Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ธันวาคม 2557 การโฆษณาช่องดิจิตอลสูงสุด 10 อันดับได้แก่ ช่อง 14 MCOT โดยใช้ไปกว่า 40 ล้านบาทเพื่อโปรโมต ตามมาด้วยช่อง// Spring news ใช้ไป 26.5 ล้านบาท// MONO29 23.7 ล้านบาท // ช่อง 36 PPTV 21.6 ล้านบาท // ช่อง 3HD 13.9 ล้านบาท



ประเด็นหลัก



 โดยจะขอพูดถึงรายที่ใช้งบในการโฆษณาช่องดิจิตอลสูงสุด 10 อันดับได้แก่ ช่อง 14 MCOT โดยใช้ไปกว่า 40 ล้านบาทเพื่อโปรโมต ตามมาด้วยช่อง 19 ข่าว Spring news ใช้ไป 26.5 ล้านบาท อันดับ 3 ได้แก่ MONO29 ช่องวาไรตีที่เน้นซีรีส์ และหนังดังจากต่างประเทศ เทงบ 23.7 ล้านบาท อันดับ 4 คือ ช่อง 36 PPTV ที่เน้น   ซีรีส์ดังจากเกาหลีใช้งบถึง 21.6 ล้านบาท อันดับ 5 ได้แก่ ช่อง 33 หรือช่อง 3 ใช้งบโปรโมตช่องไป 13.9 ล้านบาท ตามมาด้วยช่องที่มีเนื้อหา และสาระแน่นๆ 18 NewTV ที่ทุ่มงบโฆษณา 11.3 ล้านบาทเป็นอันดับ 6  สำหรับอันดับ 7 เป็นของช่อง 23 Workpoint ใช้ไปเพียง 9.9 ล้านบาท อันดับ 8 คือ ช่อง 35 CH7 ใช้งบไป 8.9 ล้านบาท ส่วนอันดับ 9 เป็นช่อง 21 VoiceTV ทุ่มไป 8.0 ล้านบาท และตบท้ายอันดับ 10 กับช่อง 32 ThairathTV ที่ใช้ไป 7.0 ล้านบาท

______________________________








ทีวีดิจิตอลทุ่มงบชิงคนดู (2)

กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี / อรรณพ ดวงมณี การตลาด MARKETING - คอลัมน์ I-CONNECT พิมพ์
altกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี / อรรณพ ดวงมณี ฉบับที่แล้วทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative ได้นำงบโฆษณาของกลุ่มทีวีดิจิตอล ซึ่งได้เริ่มประเดิมโปรโมตกันมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการออนแอร์ช่องทีวีดิจิตอลมาให้ผู้อ่านได้เห็นกันไปแล้ว คราวนี้เรามาเจาะลึกกันว่า งบโฆษณาที่แต่ละช่องลงนั้นใช้ไปกับสื่อประเภทไหนบ้าง
    ขอย้อนกลับไปถึงงบโฆษณาของกลุ่มทีวีดิจิตอลกันก่อน โดยจะขอพูดถึงรายที่ใช้งบในการโฆษณาช่องดิจิตอลสูงสุด 10 อันดับได้แก่ ช่อง 14 MCOT โดยใช้ไปกว่า 40 ล้านบาทเพื่อโปรโมต ตามมาด้วยช่อง 19 ข่าว Spring news ใช้ไป 26.5 ล้านบาท อันดับ 3 ได้แก่ MONO29 ช่องวาไรตีที่เน้นซีรีส์ และหนังดังจากต่างประเทศ เทงบ 23.7 ล้านบาท อันดับ 4 คือ ช่อง 36 PPTV ที่เน้น   ซีรีส์ดังจากเกาหลีใช้งบถึง 21.6 ล้านบาท อันดับ 5 ได้แก่ ช่อง 33 หรือช่อง 3 ใช้งบโปรโมตช่องไป 13.9 ล้านบาท ตามมาด้วยช่องที่มีเนื้อหา และสาระแน่นๆ 18 NewTV ที่ทุ่มงบโฆษณา 11.3 ล้านบาทเป็นอันดับ 6  สำหรับอันดับ 7 เป็นของช่อง 23 Workpoint ใช้ไปเพียง 9.9 ล้านบาท อันดับ 8 คือ ช่อง 35 CH7 ใช้งบไป 8.9 ล้านบาท ส่วนอันดับ 9 เป็นช่อง 21 VoiceTV ทุ่มไป 8.0 ล้านบาท และตบท้ายอันดับ 10 กับช่อง 32 ThairathTV ที่ใช้ไป 7.0 ล้านบาท
    จะเห็นได้ว่า การโฆษณาช่องทีวีดิจิตอลในช่วงแรกนั้น จะเน้นถึงความเป็นตัวตนของแต่ละสถานี เช่น MONO29 จะโปรโมตความเป็นช่องแห่งความบันเทิง และซีรีส์จากต่างประเทศ ช่อง 19 Spingnews เน้นในเรื่องของความเป็นสถานีข่าว "รู้จริงสปริงนิวส์" ส่วนช่อง 36 PPTV เป็นช่องที่รวบรวมซีรีส์ดังๆ จากเกาหลี เป็นต้น โดยไม่ค่อยได้แตะในเรื่องของการโปรโมตหมายเลขช่องมากนัก เนื่องจากหมายเลขช่องยังไม่นิ่ง และเปลี่ยนแปลงไปตามกล่องเคเบิลแต่ละราย
    คราวนี้มาแยกย่อยกันดูว่า ช่องทีวีดิจิตอลแต่ละรายใช้งบประมาณไปกับสื่อประเภทไหนกันบ้าง เริ่มจากอันดับ 1 ที่ใช้งบประมาณในการโฆษณาสูงสุดก็คือ 14MCOT เน้นการใช้สื่อประเภทโทรทัศน์  และเคเบิลทีวีซึ่งเป็นเครือข่ายของตัวเองโดยสามารถตีเป็นมูลค่าได้สื่อละกว่า 19 ล้านบาท สื่อ หนังสือพิมพ์ ใช้ไป 1.4 ล้านบาท ตามด้วยสื่อนิตยสารด้วยงบ 1.2 แสนบาท และสื่อวิทยุเพียงหลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น มาดูอันดับ 2 ซึ่งได้แก่ สปริงนิวส์ ใช้งบไป 26 ล้านบาท โดยเน้นการโฆษณาประเภท Transit เป็นพิเศษด้วยการใช้ไป 19 ล้านบาททั้งการโฆษณาบนตัวรถไฟฟ้า และการโฆษณาบนจอ LED ซึ่งช่วยสร้างความจดจำให้กับสปริงนิวส์ได้อย่างดี สื่อรองลงมาก็เป็น In Store ใช้งบราว 2.6 ล้านบาท ตามด้วย Outdoor 1.75 ล้านบาทใกล้เคียงกับสื่อหนังสือพิมพ์ที่ใช้ไป 1.7 ล้านบาท ตบท้ายกับสื่อนิตยสารด้วยงบ 3.4 แสนบาท
