Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มกราคม 2558 รองนายกรัฐมนตรี.ปรีดิยาธร ระบุ จะเตรียมวางรากฐานเศรษฐกิจไทยสู่ "ดิจิตอล อีโคโนมี" ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที โดยจะทำให้เห็นรูปร่างให้ได้ภายใน 1 ปี

ประเด็นหลัก


++รองนายกฯยอมรับเป็นงานยาก
    ที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร  ให้สัมภาษณ์ถึงกรอบการทำงานด้านเศรษฐกิจ ในวันแรก (15 ก.ย. 57) ของการเดินทางเข้าทำงานที่ทำเนียบอย่างเป็นทางการ ว่า จะเตรียมวางรากฐานเศรษฐกิจไทยสู่ "ดิจิตอล อีโคโนมี" ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที  มีความสำคัญ เชื่อมโยงกับทุกหน่วยงาน ในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่เวลานี้มีการขยายตัวมากขึ้น  และต่างชาติให้ความสนใจ  โดยจะทำให้เห็นรูปร่างให้ได้ภายใน 1 ปี
    "เรื่องที่ยากที่สุดคือส่วนของดิจิตอล อีโคโนมี ซึ่งเดิมเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรม เกษตร การเงิน การค้าและบริการ แต่ปัจจุบันนี้เพิ่มเศรษฐกิจดิจิตอลขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แต่มีมากกว่านั้น คือเป็นพื้นฐานให้เศรษฐกิจภาคอื่นขยายตัวต่อไปได้ เช่น ภาคธนาคาร ถ้าไม่มีดิจิตอลเข้าไปก็ไม่สามารถโตได้ เราจึงต้องสร้างดิจิตอล อีโคโนมี เพื่อเข้าไปรองรับการขยายตัวของฐานอื่น ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญมาก เราอาจช้าแต่ก็ไม่ช้าเกินไป จึงต้องวางฐานให้ดีที่สุดภายใน 1 ปี"


_____________________________________________________
















2558 ได้เวลา ขับเคลื่อนประเทศ ตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล




