Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 TRUE ระบุ เว็บไซต์ไอทรูมาร์ทที่เน้นขายสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีเป็นหลัก ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 290% หรือราว 1,000 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย/การซื้อสินค้าแต่ละครั้งอยู่ที่ 9,800 บาท

ประเด็นหลัก


นายทิวา ยอร์ค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีเอฟ มาร์เก็ตเพลส จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์คลาสซิฟาย www.olx.com ในเครือสนุกออนไลน์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยปี 2558 นี้ยังคงได้เห็นการเข้ามาทำตลาดมากขึ้นของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหม่จากต่างประเทศเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งเป็นเว็บไซต์คลาสซิฟาย เนื่องจากมีเป้าหมายในการทำธุรกิจแตกต่างกัน เพราะเว็บคลาสซิฟายเป็นเพียงตัวกลางให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาขาย ขณะที่เว็บอีคอมเมิร์ซอื่นเน้นรวบรวมสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ มาจำหน่ายให้ผู้บริโภคทั่วไป

ต่างชาติแห่บุกไทย

นอกจากนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา บริษัท Naspers ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลักของ OLX และบริษัท Schibsted ผู้ถือหุ้นหลักของเว็บไซต์ Kaidee.com ซึ่งเป็นเว็บคลาสซิฟายอีกแห่งที่เข้ามารุกตลาดในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ได้ทำบันทึกความตกลงร่วมกัน (MOU) ที่จะทำธุรกิจร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบเว็บไซต์คลาสซิฟายให้ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้งานปัจจุบัน และผู้ที่กำลังจะเข้ามาเป็นสมาชิกในอนาคต โดยจะร่วมกันใน 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถให้รายละเอียดใด ๆ ได้ แต่ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีขึ้น

ซีพีโยกโครงสร้างใหม่รับมือ

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนสในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ดูแลเว็บไซต์วีเลิฟช็อปปิ้ง, ไอทรูมาร์ท และทรูมันนี่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในปีนี้จะมีสีสันเพิ่มขึ้นแน่นอน ทั้งจากการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นมากจากการแข่งขันของผู้ให้บริการในไทยและต่างประเทศ รวมถึงการเปิดเกมรุกอีกครั้งของเว็บไซต์วีเลิฟช็อปปิ้ง (www.weloveshopping.com) ที่ได้ปรับโฉม และรูปแบบธุรกิจใหม่เปรียบเป็นอีเบย์ของไทย เป็นต้น หลังจากในองค์กรมีการปรับโครงสร้าง โยกธุรกิจอีบิสซิเนสจากกลุ่มทรูมาอยู่ในเครือซีพี เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

"อีบิสซิเนสของเราให้บริการกับทุกคน ไม่ใช่แค่ลูกค้าของทรู การมาอยู่กับซีพีจึงเพิ่มโอกาสมากขึ้น ปีนี้บริการแต่ละตัวในกลุ่มจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น วีเลิฟช็อปปิ้ง เดิมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่เปิดร้านค้าออนไลน์ก็จะปรับรูปแบบใหม่ เพราะการนำสินค้าไปขายบนออนไลน์วันนี้มักจะฟรี ถ้าเทียบโครงสร้างธุรกิจของเรากับระดับโลก วีเลิฟช็อปปิ้งเปรียบเป็นอีเบย์, ไอทรูมาร์ทเป็นอเมซอน, ทรูมันนี่เปรียบได้กับเพย์พาล ทั้งหมดจะเกื้อหนุนกัน"

และตนเชื่อว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปีนี้เติบโตขึ้นหลายเท่าตัว แต่ไม่สามารถระบุตัวเลข จากปัจจัยบวกหลายด้านทั้งการแข่งขันของผู้ประกอบการ ความนิยมของผู้บริโภค และช่องทางชำระเงินที่สะดวก มีความปลอดภัยมากขึ้น อย่างเว็บไซต์ไอทรูมาร์ทที่เน้นขายสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีเป็นหลัก เมื่อมีการทำโปรโมชั่นด้วยการโฆษณาทีวีทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 290% หรือราว 1,000 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย/การซื้อสินค้าแต่ละครั้งอยู่ที่ 9,800 บาท









