Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ธันวาคม 2557 สพธอ. ตั้งเป้า www.thaiemarket.com เพิ่มการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไม่น้อยกว่า 20% จากตัวเลขที่สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปีนี้ อยู่ที่ 7 แสนกว่าล้าน เพิ่มจาก 6 แสนกว่าล้านบาทปีที่แล้ว

ประเด็นหลัก


"ภารกิจ สพธอ. ตามนโยบายดิจิทัล

อีโคโนมี คือสร้างซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์ ทั้งเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ การดูแลไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ต้องแข็งแรงขึ้น ต้องแก้ไขในหลายจุดที่เป็นปัญหา ซึ่ง สพธอ.เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง ที่รอการพิจารณาจาก สนช.มีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, กฎหมายไซเบอร์ซีเคียวริตี้, กฎหมายที่ดูแลดิจิทัลอีโคโนมีโปรโมชั่น วางแผนไว้ว่าภายใน มี.ค.ปีหน้านี้จะประกาศใช้ได้หมด

งานที่จะเห็นเป็นรูปธรรมในปีหน้า คือ ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ได้พยายามแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการฟิชชิ่ง การหลอกลวงให้กรอกข้อมูลทางการเงินหรือการดักจับข้อมูลการเงินของลูกค้าทำ เว็บไซต์ปลอม "สพธอ." มีหน่วยงานที่คอยมอนิเตอร์ และเข้าไปแก้ไขเพื่อปิดช่องทางเหล่านี้ได้ใน 2 วัน ช่วยลดความเสียหายได้ โดยปีที่ผ่านมา ลดความเสียหายที่ตีเป็นมูลค่าได้ถึง 3,200 ล้านบาท ปีหน้ากำหนดไว้ว่า ต้องสกัดกั้นให้ได้ภายใน 1 วันทำการ

และต้องเพิ่มน้ำหนักภารกิจดูแลปัญหาการฉ้อโกงทางออนไลน์ เพื่อรองรับการผลักดัน "อีคอมเมิร์ซ" โดยทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะสมาคมธนาคารไทยเพื่อให้จับกุมผู้กระทำผิดได้ และเริ่มทำงานหน้าบ้าน เช่น เปิดเว็บ www.thaiemarket.com เว็บกลางที่รวบรวม

ผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ

"ในโลกออนไลน์มีโอกาสเยอะจริง แต่ทั้งคนซื้อคนขายกลัวกันเอง อยากซื้อแต่พอถึงขั้นตอนจ่ายเงินเริ่มลังเล จากการสำรวจพบว่ามีคนซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ในราคาที่สูงขึ้น ถ้าสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นได้จะช่วยผลักดัน เราตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไม่น้อยกว่า 20% จากตัวเลขที่สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปีนี้ อยู่ที่ 7 แสนกว่าล้าน เพิ่มจาก 6 แสนกว่าล้านบาทปีที่แล้ว"


_____________________________________________________

















"สพธอ." ผสานความร่วมมือ ปั้น "ซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์"



เป็นที่แน่ชัดว่างานด้าน "ไซเบอร์ซีเคียวริตี้" ของประเทศจะมาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ "สพธอ." เนื่องจากความพร้อมด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นโจทย์หิน เพราะมีผลสำรวจจากหลายสำนักพบว่า เว็บไซต์ภาครัฐโดนแฮกมากที่สุดในอาเซียน

ปัจจุบัน "สพธอ." มีมนุษย์พันธุ์ไอทีอยู่กว่าครึ่งของพนักงาน 136 คน สำนักงานแห่งใหม่ยังลงทุนระบบไอทีครบวงจร มีทั้งศูนย์ปฏิบัติการที่คอยมอนิเตอร์เฝ้าระวังภัยไซเบอร์ที่เชื่อมต่อกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 10 แห่ง มีห้องปฏิบัติการในการกู้พยานหลักฐานทางดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ทางคดี

เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้นจากการถือกำเนิดขึ้นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม "สุรางคณา วายุภาพ" ผู้อำนวยการ สพธอ.กล่าวว่า สิ่งแรกที่จะทำคือขยายอัตรากำลังเพิ่มเป็น 200 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีครึ่งหนึ่ง ที่เหลือเป็นงานด้านยุทธศาสตร์และกฎหมายเพื่อซัพพอร์ตการทำงาน

"ภารกิจ สพธอ. ตามนโยบายดิจิทัล

อีโคโนมี คือสร้างซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์ ทั้งเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ การดูแลไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ต้องแข็งแรงขึ้น ต้องแก้ไขในหลายจุดที่เป็นปัญหา ซึ่ง สพธอ.เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง ที่รอการพิจารณาจาก สนช.มีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, กฎหมายไซเบอร์ซีเคียวริตี้, กฎหมายที่ดูแลดิจิทัลอีโคโนมีโปรโมชั่น วางแผนไว้ว่าภายใน มี.ค.ปีหน้านี้จะประกาศใช้ได้หมด