 เริ่มศักราชใหม่ 2558 นับจากนี้ไป "ดิจิตอล อีโคโนมี" จะกลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุด หลังจากในช่วงปี2557 ที่ผ่านมารัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศนโยบายการสร้างประเทศไทยเข้าสู่ "ดิจิตอล อีโคโนมี"  โดยขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อทำให้การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เริ่มต้นด้วยการปฏิรูปกระทรวงไอซีที พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตามที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจรายงานมาเป็นระยะ)
   alt โดยที่การเปลี่ยนชื่อกระทรวงในครั้งนี้ จะมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล 13 ฉบับ พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล และปรับเปลี่ยนชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มาเป็น "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" เพื่อทำหน้าที่ในการประสานนโยบายเศรษฐกิจกับเศรษฐกิจดิจิตอลเข้าไว้ด้วยกัน
++จุดเริ่ม"เศรษฐกิจดิจิตอล"
    นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้มอบหมายให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยจุดกำเนิดของนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลครั้งนี้ เกิดจากการผลักดันของหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ  ประธานกรรมการหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย   ซึ่งภายใต้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมีคณะกรรมการธุรกิจไอซีที รวมอยู่ด้วย
     ได้จัดทำยุทธศาสตร์นำเสนอต่อสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ได้ประมาณการมูลค่าธุรกิจไอซีที ปี 2556 มีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจ Telecommunications (ประกอบด้วยโทรศัพท์พื้นฐาน- เคลื่อนที่-อินเตอร์เน็ต - กิจการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต) จำนวน 5 แสนล้านบาท , ธุรกิจ บรอดแคสติ้ง จำนวน 1 แสนล้านบาท, ธุรกิจ IT (Information Technology) จำนวน 1 แสนล้านบาท
    ธุรกิจ Digital Contents จำนวน 5 หมื่นล้านบาท, ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ ธุรกิจ Digital Marketing จำนวน 1 หมื่นล้านบาท  รวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ ประมาณ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
    และนั่นจึงเป็นที่มาที่ หอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าว ผ่าน ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ์  ประธานคณะกรรมการธุรกิจไอซีที  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีอยู่จำนวน 30 คน
++รองนายกฯยอมรับเป็นงานยาก
    ที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร  ให้สัมภาษณ์ถึงกรอบการทำงานด้านเศรษฐกิจ ในวันแรก (15 ก.ย. 57) ของการเดินทางเข้าทำงานที่ทำเนียบอย่างเป็นทางการ ว่า จะเตรียมวางรากฐานเศรษฐกิจไทยสู่ "ดิจิตอล อีโคโนมี" ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที  มีความสำคัญ เชื่อมโยงกับทุกหน่วยงาน ในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่เวลานี้มีการขยายตัวมากขึ้น  และต่างชาติให้ความสนใจ  โดยจะทำให้เห็นรูปร่างให้ได้ภายใน 1 ปี
    "เรื่องที่ยากที่สุดคือส่วนของดิจิตอล อีโคโนมี ซึ่งเดิมเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรม เกษตร การเงิน การค้าและบริการ แต่ปัจจุบันนี้เพิ่มเศรษฐกิจดิจิตอลขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แต่มีมากกว่านั้น คือเป็นพื้นฐานให้เศรษฐกิจภาคอื่นขยายตัวต่อไปได้ เช่น ภาคธนาคาร ถ้าไม่มีดิจิตอลเข้าไปก็ไม่สามารถโตได้ เราจึงต้องสร้างดิจิตอล อีโคโนมี เพื่อเข้าไปรองรับการขยายตัวของฐานอื่น ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญมาก เราอาจช้าแต่ก็ไม่ช้าเกินไป จึงต้องวางฐานให้ดีที่สุดภายใน 1 ปี"
++ ผ่านร่างกฎหมาย 2 ฉบับ
    แม้ว่าจะไม่ง่ายอย่างที่คิดกับการวางรากฐานเศรษฐกิจไทยสู่ "ดิจิตอล อีโคโนมี"แต่มีประเด็นหนึ่งที่ทำให้มองเห็นว่ารัฐบาลกำลังปูทางไปสู่จุดหมายที่วางไว้  เมื่อปลายปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ พ.ศ.  ... และ ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ... รวม 2 ฉบับตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้ยื่นเรื่องเข้าไป
    โดยร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่ปรับปรุงแก้ไข นั้นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.... โดยมีข้อกำหนดให้ มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธานกรรมการ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลใน ด้านต่าง ๆ ตัวแทนคณะกรรมการบริหารของหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องโดยตรงกับขอบเขตการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลใน 5 ด้าน
++ตั้งคณะทำงาน 5 ด้าน
    ทั้งยังกำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ อันได้แก่ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge ซึ่งมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการแล้วแต่กรณี และมีตัวแทนคณะกรรมการบริหารและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชนและ รัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลในคณะกรรมการเฉพาะด้านที่หน่วยงานมีภารกิจเกี่ยวข้อง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกรรมการหรือเลขานุการของคณะ กรรมการเฉพาะด้านทุกชุด
    กำหนดกลไกการติดตามและประเมินผลที่มีความเข้มขัน เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานของรัฐสามารถตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ตามแผนระดับชาติว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิตอลที่กำหนดไว้ รวมทั้งดูแลให้ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลในแต่ละด้านดำเนินการอย่างเป็น ระบบและโครงการแต่ละโครงการที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนดำเนินการจะต้องส่งเสริมการทำงาน ซึ่งกันและกัน
++ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
    นอกจากนี้กำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่ง เปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ที่มีมิติของภารกิจและความรับผิดชอบเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม ซึ่งจะช่วยเน้นย้ำให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้าใจในบทบาทภารกิจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยิ่งขึ้น
    ไม่เพียงเท่านี้แบ่งส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกเป็น 5 ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งจะมีการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในเพื่อให้สอดคล้องกับการ พัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการเฉพาะด้านจำนวน 5 ด้าน
++ชื่อใหม่กระทรวงเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล"
    นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที  กล่าวว่า สำหรับการปรับโครงสร้างกระทวงไอซีทีนั้น ได้มีข้อเสนอแนะการใช้คำและการเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่จากทาง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ทางกระทรวงไอซีที จึงมีความเห็นคล้อยตามในการเปลี่ยนชื่อใหม่กระทรวงจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม เป็นกระทรวงเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
    โดยที่การจัดตั้งคณะกรรมการชุดชั่วคราวขึ้นมาขับ เคลื่อนนโยบายดิจิตอลอีโคโนมี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งจะเป็นการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานที่เกี่ยวกับดิจิตอลอีโคโนมี ก่อนกระบวนการจัดทำ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ... จะแล้วเสร็จ
++TFIT หนุนนโยบาย
    ด้านนายวิชัย เบญจรงคกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด และ ในฐานะประธานสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แนวนโยบายในการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัล เศรษฐกิจ และ สังคม ของรัฐบาลชุดนี้เป็นนโยบายที่ดี และขอให้ความสำคัญกับภาคเอกชนมากๆ งานนี้ต้องเน้น ความร่วมมือภาคเอกชนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาโครงข่ายและกิจการมาก ๆ
    นอกจากนี้ทาง TFIT   ในฐานะตัวแทนสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 20 สมาคม  ได้ทำจดหมายเรื่อง ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล( Digital Economy) เสนอไปยัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร และนายพรชัย  โดยข้อเสนอดังกล่าวมีทั้งหมดด้วยกัน 4 ด้านประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยรัฐต้องผลักดันให้มีโครงข่าย Broadband ทั้งแบบสายและไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่/จำนวนประชากรสามารถเข้าถึงบริการ เชื่อมการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 30MB ครอบคลุม 90% ของจำนวนพื้นที่อยู่อาศัยของประชากรภายในปี 2559 และปรับเป็น 100 MB  และครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่า 95% ในปี 2563
    ทั้งนี้ยังเสนอให้ใช้โครงข่ายการสื่อสารร่วมกันอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค  ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนประหยัดการรั่วไหลของเงินไปต่างประเทศได้อย่างน้อย 15% ในปี 2559 รวมทั้งการเสนอสร้าง International Gateway เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการสร้างเครือข่ายใยแก้วใต้ทะเลเชื่อมโยง กับปลายทางอีก 5 เครือข่ายภายใน 5 ปี โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการส่งข้อมูลความเร็วสูงใน ภูมิภาค AEC
    ส่วนข้อเสนอที่ 2 คือ ด้านธุรกิจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการเสนอ อาทิ การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบรวมทั้งผลักดันให้เติบโต ในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นการรวบรวมผู้ประกอบเพิ่มขึ้นจาก 50,000 รายเป็น 80,000 ราย  เพื่อเพิ่มมูลค่าตลาดเกมในประเทศไทยเป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2560
    ข้อเสนอที่ 3 ด้านการพัฒนาบุคลากร เสนอให้ภาครัฐจัดงบพัฒนาบุคลากร สร้างมาตรฐานวิชาชีพนักไอซีที สร้างมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร พร้อมส่งเสริมบุคลากรสร้างสรรค์โดยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมโครงการสร้างสรรค์ 5,000 ล้านบาทในปี2559 รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลดิจิทัลแห่งชาติภายใน ปี2560
    และข้อเสนอที่ 4 ภาครัฐ การมุ่งเป้าหมายพัฒนาสู่รัฐบาลดิจิตอลเพื่อลดความซับซ้อนและเพิ่ม ประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องดำเนินการไม่ว่าจะเป็น การปรับกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิตอล พัฒนาบุคลากร การปรับกฎหมาย กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำงานแบบดิจิตอล โดยผลักดันให้ออกกฎหมายและระเบียบต่างๆให้แล้วเสร็จภายในปี2559
    จึงเป็นที่น่าจับตาว่า ในปี 2558 การปรับเปลี่ยนอนาคตใหม่ประเทศไทย เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาจะเกิดขึ้นชัดเจนอย่างที่คาดหวังไว้หรือไม่
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,015  วันที่  4 - 7 มกราคม  พ.ศ. 2558


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=260108:2558---&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VKvOz8ZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.