Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าปี 2557 คนเล่นโมบายเกมออนไลน์ในไทยจะพุ่งสูงถึง 14.0 ล้านคน มีมูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท ขยายตัวกว่า 20.2% จากผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตมีมากขึ้น

ประเด็นหลัก


เกมออนไลน์บุกมือถือ

ตั้งแต่ กลางปีเป็นต้นมามีผู้ให้บริการเกมออนไลน์หน้าใหม่ เข้ามาในตลาดบ้าง แต่ยังแรงจัดไม่เท่าเกมโมบายตามความฮอตของตลาดสมาร์ทดีไวซ์ ทำให้ยักษ์เกมออนไลน์หันมาลงสนามบ้าง ไม่นับว่าหน้าใหม่ที่โฟกัสเฉพาะโมบาย

ศูนย์ วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าปี 2557 คนเล่นโมบายเกมออนไลน์ในไทยจะพุ่งสูงถึง 14.0 ล้านคน มีมูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท ขยายตัวกว่า 20.2% จากผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตมีมากขึ้น ทำให้ค่ายเกมยักษ์ใหญ่บุกโมบายเกมมากขึ้น

เริ่มตั้งแต่ "เอเชียซอฟท์" เปิดตัวเกมออนไลน์พีซีป้อนตลาดต่อเนื่อง เช่น Yulgang 2 เกมภาคต่อ ก็ประกาศชัดว่าจะบุกตลาดโมบายเกม เริ่มจาก Ragnarok Mobile ฟาก "คิงซอฟท์" จากจีนเข้ามาเปิดสำนักงานในประเทศไทยและส่งเกม "จีอีโอ เพ็ทซาก้า" ลงตลาดโมบายเกมไทย

ฟาก "การีน่า" หลังประสบความสำเร็จในเกมฟีฟ่าออนไลน์ 3, League of Legends (LOL), Heroes of Newerth (HON) และ Point Blank ด้วยสมาชิกรวมกว่า 10 ล้านไอดี ก็ส่งโมบายเกม HEROES OF MIDWAR ลุยตลาดเช่นกัน







_____________________________________________________















ปีแห่งการปรับ-ประคองตัว "ไอทีฟุบ-มือถือรอด-รัฐวิสาหกิจดิ้น"



ปี 2557 ที่ผ่านไป ไม่ใช่เป็นปีที่ดีนักสำหรับธุรกิจไอที เพราะได้รับผลกระทบเด้งแรกจากสถานการณ์การเมืองที่ดับมู้ดจับจ่ายลามมาถึง กำลังซื้อชนิดที่เรียกว่า "กู่ไม่กลับ" ครึ่งปีแรกแทบไม่ต้องพูด ทุกรายจึงฝากความหวังถึงครึ่งปีหลัง แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ดีขึ้นเท่าไร ไม่ใช่แค่กำลังซื้อที่ยอบแยบสินค้าไอที ยังโดน "สมาร์ทโฟน" แย่งกำลังซื้อไปไม่น้อย ทำให้บรรดาผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนรบกันจ้าละหวั่น

ฝั่งฟากธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมยังรอดตัวไปได้ ด้วยว่าโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นของจำเป็นสำหรับคนยุคนี้

ในมุมของภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงในหลายระดับ ซึ่งต้องเกาะติดต่อกันในปี 2558

พลิกโฉมประเทศด้วย "ดิจิทัล"

ก่อ ตั้งมาตั้งแต่ 3 ต.ค. 2545 และเพิ่งฉลองครบรอบ 12 ปีไปหมาด ๆ สำหรับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แต่อีกไม่นานต้องเปลี่ยนชื่อหลัง ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ขึ้นมาผลักดันนโยบาย "ดิจิทัลอีโคโนมี" พร้อมร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อการจัดตั้ง "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" แปลงร่างกระทรวงไอซีทีให้กลายเป็นกลไกสำคัญ โดยขั้นตอนจากนี้คือให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาอีก 3 วาระ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลย้ำชัดว่าจะเร่งทำแบบลัดคิวเพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนนโยบายพลิกโฉมประเทศหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านดิจิทัล ทั้งกระทรวงไอซีทีและหน่วยงานใต้สังกัด รวมไปถึงเนคเทค สวทช.จะโยกงานมาไว้ภายใต้กระทรวงใหม่

ปรับใหญ่ "กสทช."