    ช่องดิจิตอลที่ใช้งบโฆษณาสูงเป็นอันดับ 3 คือ MONO29 ใช้ไปกว่า 23 ล้านบาทกับการลงโฆษณารายการเด่นๆ ซีรีส์ดังๆ ในช่อง MONO29 ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์กว่า 13 ล้านบาท ตามด้วยโฆษณาบนจอ LED บนสถานีรถไฟฟ้าอีก 7.2 ล้านบาท  โฆษณาในวิทยุด้วยงบ 3.1 ล้านบาท และลงงบโฆษณาในนิตยสารเพียง 6.5 หมื่นเท่านั้น ซึ่งจากงบโฆษณาที่ใช้ไปดูจะคุ้มค่าเพราะสร้างให้ MONO29 ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 และ 3 ของช่องดิจิตอลยอดนิยมภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน
    ส่วนอันดับ 4 อย่าง 36PPTV นั้น ใช้งบไปถึง 21 ล้านบาทปูพรมลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วยงบถึง 9.3 ล้านบาทตามด้วยวิทยุที่ใช้ไป 8.5 ล้านบาท เทงบที่เหลือไปที่ Transit 2.4 ล้านบาท Instore 8.6 แสนบาท และนิตยสารอีก 5.1 แสนบาท มาอันดับ 5 คือ 33CH3 ใช้งบ 13 ล้านบาทแบ่งไป Transit 9 ล้านบาท ตามด้วยหนังสือพิมพ์ 3.1 ล้านบาทที่เหลือไปลงในโรงหนัง 1.7 ล้านบาท และนิตยสาร 8 หมื่นบาท
    NewTV ที่ใช้งบโฆษณาเป็นอันดับ 6 ด้วยงบกว่า 11 ล้านบาท เน้นการลงเพียง 2 สื่อคือ Transit และนิตยสาร โดยใช้ไป 9.8 ล้านบาท และ 1.4 ล้านบาท มาถึงช่อง 23Workpoint ซึ่งเป็นช่องยอดนิยมอันดับ 1 ของทีวีดิจิตอลมีการใช้งบโฆษณาเพื่อโปรโมตช่องไป 9.9 ล้านบาทงบส่วนใหญ่ไปลงในหนังสือพิมพ์ 9.4 ล้านบาท อินเตอร์เน็ต 2 แสนบาท นิตยสาร 1.9 แสนบาท และวิทยุ 1.6 แสนบาท
    ทั้งนี้การโปรโมตช่องทีวีดิจิตอลจะเน้นหนักการโฆษณาถึงจุดเด่น และเนื้อหาสาระของแต่ละช่องโดยสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ สื่อหนังสือพิมพ์ เพราะเป็นสื่อที่สามารถกระจายถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้างโดยใช้ไปรวม 61.4 ล้านบาท และอีกหนึ่งสื่อที่ทีวีดิจิตอลให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ Transit ซึ่งใช้ไป 60.2 ล้านบาท ซึ่งเน้นการโฆษณาไปยังคนกรุงเทพฯ เป็นหลัก เนื่องจากเป็นพื้นที่แรกๆ ที่สามารถรับชมช่องทีวีดิจิตอลได้ก่อนจังหวัดอื่นๆ  สื่อที่ได้รับความนิยมอีกสื่อคือ สื่อวิทยุ ที่มีการใช้งบไปถึง 15.7 ล้านบาท โดยสื่อประเภทนี้สามารถสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี ตามมาด้วยสื่อ Outdoor ที่ใช้ไป 9.6 ล้านบาท และสื่อนิตยสาร 7.7 ล้านบาท ซึ่งสามารถกระจายการรับรู้ถึงช่องทีวีดิจิตอลนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
    200 ล้านบาทนี้เป็นเพียงงบก้อนแรกในการโฆษณาทีวีดิจิตอลเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละช่องยังคงเน้นสื่อสารไปถึงกลุ่มคนดูในด้านจุดเด่น และเนื้อหาสาระเป็นหลัก แต่หลังจากนี้ไปเมื่อมีการกระจายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลหรือ DVB T2 ได้กว้างขวางขึ้น การทุ่มงบโฆษณาของทั้งช่องเล็กช่องใหญ่จะถูกควักขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อโปรโมตหมายเลขช่องให้ผู้ชมสามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น เพราะโทรทัศน์ในปัจจุบันไม่ได้มีช่องให้กดเพียงแค่ 6 หมายเลขอีกต่อไป
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=257704:-2&catid=246:-i-connect&Itemid=456#.VI6xIYtAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.