Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2557 MKS ระบุ คนไทยปี 2557 กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน 33% มีเพียง 1 ซิมการ์ด ในขณะที่กลุ่มมีมากกว่า 1 ซิมการ์ด มีมากถึง 67% และในกลุ่มสำรวจนี้มีผู้ใช้งานซิมการ์ดมากสุดถึง 4 ซิม

ประเด็นหลัก




   มัคคานซิส (MKS) ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และข้อมูลในอุตสาหกรรมไอซีที ได้เปิดเผยผลสำรวจทิศทางการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการใช้งานของเทคโนโลยีบนสมาร์ทดีไวซ์ปี 2557  เป็นการสำรวจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการและลงลึกไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานหลังจากผู้ให้บริการมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องถึงพื้นที่บริการรวมถึงโปรแกรมส่งเสริมการขายของ 3G/4G LTE
   alt ทั้งนี้พบว่ากลุ่มวัยเรียนวัยทำงานในเขตเมือง 89% ได้มีการใช้อุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์มากกว่า 1 เครื่อง ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมีการถือครองโดยเฉลี่ย 3 เครื่องด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย สมาร์ทโฟน แท็บเลตแบบใส่ซิมการ์ด และ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแบบมีไว-ไฟบวกสมาร์ทแกดเจต
    ส่วนแนวโน้มการใช้ซิมการ์ดปัจจุบันพบว่ากลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน 33% มีเพียง 1 ซิมการ์ด ในขณะที่กลุ่มมีมากกว่า 1 ซิมการ์ด มีมากถึง  67% และในกลุ่มสำรวจนี้มีผู้ใช้งานซิมการ์ดมากสุดถึง 4 ซิม แต่ยังคงเป็นกลุ่มน้อยมีเพียง 4% เท่านั้น ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการใช้งานของดีไวซ์ที่หลากหลายอุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน ทำให้เห็นภาพสะท้อนของจำนวนผู้ใช้บริการรวมของบริการโทรศัพท์ไร้สายที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่าจำนวนประชากรได้ชัดเจนขึ้น
_____________________________________________________