แม้ แต่องค์กรอิสระอย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังต้องลุ้นว่าโครงสร้างใหม่จะเป็นอย่างไร หลังวิ่งเจรจาตลอดไตรมาสสุดท้ายให้พ้นจากการโดนลดสถานะเป็นเพียงองค์การ มหาชนใต้กระทรวงใหม่ ท่ามกลางข้อครหาเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ โดยหม่อมอุ๋ยยืนยันแล้วว่าไม่ยุบไม่ลดสถานะ ยังเป็นองค์กรอิสระ แต่ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับบอร์ดดิจิทัล และความเป็นอิสระด้านการงบประมาณจะหายไป

อนาคต "ทีโอที-กสทฯ"

จากนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของประเทศจึงเป็นรากฐานสำคัญ การลงทุนเพิ่ม การใช้โครงข่ายร่วมกันลดความซ้ำซ้อน รวมถึงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่วงการโทรคมนาคมกำลังจับตาว่ารัฐบาลนี้จะใช้รูปแบบใด ในเมื่อรัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงข่ายสำคัญติดอยู่ในกลุ่ม 5 รัฐวิสาหกิจที่ต้องเร่งฟื้นฟู โดยเฉพาะทีโอทีคาดการณ์ว่าอาจขาดทุนถึง 8,000 ล้านบาท แม้ว่าบอร์ดใหม่จะตั้งเป้าลดผลขาดทุนถึง 50% แต่ก็ยังอยู่ในระดับกว่า 4,000 ล้านบาท สิ่งเดียวที่ชัดเจนหลังรัฐบาลใหม่เข้ามาคือตั้งบอร์ดใหม่ ปรับโครงสร้างของทั้ง 2 องค์กรใหม่ โดยให้แยกเป็น 6 สายธุรกิจ ตามซูเปอร์บอร์ด (คนร. : คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) พร้อมจ้างบริษัทที่ปรึกษาวิเคราะห์ทางรอดของทั้งคู่คาดว่าราว เม.ย. 2558 ถึงจะรู้ว่าต้องยุบรวม หรือแชร์ใช้ทรัพยากรร่วมกันในรูปแบบใด

ที่สำคัญคือความถี่ในมือจะโดนดึงกลับไปจัดสรรใหม่ได้หรือไม่ ส่งผลถึง 4G ประเทศไทยว่าจะออกมาในรูปแบบไหน รวมถึงการจะดึงโครงสร้างพื้นฐานมารวมกันตั้งเป็น "เทเลคอม พูล"หรือเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามที่หลายฝ่ายเสนอแนวทาง

ค่ายมือถือเข้าเกียร์ประคองตัว

การแข่งขันระหว่างค่ายมือถือปีนี้ไม่เข้มข้นนัก ต่างฝ่ายต่างอยู่ในโหมดจัดการตัวเอง "เอไอเอส" หลังประมูลคลื่น 3G ได้ก็เร่งขยายเครือข่ายเป็นหลัก แต่ที่เหมือนกันคือทั้ง 3 ค่ายเร่งโอนลูกค้าจากระบบสัมปทานมายังบริษัทที่ได้ใบอนุญาต ทำให้เหลือลูกค้าในระบบเดิมไม่มากนัก เช่น เอไอเอสฐานลูกค้ารวม 44 ล้านราย แต่อยู่กับระบบเดิมเพียง 5 ล้าน เป็นต้น

กระแสความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนยังแรงไม่ตกทุกเจ้าจึงประคองตัวรักษาการเติบโตสวนทางเศรษฐกิจ

จากรายงาน ผลประกอบการ 9 เดือนของเอไอเอสระบุว่ารายได้จากการให้บริการโต 0.5% และคาดว่ารายได้ทั้งปีจะโต 1-2% แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะช้ากว่าเป้า คาดว่ารายได้จะโตในไตรมาสสุดท้าย ซึ่งปกติจะมีการใช้งานสูงสุด แต่อัตรากำไรจากการขายมือถือมีแนวโน้มลดลงจากโปรโมชั่นและส่วนลดต่าง ๆ ไม่ใช่แค่นั้น "เอไอเอส" ยังเปิดตัว "ยูโมบาย" มือถือพรีเพดแบบออนไลน์ครบวงจรด้วย คาดว่าจะมีบทบาทในตลาดมากขึ้นปี 2558

ฟาก "ดีแทค" มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญคือการกลับมาของอดีตซีอีโอ "ซิคเว่ เบรคเก้" สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับวงการพอสมควร แต่น่าจะเป็นผลดีกับดีแทคเพราะ "ซิคเว่" เป็นคนคุ้นเคยทั้งกว้างขวางรู้จักและเข้าใจตลาด

