Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ธันวาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดไฟเขียวประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขณะนี้ กสทช. ทำหนังสือขออนุญาตจาก คสช.

ประเด็นหลัก


ทันทีที่ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดไฟเขียวประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์  ทางฝั่ง กสทช. ออกมารับลูกในเรื่องนี้ทันที โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเปิดเผยว่า ในเบื้องต้นจะทำหนังสือขออนุญาตจาก คสช.ในการจัดทำประกาศ กสทช. ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา เกี่ยวกับการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900  และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากประกาศ คสช. ฉบับที่ 94 ที่ให้เลื่อนการประมูล 4 จี ออกไปอีก 1 ปี จะสิ้นสุดผลในเดือนกรกฎาคมนี้
    อย่างไรก็ตาม หาก คสช. อนุมัติให้ กสทช. ดำเนินการได้ในช่วงเดือนมกราคม 2558 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม  (กทค.)  จะจัดทำกรอบระยะเวลา (โรดแมป) การประมูล 4จี เบื้องต้นคาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะเริ่มกระบวนการต่างๆ  เช่น  ยกร่างประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวกับการประมูล การทำประชาพิจารณ์ในการจัดทำประกาศ การขอความเห็นจาก คสช. ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกประกาศ หลังจากออกประกาศ จะออกหนังสือชี้ชวนการลงทุน (ไอเอ็ม) คาดกระบวนการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2558 คาดว่าการประมูล 4จี จะเกิดขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558