ชี้พฤติกรรมใช้สมาร์ทดีไวซ์ปี57

 มัคคานซิส เผยผลสำรวจพฤติกรรมคนไทยใช้งานของเทคโนโลยีบนสมาร์ทดีไวซ์ ปี 57  ชี้กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานนิยมใช้อุปกรณ์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ถือครองซิมมากกว่า 1 ซิม
    มัคคานซิส (MKS) ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และข้อมูลในอุตสาหกรรมไอซีที ได้เปิดเผยผลสำรวจทิศทางการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการใช้งานของเทคโนโลยีบนสมาร์ทดีไวซ์ปี 2557  เป็นการสำรวจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการและลงลึกไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานหลังจากผู้ให้บริการมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องถึงพื้นที่บริการรวมถึงโปรแกรมส่งเสริมการขายของ 3G/4G LTE
   alt ทั้งนี้พบว่ากลุ่มวัยเรียนวัยทำงานในเขตเมือง 89% ได้มีการใช้อุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์มากกว่า 1 เครื่อง ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมีการถือครองโดยเฉลี่ย 3 เครื่องด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย สมาร์ทโฟน แท็บเลตแบบใส่ซิมการ์ด และ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแบบมีไว-ไฟบวกสมาร์ทแกดเจต
    ส่วนแนวโน้มการใช้ซิมการ์ดปัจจุบันพบว่ากลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน 33% มีเพียง 1 ซิมการ์ด ในขณะที่กลุ่มมีมากกว่า 1 ซิมการ์ด มีมากถึง  67% และในกลุ่มสำรวจนี้มีผู้ใช้งานซิมการ์ดมากสุดถึง 4 ซิม แต่ยังคงเป็นกลุ่มน้อยมีเพียง 4% เท่านั้น ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการใช้งานของดีไวซ์ที่หลากหลายอุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน ทำให้เห็นภาพสะท้อนของจำนวนผู้ใช้บริการรวมของบริการโทรศัพท์ไร้สายที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่าจำนวนประชากรได้ชัดเจนขึ้น
    นอกจากนี้ มัคคานซิส(MKS)ยังสำรวจเพิ่มเติมถึงจำนวนซิมการ์ดที่ถือครองและมีการใช้งานจริง พบว่าซิมหลัก หรือซิมที่มีการใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 มักถูกเลือกเป็นระบบรายเดือน โดยนิยมใช้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนสูงสุดและใช้กับแท็บเลตเพียง 4% มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 843 บาท สำหรับซิมรอง หรือซิมที่มีการใช้งานอันดับรองลงมา มักถูกเลือกเป็นระบบเติมเงิน และมีความนิยมใช้งานกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเลตในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 397 บาท
    ผู้ใช้บริการได้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการเลือกใช้บริการของซิมหลัก เป็นปัจจัยแรก คือ เรื่องของเครือข่ายหรือคุณภาพสัญญาณที่ดีและความครอบคุลมทั่วถึง มากที่สุดถึง 68% ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกเลือกสูงกว่าราคาและโปรโมชัน และความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายมีมากถึง 41% ส่วนปัจจัยในการพิจารณาการเลือกใช้งานซิมรอง ได้มีการพิจารณา 3 เหตุผลในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ คุณภาพสัญญาณและความเร็วของบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย ราคาแพ็กเกจ และโปรโมชันที่มีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมาก คือ 53%, 49% และ 37% ตามลำดับ
    นางสาวเฉลิมพร อภิบุณโยภาส หัวหน้าทีมนักวิเคราะห์สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท มัคคานซิส (ประเทศไทย)จำกัด ให้ความเห็นว่า ผลดังกล่าวได้สะท้อนถึงผู้ใช้บริการได้มีความกังวลถึงการใช้งานที่ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากในช่วงยุคที่มีการถ่ายโอนจากยุค 2G เข้าสู่ 3G ในช่วงแรกนั้น คุณภาพสัญญาณได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบต่อการใช้งานโดยตรง อาทิ การใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ช้าลง การคุยสายหลุด หรือไม่สามารถเชื่อมต่อการโทรข้ามเครือข่ายได้ ซึ่งทางผู้ให้บริการได้ทราบถึงปัญหาของโครงข่ายที่เกิดขึ้น และได้มีการพัฒนาปรับปรุงและขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั้งจำนวนพื้นที่การให้บริการและจำนวนประชากรของประเทศ  โดยจะเห็นว่าผู้ให้บริการได้มีการแข่งขันในการประชาสัมพันธ์ถึงคุณภาพเครือข่ายที่ดี และครอบคลุมไปกี่จังหวัด กี่อำเภอและลงไปถึงระดับตำบลและรวมถึงแผนการขยายโครงข่ายและเงินลงทุนในปี 2558 ที่ชัดเจน เพื่อบอกถึงความทั่วถึงของสัญญาณการใช้งานของบริการ แต่งานนี้ผู้ที่รับบทหนักไม่ได้มีเฉพาะผู้ให้บริการ แม้กระทั่งผู้ควบคุมกฎกติกาอย่างกสทช. ที่ต้องเข้าถึงทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
    มัคคานซิส(MKS) ได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้งานทั่วไปถึงมุมมองในความพร้อมของ 4G ในไทยหลังจาก คสช.ได้มีประกาศให้เลื่อนการประมูลออกไป ผลความคิดเห็นพบว่า 47% มองว่าไทยพร้อมแล้วที่จะมีบริการ 4G และ 30% มองว่ายังไม่พร้อม และ 23% มองว่าไม่แน่ใจว่าพร้อมหรือไม่ แต่ถ้ามองในภาพใหญ่มีถึง 53% ที่มีความเห็นสอดคล้องกับ คสช.ที่เห็นว่ายังไม่พร้อมในการให้บริการ 4G และมีความคิดเห็นเพิ่มเติม คือ บริการ 4G ควรเกิดหลังจากที่ภาครัฐปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมให้เป็นธรรมและบริการนี้จำเป็นมากในการพัฒนาประเทศ ถ้าไม่มีจะทำให้ล้าหลังและก้าวต่อไปไม่ได้ แต่ก่อนมีควรมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อแผนงานรวมในส่วนของโทรคมนาคมของไทย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,012  วันที่  25 - 27 ธันวาคม  พ.ศ. 2557


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=259044:57&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VJ_DUCBAc

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.