ขณะที่ "ทรูมูฟ เอช" ซึ่งคงต้องบอกว่ากลุ่มทรูทั้งเครือ โดยเมื่อ 11 ก.ย. 2557 กลุ่มทรูเปิดทางให้ "ไชน่าโมบาย" เข้ามาถือหุ้น 18% พร้อมประกาศความร่วมมือในฐานะ "พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์" ในด้านต่าง ๆ แต่จะไม่เข้ามามีส่วนในการบริหารธุรกิจ

"ศุภชัย เจียรวนนท์" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ไม่เพียงช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ยังเป็นการปรับฐานการเงินให้แข็งแกร่งขึ้น ลดระดับหนี้โดยรวมของบริษัทเพื่อเดินไปสู่การพลิกโฉมเป็นองค์กรที่สร้างกำไร และขยายธุรกิจสู่การแข่งขันระดับภูมิภาครองรับ AEC ด้วย แต่จะถึงขั้นติดปีกกลุ่มทรูไหมโปรดติดตาม

จุดพลุประมูลคลื่น 4G

ก่อนปิดปี (23 ธ.ค.) ทั้ง 3 ค่ายร่วมด้วยช่วยกันแถลงจุดยืนในการผลักดันประมูลคลื่น 4G ในปี 2558 และว่าเป็นการสนองนโยบายและแนวคิดของรัฐบาลที่ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เพราะคือทางออกของการจัดสรรคลื่นที่มีความต้องการเร่งด่วนทำให้บริการดาต้า มีคุณภาพสูงตอบสนองกับความต้องการคลื่นที่มากขึ้น และควรนำคลื่นทั้งความถี่ที่ว่างและไม่ได้ใช้งานมาประมูล ไม่ใช่แค่คลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ที่อยู่ในแผน

ยักษ์พีซีดิ้นได้เท่าเดิมก็หรูล่ะ

ขาใหญ่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซี "นิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ" รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ ยอมรับว่าตลาดรวมพีซีปี 2557 ตกลงถึง 30% คาดว่าจะมียอดขาย 2.1 ล้านเครื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน จากการที่สมาร์ทดีไวซ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ดีนัก ซึ่งเอเซอร์ปรับตัวหันมารุกตลาดสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้น แต่ยังไม่สามารถชดเชยรายได้ของพีซีที่หายไปได้ ดังนั้นหากรายได้ปี 2557 เท่ากับปีก่อนหน้านั้นได้ก็ถือว่าดีแล้ว

เช่นกันกับ "จิรวุฒิ วงศ์พิมลพร" กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย "เลอโนโว" กล่าวว่า โชคดีที่มีรายได้จากสมาร์ทโฟนมาช่วยฝั่งพีซีที่หายไปได้ ช่วงครึ่งปีแรกมีรายรับจากสินค้าสมาร์ทโฟน เพราะเกือบ 40 รุ่น เน้นราคา 2,000-15,000 บาท ทั้งปลายปีร่วมกับ "แอดไวซ์" ทำตลาดสินค้ารุ่นพิเศษทั้งพีซี "ออลอินวัน และโน้ตบุ๊ก" แถมซอฟต์แวร์การศึกษา เพื่อรุกตลาดต่างจังหวัด

ฟาก "เอซุส" ปักหลักกับสมาร์ทโฟนเต็มสตรีม กับ Zenfone สเป็กแรง แต่ราคาไม่แรง (4-7 พันบาท) ทำให้ยอดขายสมาร์ทดีไวซ์เข้ามาซัพพอร์ตรายได้จากคอมพิวเตอร์ที่หดตัวลง

ค้าปลีกดิ้นสู้ฟัด

เป็น ปีที่บรรดาร้านค้าปลีกต้องปรับกระบวนรบอุตลุดเพื่อรักษาตัวรอด สิ่งที่ทำคล้ายกันคือการหันไปขายสมาร์ทดีไวซ์ แม้แต่ยักษ์ซูเปอร์สโตร์ "ไอทีซิตี้" ยังต้องหันมาเปิด "ไอทีซิตี้โมบาย" เช่นกันกับ "ซีเอส ซี" และ "แอดไวซ์" ต่างเพิ่มน้ำหนักให้กับการทำตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเลต โดย "ซีเอสซี" ถึงกับสั่งผลิตแท็บเลตพะยี่ห้อ "Wise book" และสมาร์ทโฟน "Aurora" ขณะที่ "เจ.ไอ.บี" ปรับตัวด้วยการปิดสาขาที่ซ้ำซ้อนกันเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มช่องทางขายผ่านระบบออนไลน์ และเปิดช็อปแบรนด์ใหม่ "MINE" จับกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยม

อีกเจ้าที่ลืมพูดถึงไม่ได้คือ "คอมเซเว่น" ปรับแผนธุรกิจ และเปิดเกมรุกไม่หยุด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้าน "แมงโก้โมบาย" เสริมทัพการขายสมาร์ทดีไวซ์เพิ่มเติมจาก "บานาน่าไอที" รวมถึง "ไอสตูดิโอ" ที่โฟกัสเฉพาะสินค้าแอปเปิล ทำให้ยังคงสามารถประคองตัวประคองยอดขายเอาไว้ได้

"สุระ คณิตทวีกุล" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.คอมเซเว่น กล่าวว่า รายได้ปี 2557 น่าจะจบที่ 15,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 10% และการที่ร้านค้าปลีกแต่ละรายยังคงรายได้ไว้ได้ ถือว่าค่อนข้างเก่งแล้ว

หมดยุค "คอมมาร์ต"

ที่เห็นได้ชัดคืออีเวนต์ไอทีปีนี้โดนหางเลขไปเต็มที่หนักที่สุดเป็น "คอมมาร์ต"ทำให้หนแรกของปีพลาดเป้า ถัดมาอีกหนปลายปี (6-9 พ.ย. 2557) แม้ปรับรูปแบบงานเพิ่มโซนเอสเอ็มอี และ "ดีไอวาย" เข้ามาก็ยังทำได้แค่ 2,900 ล้านบาท จากเป้า 3,000 ล้านบาท ปีหน้าจึงจะปรับโฉมแบบยกทิ้งของเดิมทั้งกระบิ สวนทาง "ไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป" (TMA) ที่แรงจากความนิยมในสมาร์ทดีไวซ์ถึงกับจัด 3 ครั้ง/ปี เพราะคนสนใจอยากซื้อหามาใช้อยู่แล้ว จึงเรียกทั้งคนและยอดขายได้สบาย

ต่างชาติตีปี๊บอีคอมเมิร์ซ

เป็น อีกธุรกิจที่เติบโตสวนทางธุรกิจอื่น สำหรับ "อีคอมเมิร์ซ" ทั้งในแง่จำนวนร้านค้า และยอดการซื้อขายสินค้า เพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ แต่เป็นรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาเปิดเกมบุกต่อเนื่อง ไม่ได้ปล่อยให้ ตลาดดอทคอม, วีเลิฟช็อปปิ้ง, โอแอลเอ็กซ์ (เว็บคลาสสิไฟล์)

กลุ่ม เว็บช็อปปิ้งต่างชาติที่มาแรงที่สุดหนีไม่พ้นลาซาด้า (lazada) และซาโลร่า (Zalora) ยิงโฆษณาถี่ยิบทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่อเนื่อง โดยสินค้าขายดีก็ไม่พ้นสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่น และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งยังเพิ่มความสะดวกให้ผู้บริโภคด้วยการเพิ่มวิธีชำระเงินกับพนักงานส่ง สินค้า

ฟากมังกรจีน "อาลีบาบา" ก็รุกเข้ามาเช่นกัน แต่โฟกัสที่ "เอสเอ็มอี และ ไป่ตู้"เป็นต้น ยังไม่รวมผู้ประกอบการในโลกออฟไลน์ที่ขยับมาลงออนไลน์ เช่น Shopat7 (เซเว่นอีเลฟเว่น), Outlet 24 ของกลุ่มเซ็นทรัล

"แอปแชต-เรียกแท็กซี่" บูม

อีก ปรากฏการณ์แห่งปี คือการเติบโตของแอปพลิเคชั่นแชต "ไลน์" ทั้งในแง่จำนวนคนใช้ที่มีกว่า 33 ล้านไอดี และการเพิ่มรูปแบบบริการใหม่ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นไลน์เกม, ไลน์ช็อป ล่าสุดไลน์ทีวี เรียกว่าเปิดเกมรุกอย่างหนัก ไม่นับการเปิด "ครีเอเตอร์มาร์เก็ต" ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปออกแบบสติ๊กเกอร์ขายได้เอง

