Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 TFIT.วิชัย แนะรัฐบาลต้องสร้างโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จะต้องครอบคลุมพื้นที่ 90% ในปี 2559 รองรับสปีดที่ 30 Mbps ขึ้นไป ก่อนครอบคลุม 95% สปีด 100 Mbps

ประเด็นหลัก


นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ทีเอฟไอที) เปิดเผยว่าได้ยื่นข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่รวบรวมจาก 14 สมาคมภายใต้ทีเอฟไอที มอบให้รองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล


โครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จะต้องครอบคลุมพื้นที่ 90% ในปี 2559 รองรับสปีดที่ 30 Mbps ขึ้นไป ก่อนครอบคลุม 95% สปีด 100 Mbps ในปี 2563 สร้างอินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์เพิ่มอีก 5 เครือข่าย จากปัจจุบันมีอยู่ 8 เครือข่าย แต่ใช้ได้จริงแค่ 4 เครือข่าย เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชน

"รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานราชการ และเอกชนที่มีโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกเป็นของตัวเอง ให้ใช้โครงข่ายที่มีร่วมกัน เพื่อลดการซ้ำซ้อนในการลงทุน อาทิ ตั้งบริษัทกลางเป็นผู้บริหารโครงข่ายทั้งหมด หรือให้ภาครัฐรับผิดชอบในเรื่องคอร์เน็ตเวิร์ก ที่สำคัญต้องระบุให้ชัดเจนว่า โครงข่ายไหนใช้เพื่อบริการทั่วไป และใช้เพื่อรักษาความมั่นคง เพราะความปลอดภัยของการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ใช่ปล่อยให้ไทยเป็นอันดับ 3 ของโลกในเรื่องความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ รองจากจีนและรัสเซีย"





______________________________







ทีเอฟไอทีชงรัฐแชร์ใช้โครงข่ายตั้งกองทุนหนุนสตาร์ตอัพ


ผู้ประกอบการไอซีทีหวังรัฐทุ่ม 2 แสนล้านบาท กระตุ้นด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ "แชร์โครงสร้างพื้นฐาน-แก้กฎหมาย-พัฒนาบุคลากร" แนะตั้งกองทุนสตาร์ตอัพ 5 พันล้านบาท ดึงคนเก่งไว้ในประเทศ

นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ทีเอฟไอที) เปิดเผยว่าได้ยื่นข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่รวบรวมจาก 14 สมาคมภายใต้ทีเอฟไอที มอบให้รองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

แนวทางที่เสนอคือ ขอให้รัฐบาลใช้งบราว 2 แสนล้านบาท เพื่อผลักดันดิจิทัลอีโคโนมี ใน 4 เรื่อง คือโครงสร้างพื้นฐาน, ธุรกิจพาณิชย์และอิเล็กทรอนิกส์, การพัฒนาบุคลากร และภาครัฐบาล โดยให้ทั้งภาครัฐและเอกชนทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

100 Mbps ทั่วไทยใน 5 ปี

โครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จะต้องครอบคลุมพื้นที่ 90% ในปี 2559 รองรับสปีดที่ 30 Mbps ขึ้นไป ก่อนครอบคลุม 95% สปีด 100 Mbps ในปี 2563 สร้างอินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์เพิ่มอีก 5 เครือข่าย จากปัจจุบันมีอยู่ 8 เครือข่าย แต่ใช้ได้จริงแค่ 4 เครือข่าย เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชน

"รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานราชการ และเอกชนที่มีโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกเป็นของตัวเอง ให้ใช้โครงข่ายที่มีร่วมกัน เพื่อลดการซ้ำซ้อนในการลงทุน อาทิ ตั้งบริษัทกลางเป็นผู้บริหารโครงข่ายทั้งหมด หรือให้ภาครัฐรับผิดชอบในเรื่องคอร์เน็ตเวิร์ก ที่สำคัญต้องระบุให้ชัดเจนว่า โครงข่ายไหนใช้เพื่อบริการทั่วไป และใช้เพื่อรักษาความมั่นคง เพราะความปลอดภัยของการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ใช่ปล่อยให้ไทยเป็นอันดับ 3 ของโลกในเรื่องความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ รองจากจีนและรัสเซีย"

ดันรายย่อยเปิดอีคอมเมิร์ซ

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมไอซีทีถือเป็น 5 อันดับแรกที่ผลักดันจีดีพีประเทศ คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรราว 30-40% และมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท

นายพรินทร์ สงฆ์ประชา กรรมการบริหารสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่า ภาครัฐต้องกระตุ้นและเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีที่มีอยู่ 2 ล้านรายในไทยให้หันมาทำธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซให้ได้ถึง 8 หมื่นรายภายในปี 2559 เพื่อสร้างมูลค่าการซื้อขายระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (บีทูซี) ให้ได้มากกว่า 5 พันล้านบาท

"รัฐต้องออกกฎหมายเพื่อกำกับกิจการอีคอมเมิร์ซ เพราะปัจจุบันมีต่างชาติกลายเป็นผู้เล่นสำคัญ ทำให้เอกชน, รัฐ และเอสเอ็มอีได้ประโยชน์ไม่สมดุลกัน"

เร่งปลดล็อกการขาดคน

นายดนุพล สยามวาลา ประธานชมรมผู้ประกอบการโอเพ่นซอร์ซ เปิดเผยว่าบุคลากรด้านไอทีขาดแคลนมาตลอด และถึงจะมีสตาร์ตอัพเกิดขึ้นกว่า 2-5 พันราย แต่ขาดการสนับสนุนที่ดีพอ จึงถูกต่างชาติดึงไปจดทะเบียนตั้งบริษัทในประเทศอื่นเท่ากับบริการที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทย

ดังนั้นภายในปีหน้า ภาครัฐควรจัดตั้งกองทุนกลางราว 5 พันล้านบาท/ปี เพื่อดึงบุคลากรที่มีคุณภาพเอาไว้ในประเทศ

นอกจากนี้ การพัฒนาหน่วยงานราชการให้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยอย่างแรกที่ต้องทำ คือจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลดิจิทัลแห่งชาติ เพื่อให้นักเรียนจบใหม่ หรือบุคลากร มีแหล่งข้อมูลความรู้ เพื่อเตรียมตัวก่อนไปสอบมาตรฐาน

ดันสภาไอซีที

นายอดิเรก ปฏิทัศน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย กล่าวว่า ภาครัฐควรตั้งสภาไอซีทีให้ได้ภายในปีหน้า เพื่อให้มีการกำกับดูแลอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ ตั้งฐานข้อมูลแบบเปิด อาทิ แผนที่ประเทศ หรือจำนวนประชากร เพื่อให้ทั้งภาครัฐและเอกชนไปบูรณาการต่อได้

"ข้อมูลปัจจุบันกระจัดกระจายไปหมด กว่าจะได้ข้อมูลก็ช้าและล้าสมัย ถ้ามีการรวมศูนย์ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน จะทำให้พัฒนาประเทศได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดสมาร์ทซิตี้ในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งเราคาดว่าภายในปี 2558 ต้องมี 20 จังหวัด และ 40 จังหวัดในสองปีถัดไป"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1418666321

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.