ว่าการร่างสัญญาเป็นอย่างไร  ซึ่งสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นการร่างในรูปแบบการโอนธุรกิจในบางส่วนที่กลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สร้างขึ้นต้องโอนให้กับอสมท  อีกทั้งการออกอากาศต้องออกอากาศภายใต้ช่องอะนาล็อกอย่างเดียว"แหล่งข่าวกล่าวและว่า


______________________________




วิก3ขอเปิดเจรจา'กสทช.' ตั้งแง่'ปลดล็อก'สัมปทาน


  โอด! ช่อง 3 ตกเป็นจำเลยสังคม  ขอเปิดโต๊ะเจรจากสทช. ใน 15 วัน พร้อมยื่นข้อเสนอหากต้องการให้ออกอากาศคู่ขนาน  กสทช. ต้องปลดล็อกสัญญาสัมปทานกับอสมท ทั้งหมด เหตุเกรงถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย ขณะที่ผู้ประกอบการเคเบิลและทีวีดาวเทียมร้องขอความเป็นธรรมการเรียงลำดับช่อง พร้อมยกเลิกมัสต์ แคร์รี เหตุถูกบีบหนัก หลังเกิดทีวีดิจิตอล
    แหล่งข่าวในวงการทีวีดิจิตอลรายหนึ่ง  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วันนี้ช่อง 3 ตกที่นั่งลำบากและเป็นจำเลยสังคมไปโดยปริยาย  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายมักโจมตีช่อง 3 ถึงกรณีไม่ออกอากาศคู่ขนานไปในทิศทางที่กำหนดไว้ โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องผลประโยชน์  แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ช่อง 3 ไม่เคยออกมาพูดเลยคือเรื่องของสัญญาที่ทางช่อง 3 ทำกับอสมท  แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะมีหลายฝ่ายออกมาเสนอแนวทางการแก้ไขให้ช่อง 3 ถึงปัญหาสัญญาสัมปทานต่างๆที่ทำขึ้นกับอสมท แต่ต้องแลกเปลี่ยนกับการออกทีวีดิจิตอลในรูปแบบคู่ขนาน  โดยส่วนตัวอยากให้มองว่าหลักการทำงานในแง่การปฏิบัติมันไม่สามารถเป็นไปในทิศทางดังกล่าวได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสัญญา

    "ช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายค่อนข้างโจมตีช่อง 3 ในเรื่องการออกอากาศโทรทัศน์รูปแบบอะนาล็อกว่าคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์และรายได้  แต่ในความเป็นจริงแล้วอยากให้ย้อนไปดูการทำสัญญาของช่อง3 ที่ทำไว้กับอสมท  ว่าการร่างสัญญาเป็นอย่างไร  ซึ่งสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นการร่างในรูปแบบการโอนธุรกิจในบางส่วนที่กลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สร้างขึ้นต้องโอนให้กับอสมท  อีกทั้งการออกอากาศต้องออกอากาศภายใต้ช่องอะนาล็อกอย่างเดียว"แหล่งข่าวกล่าวและว่า
    ดังนั้นการจะนำมาออกอากาศรูปแบบคู่ขนานจึงไม่สามารถทำได้  แม้ในช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายจะยื่นข้อเสนอให้ความช่วยเหลือ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการออกคู่ขนาน  แต่ในแง่ของกฎหมายแท้จริงไม่สามารถทำได้  เพราะหากช่อง3 ทำผิดข้อสัญญาอาจส่งผลให้ถูกฟ้องร้องได้  และซึ่งช่อง 3 จะแพ้คดีกับอสมทก็เป็นไปได้สูง  เนื่องจากสัญญาที่ระบุไว้บนแผ่นกระดาษที่เขียนไว้ชัดเจนมากกว่าคำพูดที่ออกมา
    แหล่งข่าว ยังระบุอีกว่า ขณะเดียวกันที่หลายฝ่ายมองว่าทำไมช่อง 3 ไม่เลือกออกอากาศคู่ขนานเหมือนกับช่อง 7 นั่นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทาน เนื่องจากช่อง 7 อยู่ภายใต้สัมปทานของช่อง 5 และการร่างสัญญาที่ระบุไว้จึงไม่เหมือนกัน   ดังนั้นการออกอากาศคู่ขนานจะทำได้ก็ต่อเมื่อสัญญาดังกล่าวต้องถูกยกเลิกจากอสมท และช่อง 3 ที่ทำร่วมกัน  อีกทั้งกรณีนี้ช่อง 3 ไม่เคยออกมาพูดประเด็นที่แท้จริงจึงส่งผลให้ปัญหาต่างๆพันกันไม่จบสิ้น และเกิดประเด็นใหม่ๆตามเข้ามา          
    อย่างไรก็ดีจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีรายงานว่าในช่วงเช้าวันที่ 9 กันยายน นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณีการยื่นฟ้องกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และมติของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ที่ระงับการออกอากาศช่อง 3 ระบบอะนาล็อกผ่านทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ว่า  การยื่นฟ้องครั้งนี้เพราะมีคำถามว่า สิ่งที่ช่อง3 ถูกกระทำนั้น ถูกต้องหรือไม่ มีการจัดแถลงข่าว แถลงจุดยืนของตน แต่ไม่เป็นธรรมกับเรา โดยเฉพาะการที่มีกรรมการบางคนกล่าวอ้างว่าช่อง 3 เป็นตัวถ่วง เอาคนดูเป็นตัวประกันและ มีการทวีตข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งช่อง 3 มองว่ามันเป็นการล้ำเส้นไป
    ส่วนมติ กสท.ที่สั่งให้ช่อง 3 ต้องจอดำบนโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลนั้น  ช่อง 3 จะเปิดโต๊ะเจรจากับ กสทช. ภายใน 15 วันนี้ หาก กสทช.มีความจริงใจและเห็นแก่ประโยชน์ของคนดูที่ต้องได้รับความเสียหายเป็นสำคัญ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์จอดำต้องเกิดขึ้น หวังว่าครั้งนี้จะได้มีการพูดคุยกันอย่างจริงๆ ไม่ใช่ต่างคนต่างพูด หรือพูดผ่านโซเชียลมีเดียอย่างที่ผ่านมา
    ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอของช่อง 3 ที่นำไปมอบให้ประธาน กสท.ในวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมานั้น มีข้อเสนอเพียงข้อเดียวเท่านั้น  คือ ช่อง 3 พร้อมออกอากาศคู่ขนาน แต่ กสทช.ต้องหาทางออกต่อเงื่อนไขต่างๆ ที่ติดขัดอยู่ทั้งหมดให้ด้วย ซึ่งจะบรรลุหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า กสทช.จะรับข้อเสนอนั้นไปดำเนินการต่อหรือไม่
    ขณะเดียวกันในวันนี้ (9 กันยายน) ผู้ประกอบการโครงข่ายกลุ่มทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีก็ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม กสทช.เกี่ยวกับการพิจารณายกเลิกข้อกำหนดมัสต์แคร์รี และอนุญาตให้ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี สามารถเรียงช่องได้โดยอิสระ โดยเรื่องดังกล่าว นายมานพ โตการค้า ประธานชมรมเครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียม  เปิดเผยว่า ทางชมรมพร้อมผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้เข้ายื่นหนังสือถึงกสทช. เพื่อร้องขอความเป็นธรรมกรณีที่ กสทช. มีมติการจัดเรียงลำดับบริการโทรทัศน์ใหม่ในทุกแพลตฟอร์ม จาก  11-46 เป็น 1-36  เหมือนการรับสัญญาณผ่านกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล(เซ็ต ท็อป บ็อกซ์)
    จากมติที่ประกาศออกมาดังกล่าวทางผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีทั่วประเทศ  เช่น  PSI, CTH, Big4 และสมาคมเคเบิลทีวี  ต่างมีความเห็นตรงกันว่า  ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม  และเคเบิลทีวี  จึงได้รวมตัวกันมายื่นหนังสือคัดค้านประกาศดังกล่าว แก่ กสทช.
    ด้านนายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง  จำกัด  กล่าวว่า  ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีลงทุนทุกอย่างด้วยตัวเองไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วย  แต่ กสทช.กลับมีมติให้ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีไปสนับสนุนคู่แข่งซึ่งเป็นกลุ่มทีวีดิจิตอล  ทั้งที่ตอนประมูลทีวีดิจิตอลทุกคนรู้แล้วว่าประมูลมาเพื่อออกอากาศภาคพื้นดิน  แต่หลังจากประมูลเสร็จกสทช.กลับมาออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมายกับทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี
    สอดคล้องกับความคิดเห็นของนายวิชิต เอื้ออารีวรกุล  กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888)  จำกัด ที่กล่าวว่า  โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการออกกฎประกาศมัสต์แคร์รี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นข้อกำหนดของกสทช. ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีก็ยินดีปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช.
    "ขณะนี้ต้องแยกเป็น 2 เรื่องระหว่างแพลตฟอร์ม และคอนเทนต์  ปัจจุบันทั้งสองธุรกิจนี้ก็แข่งขันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว  อีกทั้งในวันนี้เมื่อทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นก็จะลบระบบโทรทัศน์เดิมออกไปในทันที ซึ่งส่งผลกระทบต่อเราอย่างมาก  ดังนั้นโดยส่วนตัวอยากวอนขอกสทช. ให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการโทรทัศน์อย่างเป็นธรรมด้วย  เนื่องจากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอลนั้นต้องเป็นไปในกลไกของตลาด  อีกทั้งการเกิดขึ้นนั้นต้องไม่ส่งผลกระทบต่อใครด้วย"
    ส่วนกรณีที่กสท.สั่งระงับการออกอากาศของช่อง 3 อะนาล็อกผ่านระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวีนั้นจะสามารถรับชมช่องเอเชี่ยนเกมส์ได้ด้วยหรือไม่  กสท. จะมีการประชุมและเชิญผู้ประกอบการ เพื่อหารือข้อดังกล่าวอีกครั้งในวันพุธที่ 10 กันยายนนี้  พร้อมทั้งในวันเดียวกันผู้ประกอบการโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลเตรียมเข้าพบนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในกรรมการ กสทช.  เพื่อหารือทางออกช่อง 3 จอดำ ด้วย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=245944:3-&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417#.VBbAUktAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.