ในสมรภูมิแอปแชตเริ่มมีขาใหญ่รายอื่นเข้ามา ได้แก่ "กาเกาทอล์ก" ซึ่งที่เกาหลีประเทศต้นกำเนิด

"กา เกา" เป็นเจ้าตลาดเหนือ "ไลน์" ด้วยจุดเด่น "สติ๊กเกอร์พูดได้" แอปพลิเคชั่นอีกประเภทที่แรงในช่วงปลายปี คือแอปเรียกแท็กซี่เนื่องจากเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค ทั้งบรรดาผู้ให้บริการ เช่น อีซี่แท็กซี่, แกร็บแท็กซี่ มีโปรโมชั่นจูงใจ เช่น แกร็บแท็กซี่ให้ส่วนลด 50 บาท ครั้งแรกที่ใช้บริการ แต่มามีปัญหากับแบรนด์ดัง "อูเบอร์" รายนี้อ้างว่าตัวเองไม่ได้เป็นแอปเรียกแท็กซี่ แต่เป็นแอปที่อำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางด้วยว่า รถในเครือข่ายของอูเบอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นแท็กซี่ ใครมีรถหรูอยากเป็นสารถีก็สมัครมาเป็นคนขับได้ทำให้ "กรมการขนส่งทางบก" ต้องออกโรงมาจัดการ แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้

เกมออนไลน์บุกมือถือ

ตั้งแต่ กลางปีเป็นต้นมามีผู้ให้บริการเกมออนไลน์หน้าใหม่ เข้ามาในตลาดบ้าง แต่ยังแรงจัดไม่เท่าเกมโมบายตามความฮอตของตลาดสมาร์ทดีไวซ์ ทำให้ยักษ์เกมออนไลน์หันมาลงสนามบ้าง ไม่นับว่าหน้าใหม่ที่โฟกัสเฉพาะโมบาย

ศูนย์ วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าปี 2557 คนเล่นโมบายเกมออนไลน์ในไทยจะพุ่งสูงถึง 14.0 ล้านคน มีมูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท ขยายตัวกว่า 20.2% จากผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตมีมากขึ้น ทำให้ค่ายเกมยักษ์ใหญ่บุกโมบายเกมมากขึ้น

เริ่มตั้งแต่ "เอเชียซอฟท์" เปิดตัวเกมออนไลน์พีซีป้อนตลาดต่อเนื่อง เช่น Yulgang 2 เกมภาคต่อ ก็ประกาศชัดว่าจะบุกตลาดโมบายเกม เริ่มจาก Ragnarok Mobile ฟาก "คิงซอฟท์" จากจีนเข้ามาเปิดสำนักงานในประเทศไทยและส่งเกม "จีอีโอ เพ็ทซาก้า" ลงตลาดโมบายเกมไทย

ฟาก "การีน่า" หลังประสบความสำเร็จในเกมฟีฟ่าออนไลน์ 3, League of Legends (LOL), Heroes of Newerth (HON) และ Point Blank ด้วยสมาชิกรวมกว่า 10 ล้านไอดี ก็ส่งโมบายเกม HEROES OF MIDWAR ลุยตลาดเช่นกัน

แวร์เอเบิลเริ่มแผลงฤทธิ์

เทรนด์คนรักสุขภาพมาแรง ส่งผลอุปกรณ์สำหรับผู้รักสุขภาพ "แวร์เอเบิลดีไวซ์" (Wareable Devices) ได้รับความสนใจ มีหลายค่ายหลายแบรนด์ส่งสินค้าลงตลาดคึกคัก ไม่เว้นแม้แต่ "นีโอลูชั่น" แฟรนไชส์เน็ตคาเฟ่ ที่นำแบรนด์ "รันทาสติก" เข้ามา

"ไกรรพ เหลืองอุทัย" ผู้บริหาร บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้แทนจำหน่าย "จีพีเอส" การ์มิน กล่าวว่า ตลาดแวร์เอเบิลดีไวซ์เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งในตลาดโลกมียอดขายถึง 8 ล้านชิ้น โตจากปีก่อน 350% โดยในเอเชียเติบโตมาก ขณะที่ยอดขายในไทยเพิ่มขึ้น 160% จากกระแสใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิ่งหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 222% ขณะที่ตลาดจักรยานมีมูลค่าถึง 5,000 ล้านบาท เพิ่มเกือบเท่าตัว

ว่ากันว่าปีหน้าจะยิ่งแรงจัด เพราะ "แอปเปิลวอตช์" จะเข้ามาลุยตลาด


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420033125

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.