Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กันยายน 2557 นายกสมาคมโฆษณา.อ่อนอุษา ระบุ ปัญหาเรื่องช่อง 3 อะนาล็อก พบว่าได้ส่งผลต่อการวางแผนการใช้สื่อโฆษณาระยะยาว โดยล่าสุดเปลื่ยนเป็นเดือนต่อเดือนแทน

ประเด็นหลัก



    นางอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนผ่านจากทีวีอะนาล็อกสู่ทีวีดิจิตอลถือเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ส่งผลให้ลูกค้าและเอเยนซีต่างๆ มีการโยกงบโฆษณาไปใช้ในสื่อทีวีดิจิตอล คิดเป็น 15% ของสื่อทีวีรวมเท่านั้น ซึ่งมีหลายช่องที่น่าสนใจและแบรนด์ส่วนใหญ่ที่เลือกใช้สื่อทีวีดิจิตอลจะเป็นแบรนด์ใหญ่ มีวิสัยทัศน์ และมองเห็นโอกาสจึงเริ่มที่จะลงโฆษณา ขณะที่ส่วนใหญ่ยังคงดูสถานการณ์ไปก่อน
   
       “ในส่วนของปัญหาเรื่องช่อง 3 อะนาล็อก พบว่าได้ส่งผลต่อการวางแผนการใช้สื่อโฆษณาของลูกค้าจากแบบระยะยาวแบบไตรมาสต่อไตรมาสมาเป็นแบบระยะสั้น หรือเดือนต่อเดือนแทน สำคัญที่สุดลูกค้าจะยังคงเลือกลงโฆษณาอยู่หากยังสามารถนำไปสู่ยอดขายได้ ไม่ว่าจะในช่อง 3 อะนาล็อก หรือช่องอื่นๆ ดังนั้นในภาพรวมของปัญหาช่อง 3 อะนาล็อกจึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินในการใช้สื่อโฆษณา เพราะลูกค้ายังสามารถนำไปใช้ในสื่ออื่นๆ ได้”
   

______________________________




สินค้าชูแผนสั้นรับปม “ช่อง 3” ตลาดโฆษณา 8 เดือนร่วง 10%


        ปัญหาช่อง 3 จอดำไม่กระทบอุตสาหกรรมโฆษณา เผยไตรมาสสี่อนาคตสดใส ช่วยดันภาพรวมตลาดกลับมาทรงตัวเท่าปีก่อน จาก 8 เดือนที่ผ่านมาติดลบ 10% “แอดแมน อวอร์ด 2014” ชี้สื่อดิจิตอลมาแรง เข้าถึงผู้บริโภคมากสุด ปีนี้ส่งเข้าประมูลถึง 143 ชิ้น
     
       นางอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนผ่านจากทีวีอะนาล็อกสู่ทีวีดิจิตอลถือเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ส่งผลให้ลูกค้าและเอเยนซีต่างๆ มีการโยกงบโฆษณาไปใช้ในสื่อทีวีดิจิตอล คิดเป็น 15% ของสื่อทีวีรวมเท่านั้น ซึ่งมีหลายช่องที่น่าสนใจและแบรนด์ส่วนใหญ่ที่เลือกใช้สื่อทีวีดิจิตอลจะเป็นแบรนด์ใหญ่ มีวิสัยทัศน์ และมองเห็นโอกาสจึงเริ่มที่จะลงโฆษณา ขณะที่ส่วนใหญ่ยังคงดูสถานการณ์ไปก่อน
     
       “ในส่วนของปัญหาเรื่องช่อง 3 อะนาล็อก พบว่าได้ส่งผลต่อการวางแผนการใช้สื่อโฆษณาของลูกค้าจากแบบระยะยาวแบบไตรมาสต่อไตรมาสมาเป็นแบบระยะสั้น หรือเดือนต่อเดือนแทน สำคัญที่สุดลูกค้าจะยังคงเลือกลงโฆษณาอยู่หากยังสามารถนำไปสู่ยอดขายได้ ไม่ว่าจะในช่อง 3 อะนาล็อก หรือช่องอื่นๆ ดังนั้นในภาพรวมของปัญหาช่อง 3 อะนาล็อกจึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินในการใช้สื่อโฆษณา เพราะลูกค้ายังสามารถนำไปใช้ในสื่ออื่นๆ ได้”
     
       สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือน ส.ค.57 พบว่ามีอัตราการเติบโตติดลบ 10% แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มดีขึ้น รัฐบาลเริ่มสร้างความมั่นใจด้วยผลงานต่างๆ ที่ออกมา ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจในการลงทุน อีกทั้งมีอีเวนต์ใหญ่อย่างเอเชียนเกมส์ที่จะทำให้สินค้าต่างๆ ออกมาโฆษณา สปอนเซอร์ต่างๆ บวกกับในไตรมาสสี่เป็นไฮซีซันของการขาย เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณากลับมาทรงตัวเท่าปีก่อนได้
     
       “จากความชัดเจนของทีวีดิจิตอลในปีหน้าและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปใช้งานผ่านเทคโนโลยีและสื่อดิจิตอลมากขึ้น ในแง่ของนักโฆษณาและวางแผนการตลาดจะต้องเข้าใจและเข้าถึงในตัวผู้บริโภคให้มากขึ้นและต้องรู้จักการอินทิเกรตในการใช้สื่อโฆษณาต่างๆ”
     
       สำหรับมูลค่าตลาดโฆษณา 8 เดือนแรกปี 2557 (มกราคม-สิงหาคม ) มีประมาณ 67,570 ล้านบาท ลดลง 9.24% โดยแยกเป็นสื่อโทรทัศน์ มูลค่า 42,887 ล้านบาท ตกลง 7.07% สื่อวิทยุ 3,514 ล้านบาท ตกลง 14.06% สื่อหนังสือพิมพ์ 8,377 ล้านบาท ตกลง 14.51% สื่อนิตยสาร 3,012 ล้านบาท ตกลง 17.46% สื่อโรงภาพยนตร์ 3,009 ล้านบาท ตกลง 9.83% สื่อป้ายโฆษณา 2,673 ล้านบาท ตกลง 3.19% สื่อในร้านค้า 1,144 ล้านบาท ตกลง 36.02% สื่อเคลื่อนที่ 2,368 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.18% และสื่ออินเทอร์เน็ต 586 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.51%
     
       ทางด้าน นายวีรชน วีรวรวิทย์ ประธานคณะกรรมการการตัดสินการประกวด Adman Awards & Symposium 2014 กล่าวว่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ช่วงปีที่ผ่านมามีชิ้นงานโฆษณามีน้อย แต่สำหรับงานที่โดดเด่นอยู่แล้วก็จะมีความโดดเด่นมากขึ้น ตัวเนื้องานมีความกล้าที่จะนำเสนอผลงานไปสู่สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาคุยกับคอนซูเมอร์ มีความเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์สูง
     
       ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า แม้ว่าภาพรวมมูลค่าโฆษณาและชิ้นงานลดลง แต่งานโฆษณาในสื่อออนไลน์มีมากขึ้น ในแง่ของงบโปรดักชั่นด้านการผลิตชิ้นงานโฆษณากลับใช้มากยิ่งขึ้น โดยจะเน้นการนำเสนอในสื่อดิจิตอลและออนไลน์แทน เนื่องจากสามารถตรวจสอบผลได้ดีกว่าสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ เช่น เนเจอร์กิฟ และโอเรียนทอล ปริ๊นเซส ที่มีเนื้องานโฆษณาที่โดดเด่น นำมาซึ่งยอดขายที่เติบโตขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก
     
       ส่งผลให้จำนวนผลงานที่เข้าประกวดในงาน Adman Awards & Symposium 2014 ปีนี้พบว่ามีจำนวนชิ้นงานทั้งสิ้น 762 ชิ้นงาน ลดลง 20% ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสื่อในกลุ่มดิจิตอลและอินเตอร์แอ็กทีฟมีจำนวนชิ้นงานที่เข้าประกวดมากสุด 143 ชิ้นงาน รองลงมาคือสื่อโฆษณานอกบ้าน 121 ชิ้น และสื่อสิ่งพิมพ์ 109 ชิ้น ขณะที่สื่อทีวีและสิ่งพิมพ์ลดลง 34% และ 17% ตามลำดับ
     
       อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าในแง่ของเอเยนซีที่ส่งผลงานเข้าประกวดนั้นกลับมีมากขึ้นจากเดิมปีก่อนมี 46 บริษัท โดยปีนี้เพิ่มเป็น 55 บริษัท ส่วนใหญ่ที่เพิ่มเข้ามาจะเป็นเอเยนซีรายเล็ก รวมถึงเอเยนซีโลคอล


http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000107081

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.