Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2557 (บทความ) มองข้ามช็อตถ้าประเทศไทยจะมี 5G // เลขานุการรองประธาน กสทช.เจษฎา ระบุ 5G ทำได้โดยไม่ต้องประมูลเพราะไม่ได้เป็นการผูกติดเพียงเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง

ประเด็นหลัก



     ***เปิดแนวคิด 5G ทำได้โดยไม่ต้องประมูล
     
       เมื่อพูดถึง 4G เป็นธรรมดาที่ประชาชนต้องมีคำถามเรื่อง 5G ว่า รูปแบบจะเป็นอย่างไร และต้องมีการประมูลต่อด้วยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธาน กสทช. ให้ความเห็นเรื่อง 5G ไว้อย่างน่าสนใจว่า แนวความคิดเรื่อง 5G ไม่ได้เป็นการผูกติดเพียงเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือชุดความถี่ชุดหนึ่งชุดใดเป็นการเฉพาะ แต่ 5G คือ การทำให้ทุกเทคโนโลยีไม่ว่าเป็น 3G, 4G แม้กระทั่งไว-ไฟ มารวมกันจนเป็นความเร็วที่มากขึ้นอย่างมหาศาล เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างไรขีดจำกัด ไม่ใช่ต้องมาเลือกเทคโนโลยีที่จะใช้ว่าจะเชื่อมต่อผ่าน 3G, 4G หรือ ไว-ไฟ เหมือนทุกวันนี้ ดังนั้น อุปกรณ์รองรับต้องมีความสามารถเพียงพอในการรวมเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าด้วยกัน
     
       บริการของ 5G จะมีอย่างหลากหลายมากขึ้น รองรับความเร็วในการเคลื่อนที่ความเร็วตั้งแต่ 0 กม.ต่อชั่วโมง ไปจนถึง500 กม.ต่อชั่วโมง การพิจารณาบริการต่างๆ บน 5G จะพิจารณาอยู่ใน 3 แกน กล่าวคือ แกนแรกคือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่อตารางกิโลเมตร (kbps/Sq.KM) แกนที่สองคือ เรื่องการหน่วงเวลา (Delay : ms) และแกนสุดท้ายเป็นเรื่องความหนาแน่นของการเชื่อมต่อกับสถานีฐานต่อตารางกิโลเมตร เมื่อวิเคราะห์บริการบน 5G ที่มีอยู่หลากหลายจะนำมาพิจารณาใน 3 แกนนี้ เพื่อดูว่าในแต่ละบริการจะต้องการทรัพยากรของโครงข่าย 5G ใน 3 อย่างนี้อะไรบ้าง
     
       ยกตัวอย่างเช่น การประชุมผ่านระบบความชัดเจนสูง (Ultra HD teleconference) จะมีความต้องการในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล และความหน่วงค่อนข้างมาก แต่เรื่องจำนวนสถานีฐานที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้บริการมีความจำเป็นน้อย ดังนั้น โครงข่าย 5G จะมีการออกแบบเป็นแบบ User-Centric กล่าวคือ ให้หลายสถานีฐานรองรับผู้ใช้คนเดียวพร้อมกัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้าแม้กระทั่ง 4G เองก็ตาม ที่การออกแบบเป็นแบบ Network-Centric ให้หนึ่งสถานีฐานรองรับผู้ใช้บริการหลายรายพร้อมกัน ซึ่งกระบวนการนี้เราเรียกว่า De-Cellization การให้บริการที่คาดว่าจะเป็นบริการแรกๆ ที่ออกมาใน 5G นี้จะเป็นบริการ แบบ Vehicular Telemetric ที่จะเป็นการรวมความสามารถของเทคโนโลยีไอซีทีเข้ากับยวดยานพาหนะเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในแง่การประหยัดเชื้อเพลิง ความปลดอภัยของการขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆ
     
       ดังนั้น จะเห็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของ 5G ด้วย และหลังจากนั้น จะตามด้วยบริการอื่นอีกใน 5G ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Smart Home & Smart Office เรื่องการขนส่งสินค้าและบริการ และสุดท้าย 5G จะไปฝังตัวอยู่ในเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

_____________________________________________________













มองข้ามช็อตถ้าประเทศไทยจะมี 5G




เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าปี 2558 จะเกิดการประมูล 4G หลังจากคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งให้ชะลอการประมูลออกไป 1 ปี และจะครบกำหนดในเดือน ก.ค.ปี 2558 อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ไฟเขียวให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เตรียมการสำหรับการประมูลได้ทันที ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงเทคโนโลยี 5G กันแล้วว่า ควรจะมีรูปแบบการให้บริการอย่างไร
     
       ***คาดประมูล 4G เงินประมูลสะพัดเกิน 3 แสนล้านบาท
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า การประมูลคลื่นความถี่ 4G จำนวน 4 ใบอนุญาตจากคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz อย่างละ 2 ใบอนุญาต จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัว โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมมากกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่าประมูลใบอนุญาตที่ต้องส่งให้เป็นรายได้แผ่นดินไม่ต่ำกว่า 42,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะเป็นเงินจากการลงทุนขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ตามเงื่อนไขของ กสทช. ซึ่งตัวเลขนี้มีพื้นฐานมาจากการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2100 MHz ที่มีเม็ดเงินมากกว่า 2.2 แสนล้านบาท ในการลงทุนขยายโครงข่าย แบ่งเป็นจากเอไอเอสประมาณ 1 แสนล้านบาท ดีแทค 6.5 หมื่นล้านบาท และกลุ่มทรู 5 หมื่นล้านบาท
     
       สำหรับแผนงานการประมูลคาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.58 และจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อพิจารณา ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประมูลใหม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมเป็นหลักเกณฑ์ที่ยอมรับในสากล แต่อาจจะมีการปรับปรุงในส่วนของราคาเริ่มต้นการประมูลใหม่ เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงหลักทางเศรษฐศาสตร์ที่นำมาคำนวณใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้มีการปรับราคาเริ่มต้นการประมูลเพิ่มขึ้นจากเดิม
     
       ***เปิดแนวคิด 5G ทำได้โดยไม่ต้องประมูล
     
       เมื่อพูดถึง 4G เป็นธรรมดาที่ประชาชนต้องมีคำถามเรื่อง 5G ว่า รูปแบบจะเป็นอย่างไร และต้องมีการประมูลต่อด้วยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธาน กสทช. ให้ความเห็นเรื่อง 5G ไว้อย่างน่าสนใจว่า แนวความคิดเรื่อง 5G ไม่ได้เป็นการผูกติดเพียงเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือชุดความถี่ชุดหนึ่งชุดใดเป็นการเฉพาะ แต่ 5G คือ การทำให้ทุกเทคโนโลยีไม่ว่าเป็น 3G, 4G แม้กระทั่งไว-ไฟ มารวมกันจนเป็นความเร็วที่มากขึ้นอย่างมหาศาล เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างไรขีดจำกัด ไม่ใช่ต้องมาเลือกเทคโนโลยีที่จะใช้ว่าจะเชื่อมต่อผ่าน 3G, 4G หรือ ไว-ไฟ เหมือนทุกวันนี้ ดังนั้น อุปกรณ์รองรับต้องมีความสามารถเพียงพอในการรวมเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าด้วยกัน
     
       บริการของ 5G จะมีอย่างหลากหลายมากขึ้น รองรับความเร็วในการเคลื่อนที่ความเร็วตั้งแต่ 0 กม.ต่อชั่วโมง ไปจนถึง500 กม.ต่อชั่วโมง การพิจารณาบริการต่างๆ บน 5G จะพิจารณาอยู่ใน 3 แกน กล่าวคือ แกนแรกคือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่อตารางกิโลเมตร (kbps/Sq.KM) แกนที่สองคือ เรื่องการหน่วงเวลา (Delay : ms) และแกนสุดท้ายเป็นเรื่องความหนาแน่นของการเชื่อมต่อกับสถานีฐานต่อตารางกิโลเมตร เมื่อวิเคราะห์บริการบน 5G ที่มีอยู่หลากหลายจะนำมาพิจารณาใน 3 แกนนี้ เพื่อดูว่าในแต่ละบริการจะต้องการทรัพยากรของโครงข่าย 5G ใน 3 อย่างนี้อะไรบ้าง
     
       ยกตัวอย่างเช่น การประชุมผ่านระบบความชัดเจนสูง (Ultra HD teleconference) จะมีความต้องการในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล และความหน่วงค่อนข้างมาก แต่เรื่องจำนวนสถานีฐานที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้บริการมีความจำเป็นน้อย ดังนั้น โครงข่าย 5G จะมีการออกแบบเป็นแบบ User-Centric กล่าวคือ ให้หลายสถานีฐานรองรับผู้ใช้คนเดียวพร้อมกัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้าแม้กระทั่ง 4G เองก็ตาม ที่การออกแบบเป็นแบบ Network-Centric ให้หนึ่งสถานีฐานรองรับผู้ใช้บริการหลายรายพร้อมกัน ซึ่งกระบวนการนี้เราเรียกว่า De-Cellization การให้บริการที่คาดว่าจะเป็นบริการแรกๆ ที่ออกมาใน 5G นี้จะเป็นบริการ แบบ Vehicular Telemetric ที่จะเป็นการรวมความสามารถของเทคโนโลยีไอซีทีเข้ากับยวดยานพาหนะเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในแง่การประหยัดเชื้อเพลิง ความปลดอภัยของการขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆ
     
       ดังนั้น จะเห็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของ 5G ด้วย และหลังจากนั้น จะตามด้วยบริการอื่นอีกใน 5G ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Smart Home & Smart Office เรื่องการขนส่งสินค้าและบริการ และสุดท้าย 5G จะไปฝังตัวอยู่ในเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
     
       ***ถอดโมเดล SK Telecom ต่อยอดในไทย
     
       รูปแบบดังกล่าวผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ อย่าง SK Telecom ซึ่งนับเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการให้บริการ 4G มาแล้ว ก็ได้แสดงแนวคิดการนำเทคโนโลยีผูกติดกับชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้เห็น ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กสทช.ได้พาสื่อมวลชนเข้าดูงานที่บริษัทดังกล่าวเพื่อเป็นความรู้ และเห็นภาพในการต่อยอดความคิดสำหรับผู้ให้บริการในประเทศไทยได้
     
       โดยรูปแบบนิทรรศการที่ SK Telecom จัดขึ้น แบ่งเป็นโซนต่างๆ เพื่อสาธิตการใช้เทคโนโลยีร่วมกับชีวิตประจำวันไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ ในบ้าน การขับเคลื่อนรถยนต์โดยไม่ต้องขับเอง การวัดสัดส่วนร่างกายของคนเพื่อใช้ในการเลือกชุดสวมใส่ และเห็นภาพการใส่ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อจริง เป็นต้น ซึ่งแนวคิดที่ SK Telecom จัดขึ้นนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ เพราะต้องรอให้เทคโนโลยีมีความเร็วมากกว่านี้ ซึ่งอาจหมายถึง 5G ดังนั้น ประเทศไทยหากจะก้าวไปสู่แนวคิดการให้บริการ 5G ก่อนใครก็สามารถนำแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นสร้างบริการแก่ลูกค้าได้ก่อนประเทศอื่นก็เป็นได้
     


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000149078

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.