Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 ธันวาคม 2557 intuch ระบุ ปัญหาของเหล่าสตาร์ตอัพคือจำนวนโครงการที่นำเสนอยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าการเกิดขึ้นของนโยบายนี้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยี

ประเด็นหลัก


สำหรับปัญหาของเหล่าสตาร์ตอัพคือจำนวนโครงการที่นำเสนอยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่ปัจจุบันความตื่นตัวด้านเทคโนโลยีเป็นโอกาสให้สตาร์ตอัพรุ่นใหม่เติบโตในวงการเทคโนโลยี เนื่องจากมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และธุรกิจเริ่มหันมาสนใจนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ประกอบกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาลเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ จากการนำไอทีเข้าไปมีส่วนร่วมหลายด้าน แต่ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีทิศทางไปอย่างไร ปัจจุบันยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าการเกิดขึ้นของนโยบายนี้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยี รวมถึงสตาร์ตอัพรายใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกลุ่มธุรกิจไอทีมากขึ้น


______________________________







"อินทัช" เฟ้นสตาร์ตอัพดาวรุ่ง เล็งใส่เงินร่วมทุน4บริษัทใหม่



"อินทัช" พร้อมใส่เงินสนุน "สตาร์ตอัพไทย" ต่อเนื่อง เตรียมร่วมทุนเพิ่มอีก 3-4 แห่ง ระบุโอกาสเปิดกว้างมากขึ้น แต่จำนวนโครงการที่น่าสนใจยังไม่มากพอ

นายคิมห์ สิริทวีชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริหารการลงทุน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรืออินทัช กล่าวว่า ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้วที่อินทัชให้การสนับสนุนสตาร์ตอัพด้านไอที ตั้งแต่การให้คำปรึกษาพัฒนาศักยภาพด้านไอที รวมทั้งด้านเงินทุนเพื่อสร้างการพัฒนา และสร้างรายได้ทางการลงทุนจากต่างประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เกิดสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ มีไอเดียใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ผู้ประกอบการยังไม่มั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนทำให้เหล่าสตาร์ตอัพหาเงินลงทุนในการเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่มากนัก

สำหรับอินทัช ในช่วงที่ผ่านมาเข้าไปลงทุนในลักษณะร่วมลงทุนผ่านโครงการ "อินเว้นท์" (กรอบวงเงินงบประมาณ 200 ล้านบาท) จะพิจารณาร่วมทุนในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม, สื่อ, ดิจิทัลคอนเทนต์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจในกลุ่มอินทัช และเข้าไปลงทุนแล้วใน 3 บริษัท คือ บริษัท อุ๊คบี (ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มอีบุ๊ก) เริ่มแรกถือหุ้น 25% ปัจจุบันลดเหลือ 22% เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพราะมีบริษัทจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุน 11% มูลค่ากว่า 160 ล้านบาท

ถัดมาเป็นบริษัท คอมพิวเตอร์โลจี บริษัทด้านการจัดการโซเชียลเน็ตเวิร์ก และวิเคราะห์ข้อมูล ถือหุ้น 25% และบริษัท เมดิเทค ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Eye Tracking ช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายสื่อสารกับญาติและพยาบาลได้โดยใช้สายตา

"ทั้ง 3 บริษัทเป็นจุดเริ่มต้นที่อินทัชเข้าไปสนับสนุนสตาร์ตอัพ และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 3-4 โครงการ คาดว่าปีหน้าจะได้เห็น ซึ่งในภาพรวมของการเข้าไปลงทุนของเรามีเงื่อนไขว่าจะลงเงินในแต่ละบริษัท ขั้นต่ำที่ 5 ล้านบาท มีระยะเวลาถือครองหุ้น 3-5 ปี โดยจะไม่เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และไม่เข้าไปมีส่วนในการบริหารงานใด ๆ จะทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง เพราะต้องการช่วยให้สตาร์ตอัพ ตั้งตัวเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการได้ และมีความสามารถในการหาพันธมิตรธุรกิจเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ มีที่ปรึกษาการตลาดและการจัดการให้สตาร์ตอัพเหล่านี้ด้วย"

สำหรับปัญหาของเหล่าสตาร์ตอัพคือจำนวนโครงการที่นำเสนอยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่ปัจจุบันความตื่นตัวด้านเทคโนโลยีเป็นโอกาสให้สตาร์ตอัพรุ่นใหม่เติบโตในวงการเทคโนโลยี เนื่องจากมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และธุรกิจเริ่มหันมาสนใจนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ประกอบกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาลเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ จากการนำไอทีเข้าไปมีส่วนร่วมหลายด้าน แต่ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีทิศทางไปอย่างไร ปัจจุบันยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าการเกิดขึ้นของนโยบายนี้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยี รวมถึงสตาร์ตอัพรายใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกลุ่มธุรกิจไอทีมากขึ้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1418111731

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.