_____________________________________________________















ตบเท้าบุกอีคอมเมิร์ซ-สงครามโปรโมชั่นปะทุหนัก


ขาใหญ่อีคอมเมิร์ซไทยมองเทรนด์ปี 2558 ฟันธงยักษ์ต่างชาติตบเท้าลงสนามคึกคักดันมูลค่าตลาดโตฉุดไม่อยู่ เว็บคลาสซิฟายดัง "OLX" จูบปากน้องใหม่ "Kaidee" พัฒนาระบบร่วมกันยุติศึกแข่งดุ ฟาก "วีเลิฟช็อปปิ้ง" จัดกระบวนรบใหม่ผนึกเครือข่ายอีบิสซิเนสในเครือเพิ่มโอกาสธุรกิจ ขณะที่ "ตลาดดอทคอม" คาดสงครามโปรโมชั่นปะทุหนักลามธุรกิจโลจิสติกส์ชิงเค้ก "ไปรษณีย์ไทย"

นายทิวา ยอร์ค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีเอฟ มาร์เก็ตเพลส จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์คลาสซิฟาย www.olx.com ในเครือสนุกออนไลน์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยปี 2558 นี้ยังคงได้เห็นการเข้ามาทำตลาดมากขึ้นของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหม่จากต่างประเทศเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งเป็นเว็บไซต์คลาสซิฟาย เนื่องจากมีเป้าหมายในการทำธุรกิจแตกต่างกัน เพราะเว็บคลาสซิฟายเป็นเพียงตัวกลางให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาขาย ขณะที่เว็บอีคอมเมิร์ซอื่นเน้นรวบรวมสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ มาจำหน่ายให้ผู้บริโภคทั่วไป

ต่างชาติแห่บุกไทย

นอกจากนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา บริษัท Naspers ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลักของ OLX และบริษัท Schibsted ผู้ถือหุ้นหลักของเว็บไซต์ Kaidee.com ซึ่งเป็นเว็บคลาสซิฟายอีกแห่งที่เข้ามารุกตลาดในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ได้ทำบันทึกความตกลงร่วมกัน (MOU) ที่จะทำธุรกิจร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบเว็บไซต์คลาสซิฟายให้ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้งานปัจจุบัน และผู้ที่กำลังจะเข้ามาเป็นสมาชิกในอนาคต โดยจะร่วมกันใน 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถให้รายละเอียดใด ๆ ได้ แต่ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีขึ้น

ซีพีโยกโครงสร้างใหม่รับมือ

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนสในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ดูแลเว็บไซต์วีเลิฟช็อปปิ้ง, ไอทรูมาร์ท และทรูมันนี่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในปีนี้จะมีสีสันเพิ่มขึ้นแน่นอน ทั้งจากการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นมากจากการแข่งขันของผู้ให้บริการในไทยและต่างประเทศ รวมถึงการเปิดเกมรุกอีกครั้งของเว็บไซต์วีเลิฟช็อปปิ้ง (www.weloveshopping.com) ที่ได้ปรับโฉม และรูปแบบธุรกิจใหม่เปรียบเป็นอีเบย์ของไทย เป็นต้น หลังจากในองค์กรมีการปรับโครงสร้าง โยกธุรกิจอีบิสซิเนสจากกลุ่มทรูมาอยู่ในเครือซีพี เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

"อีบิสซิเนสของเราให้บริการกับทุกคน ไม่ใช่แค่ลูกค้าของทรู การมาอยู่กับซีพีจึงเพิ่มโอกาสมากขึ้น ปีนี้บริการแต่ละตัวในกลุ่มจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น วีเลิฟช็อปปิ้ง เดิมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่เปิดร้านค้าออนไลน์ก็จะปรับรูปแบบใหม่ เพราะการนำสินค้าไปขายบนออนไลน์วันนี้มักจะฟรี ถ้าเทียบโครงสร้างธุรกิจของเรากับระดับโลก วีเลิฟช็อปปิ้งเปรียบเป็นอีเบย์, ไอทรูมาร์ทเป็นอเมซอน, ทรูมันนี่เปรียบได้กับเพย์พาล ทั้งหมดจะเกื้อหนุนกัน"