งานที่จะเห็นเป็นรูปธรรมในปีหน้า คือ ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ได้พยายามแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการฟิชชิ่ง การหลอกลวงให้กรอกข้อมูลทางการเงินหรือการดักจับข้อมูลการเงินของลูกค้าทำ เว็บไซต์ปลอม "สพธอ." มีหน่วยงานที่คอยมอนิเตอร์ และเข้าไปแก้ไขเพื่อปิดช่องทางเหล่านี้ได้ใน 2 วัน ช่วยลดความเสียหายได้ โดยปีที่ผ่านมา ลดความเสียหายที่ตีเป็นมูลค่าได้ถึง 3,200 ล้านบาท ปีหน้ากำหนดไว้ว่า ต้องสกัดกั้นให้ได้ภายใน 1 วันทำการ

และต้องเพิ่มน้ำหนักภารกิจดูแลปัญหาการฉ้อโกงทางออนไลน์ เพื่อรองรับการผลักดัน "อีคอมเมิร์ซ" โดยทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะสมาคมธนาคารไทยเพื่อให้จับกุมผู้กระทำผิดได้ และเริ่มทำงานหน้าบ้าน เช่น เปิดเว็บ www.thaiemarket.com เว็บกลางที่รวบรวม

ผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ

"ในโลกออนไลน์มีโอกาสเยอะจริง แต่ทั้งคนซื้อคนขายกลัวกันเอง อยากซื้อแต่พอถึงขั้นตอนจ่ายเงินเริ่มลังเล จากการสำรวจพบว่ามีคนซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ในราคาที่สูงขึ้น ถ้าสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นได้จะช่วยผลักดัน เราตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไม่น้อยกว่า 20% จากตัวเลขที่สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปีนี้ อยู่ที่ 7 แสนกว่าล้าน เพิ่มจาก 6 แสนกว่าล้านบาทปีที่แล้ว"

งานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ภาครัฐต้องมีการจัดการความรู้ของบุคลากรให้รู้เท่าทัน ปัญหาหลักคือสร้างความตระหนักและตื่นตัวก่อน ต้องรู้ว่าเป็นปัญหาซีเรียส เป็นเรื่องท้าทายอาจต้องสร้างแรงจูงใจรูปแบบอื่นมากกว่าบังคับ รวมถึงสร้างมนุษย์ไซเบอร์เป็นทีมงานในการสืบค้น ตรวจหาหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการทำงานของตำรวจให้มากขึ้น

ถัดมาคือการอำนวยความสะดวกในการค้าขาย โดยเฉพาะเอกสารสำคัญในรูปแบบ e-Document โดยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ แต่จำเป็นต้องมีมาตรฐานกลางของประเทศ เพื่อให้เอกสารที่ออกโดยเอกชนอยู่ในฟอร์มเดียวกัน มีรหัสอ้างอิงเดียวกัน เพื่อสืบค้นกลับไปได้ว่าใครออก และเมื่อใด รวมถึงให้ e-Document ส่งผ่านระบบระหว่างองค์กรได้ และผลักดันให้เกิด e-Court เพื่อให้ศาลยอมให้มีการส่งหลักฐานคดีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่จำเป็นต้องใช้ในเอกสารกระดาษอีกต่อไป รวมถึงการยื่นคำร้องของคู่ความ เอกสารในกระบวนการพิจารณาคดี เพื่อให้เป็น e-Document ทั้งระบบอย่างแท้จริง แต่คงต้องใช้เวลา 2-3 ปี

"เราต้องผลักดันให้เกิดการวางมาตรฐานกลางของประเทศที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันแม้จะมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังต้องมีเอกสารกระดาษควบคู่ อย่างในส่วนของกรมสรรพากรที่บังคับให้ต้องมี ฉะนั้นต้องมีการแก้ไขข้อกฎหมายและระบบทั้งหมด เพื่อให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เรียกว่าแก้ไขทั้งวงจรในการติดต่อราชการของการทำธุรกิจ"

e-Document ในการซื้อขาย

ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จะเริ่มดำเนินการเฟสแรกในปีหน้า คาดหวังว่าจะได้เห็น e-Invoice และ e-Receipt ก่อน ปีถัดไปจะเป็น Tax-Invoice รวมถึงเอกสารนำเข้าส่งออกที่มีมาตรฐานกลางของประเทศ

"งานที่ยากที่สุด คือทำให้หน่วยงานนั้นยินยอมเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกันให้มีมาตรฐานเดียวกัน ตามที่ สพธอ.กำหนดให้เป็นมาตรฐานกลาง เราเป็นผู้ดำเนินการเองแค่เฉพาะระบบที่ต้องใช้มาตรฐานซีเคียวริตี้สูงเท่านั้น"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1419275119

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.