______________________________







คสช.ปลดล็อก ประมูล 4 จีค่ายมือถือพร้อมลุย




  ในที่สุดการประมูลคลื่นความถี่ 900  และ 1800  เมกะเฮิรตซ์ เริ่มเห็นเค้าโครงที่ชัดเจนแล้ว เมื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.  ได้ออกมายืนยันว่า การเปิดประมูลคลื่น 4จี ในขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมาตามกฎหมายใหม่ 2 ฉบับ แล้วเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ซึ่งจะคู่ขนานไปกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ ที่ปรับโครงสร้างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ไปสู่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
alt++นับถอยหลังประมูล4จี
    ก่อนหน้านี้หลังจากที่ คสช. เข้ามากุมอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา  หลังเข้ามากุมอำนาจไม่ถึง 1 เดือน คสช. ได้ส่งหนังสือตอบกลับมายังสำนักงาน กสทช. โดยให้ สำนักงาน กสทช.ชะลอการดำเนินโครงการทั้ง 4  ซึ่งหนึ่งในนั้น มีโครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาตที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท  และ โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาท และ 8,445 ล้านบาท
    ทั้ง ๆ ที่โครงการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามโรดแมป เปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ในเดือนสิงหาคม 2557 และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์  ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2557 เหตุผลที่ กสทช. เปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้รับสัญญาสัมปทานจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หมดอายุคุ้มครองชั่วคราวในวันที่ 15 กันยายน 2557
    ขณะที่คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่ง เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัญญาสัมปทานจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จะหมดอายุสัญญาสัมปทานภายในปี 2558 นั้นจึงเป็นที่มาที่ กสทช.  นำคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาเปิดประมูลที่น่าจะเริ่มขึ้นในปี2558
 ++คาดเปิดประมูลแน่ปี2558
    ทันทีที่ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดไฟเขียวประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์  ทางฝั่ง กสทช. ออกมารับลูกในเรื่องนี้ทันที โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเปิดเผยว่า ในเบื้องต้นจะทำหนังสือขออนุญาตจาก คสช.ในการจัดทำประกาศ กสทช. ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา เกี่ยวกับการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900  และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากประกาศ คสช. ฉบับที่ 94 ที่ให้เลื่อนการประมูล 4 จี ออกไปอีก 1 ปี จะสิ้นสุดผลในเดือนกรกฎาคมนี้
    อย่างไรก็ตาม หาก คสช. อนุมัติให้ กสทช. ดำเนินการได้ในช่วงเดือนมกราคม 2558 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม  (กทค.)  จะจัดทำกรอบระยะเวลา (โรดแมป) การประมูล 4จี เบื้องต้นคาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะเริ่มกระบวนการต่างๆ  เช่น  ยกร่างประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวกับการประมูล การทำประชาพิจารณ์ในการจัดทำประกาศ การขอความเห็นจาก คสช. ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกประกาศ หลังจากออกประกาศ จะออกหนังสือชี้ชวนการลงทุน (ไอเอ็ม) คาดกระบวนการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2558 คาดว่าการประมูล 4จี จะเกิดขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558
    ขณะที่การประมูล 4จี เบื้องต้นจะใช้กติกาเดิม ที่จัดทำไว้ก่อนที่ คสช.จะมีคำสั่งให้เลื่อนออกไป เช่น วิธีการประมูล จะใช้กติกาเดียวกับการประมูล 3จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ คือ เคาะราคาการประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900  และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะเปิดประมูลคลื่นความถี่ละ 2 ใบอนุญาต การประมูลแต่ละคลื่นความถี่จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีผู้เข้าประมูลมากกว่า จำนวนใบอนุญาต หรือไม่น้อยกว่า 3 ราย ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการจัดประมูล 4จี ทั้ง 2 คลื่นความถี่จะดำเนินการพร้อมกัน หรือแยกประมูลกันคนละช่วงเวลา
    ก่อนหน้านี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)  ออกมาส่งสัญญาณว่า  จากคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ระงับการประมูล 4จีออกไป 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดเดือนกรกฎาคม ปี 2558  นั้น กสทช.ยืนยันว่า ต้องจัดประมูลคลื่นย่านความถี่ 900/1800  เมกะเฮิรตซ์ ในเดือนสิงหาคม-กันยายน ปีหน้าอย่างแน่นอน
    แต่เมื่อมีคำสั่ง คสช.ให้ระงับการประมูลออกไป 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดของคำสั่งดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2558 นั้น กสทช.ต้องเริ่มเตรียมความพร้อมในการประมูลไปก่อน เมื่อพ้นเวลาระงับการประมูล กสทช.จะสามารถเปิดการประมูลได้ทันที ซึ่งหากไม่มีเรื่องทางการเมืองเปลี่ยนแปลงอีก กสทช.จะยึดรูปแบบการประมูลแบบเดียวกับการประมูล 3จีครั้งก่อน เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมเป็นที่ยอมรับในสากล แต่ราคาเริ่มต้นการประมูลต้องสูงกว่าเดิม ไม่ควรลดลงเพราะประเทศชาติจะเสียประโยชน์
++3 ค่ายมือถือยืนยันความพร้อม
    สำหรับการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทั้ง 3 ค่ายมือถือ ไล่เลียงตั้งแต่ เอไอเอส, ดีแทค และ ทรู พร้อมที่จะเข้าประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินทัช จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  สำหรับการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ  4จีขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมเงินไว้ 1.5 - 2 หมื่นล้าน เพื่อการประมูลแต่ก็ขึ้นอยู่กับราคาตั้งต้นที่จะออกมาด้วย
    เช่นเดียวกับนายศุภชัย เจียรวนนท์  กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เคยให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากได้พันธมิตร ไชน่า โมบาย เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 18% หรือ คิดเป็นเงินประมาณ 28,600 ล้านบาท และ เพิ่มทุนอีกประมาณ 36,400 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6.5 หมื่นล้านบาท จะแบ่งเงินไปปรับโครงสร้างหนี้ และ แบ่งเงินไว้ 15,000 ล้านบาทเพื่อนำไปลงทุนและเข้าประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์
    ส่วนนายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ดีแทค พร้อมประมูลคลื่นความถี่เช่นเดียวกัน
    จุดที่น่าสนใจสำหรับการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 4 จี  ครั้งนี้ อยู่ที่ว่าบรรดาค่ายมือถือจะเสนอราคาประมูลเป็นมูลค่าเท่าไหร่น่าติดตามยิ่ง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=257307:--4-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VIxCuItAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.