และตนเชื่อว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปีนี้เติบโตขึ้นหลายเท่าตัว แต่ไม่สามารถระบุตัวเลข จากปัจจัยบวกหลายด้านทั้งการแข่งขันของผู้ประกอบการ ความนิยมของผู้บริโภค และช่องทางชำระเงินที่สะดวก มีความปลอดภัยมากขึ้น อย่างเว็บไซต์ไอทรูมาร์ทที่เน้นขายสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีเป็นหลัก เมื่อมีการทำโปรโมชั่นด้วยการโฆษณาทีวีทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 290% หรือราว 1,000 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย/การซื้อสินค้าแต่ละครั้งอยู่ที่ 9,800 บาท

ฟันธงแข่งทุ่มงบฯ การตลาด

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ เว็บไซต์ราคูเท็น ตลาดดอทคอม กล่าวว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2558 มีโอกาสเติบโต 35-40% จากปีที่ผ่านมา และจะมีกลุ่มทุนจากสิงคโปร์และยุโรป 15-20 ราย รวมถึงธุรกิจออนไลน์จากต่างประเทศที่เป็นระดับภูมิภาคเข้ามาในไทยด้วย โดยเน้นเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม และเปิดเว็บรวมในรูปแบบเดียวกับห้างสรรพสินค้า

"สิ่งที่จะได้เห็นในปี 2558 คือ การแข่งกันทุ่มงบฯการตลาด ออกโปรโมชั่นลดราคาอย่างดุเดือด เพื่อสร้างฐานลูกค้า มีการดัมพ์ราคาสินค้าจนอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในวงการอีคอมเมิร์ซ คล้าย ๆกรณีเว็บกรุ๊ปดีลที่ต้องล้มหายตายจากภายในระยะเวลาไม่นาน 2-3 ปี โดยเฉพาะรายเล็กและเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้จึงจะได้เห็นการทำอีคอมเมิร์ซที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แข่งขันไม่สูงมาก แต่มีกำลังซื้อสูง"

ผู้ผลิตใช้ออนไลน์เจาะขายตรง

สิ่งที่เป็นแนวโน้มสำคัญที่จะได้เห็นคือ การที่บรรดาแบรนด์สินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ใช้ช่องทางออนไลน์เจาะตลาดขายตรงโดยไม่พึ่งดีลเลอร์หรือพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตสินค้าของโลก ทำให้ตั้งราคาขายถูกกว่าตลาด และมีกำไรเพิ่มขึ้น ตัวอย่างคือสมาร์ทโฟนเซียวมี่ (Xiaomi) ของจีนที่สเป็กเท่า "ไอโฟน" แต่ราคาถูกกว่ามาก เพราะใช้ออนไลน์ ทำให้สินค้าของเซียวมี่ขายหมดเพียงไม่กี่วินาที กลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลกภายในไม่กี่ปีรวมถึงหัวเว่ยที่ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 จึงเป็นแนวโน้มของธุรกิจและการค้าทั่วโลก

นอกจากนี้ ยังได้เห็นการแข่งขันแบบดุเดือดของบริษัทบริหารสินค้า และการจัดส่งทั้งในและต่างประเทศ เข้ามาขยายบริการรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ จากที่เคยมีไปรษณีย์ไทยเป็นผู้ให้บริการสำคัญ โดยเฉพาะการขยายช่องทางให้เก็บเงินปลายทางได้ (Cash on Delivery) ซึ่งคนไทยนิยมใช้ช่องทางนี้เพราะเห็นของก่อนจ่ายเงินเสริมเครือข่ายโลจิสติกส์

"โลจิสติกส์เอกชนทุกเจ้าแข่งทั้งราคาและคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์โพสต์, เคอร์รี่ โลจิสติกส์จากฮ่องกง, ซีเจ โลจิสติกส์จากเกาหลีใต้, เอคอมเมิร์ซ และไทเกอร์ในเครือสหพัฒน์เข้ามาตอบโจทย์ผู้ค้าออนไลน์" นายภาวุธกล่าว

ด้านนายริคคาร์โด บาซิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ลาซาด้า (www.Lazada.co.th) กล่าวว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยเติบโตอย่างมากจากการใช้สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ปีที่ผ่านมามีการเข้าถึงเว็บไซต์ลาซาด้าในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ช, แอปพลิเคชั่น และผ่านหน้าเว็บไซต์เพิ่ม 40% บริษัทจะเพิ่มกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น จากที่ผ่านมาสินค้ายอดนิยมเป็นกลุ่มเครื่องสำอาง, เครื่องใช้ในครัวเรือน และสมาร์ทดีไวซ์


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420352096

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.