Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 มกราคม 2558 DTAC.ซิคเว่ ระบุ กสทช. ต้องเป็นองค์กรอิสระนั้น ถือได้ว่าประเทศไทยพัฒนามาไกลแล้วและสอด คล้องตามหลักการการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม

ประเด็นหลัก


ด้านนายซิคเว่ เบรกเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ด้วยโครงสร้างปัจจุบันที่ กสทช.เป็นองค์กรอิสระนั้น ถือได้ว่าประเทศไทยพัฒนามาไกลแล้วและสอด
คล้องตามหลักการการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม ซึ่งกำหนดให้เป็นการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแล (independent regulator) อันถือเป็นหลักปฏิบัติสากลที่ประเทศชั้นนำทั่วโลกต่างยึดถือ

“ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องกระทำคือการมุ่งพัฒนากลไกการทำงานขององค์กรอิสระให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีระบบการตรวจสอบที่รัดกุม แทนที่จะปรับเปลี่ยนไปจากการเป็นองค์กรอิสระ ส่วนประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ที่ระบุว่า ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการคัดเลือกนั้น ดีแทคเห็นว่าการประมูลเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะมั่นใจได้ว่าคลื่นความถี่ที่ถือว่าเป็นทรัพยากรจะถูกจัดสรรให้กับผู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด นี่จึงเป็นหลักการที่ประเทศส่วนใหญ่เลือกใช้การประมูล”

นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากร่าง พ.ร.บ.กสทช.ดังกล่าว จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการจัดประมูล 4 จี และก่อนที่ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะประกาศบังคับใช้ ภาครัฐควรเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดีแทคก็พร้อมยินดีเข้าร่วมอย่างเต็มที่.








_____________________________________________________
















"ดีแทค" ย้ำกสทช.ต้องอิสระ


“ซิคเว่” เผยจัดสรรคลื่นใช้วิธีประมูลดีที่สุด

“ไอซีที” ระบุอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการพาณิชย์ยังอยู่ในมือกสทช.ที่จะตัดสินใจว่าใช้วิธีประมูลหรือคัดเลือก ย้ำ 4 จีเดินหน้าตามแผน “ซิคเว่ ณ ดีแทค” เผยความเป็นอิสระของ กสทช.เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นหลักสากล ส่วนการจัดสรรคลื่นควรใช้วิธีประมูลเท่านั้น เพราะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายพรชัย รุจิประภา รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า จากการแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) โดยมีประเด็นสาระสำคัญเรื่องคลื่นความถี่ ซึ่งกฎหมายฉบับเดิมระบุว่าคลื่นต้องประมูลเท่านั้น ส่วนกฎหมายฉบับแก้ไข ให้เปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคัดเลือก ซึ่งอาจรวมถึงการคัดเลือกโดยพิจารณาโดยดูที่คุณสมบัติ (บิวตี้คอนเทสต์) นั้นถือเป็นการระบุไว้เพื่อความชัดเจนว่าคลื่นทุกคลื่นไม่จำเป็นต้องประมูล ขณะที่หน่วยงานราชการก็ไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้หรือมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล แต่ไม่สามารถแข่งขันเคาะราคาสู้เอกชนได้

ดังนั้นคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงจะเป็นผู้พิจารณาแผนบริหารคลื่นความถี่ ว่าคลื่นใดเป็นคลื่นเพื่อความมั่นคงและเพื่อสังคม และคลื่นใดเพื่อบริการเชิงพาณิชย์ ซึ่งคลื่นเพื่อบริการเชิงพาณิชย์นั้นเป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่วน กสทช.จะใช้วิธีการคัดเลือกหรือวิธีการประมูล ก็ขึ้นอยู่กับ กสทช.ที่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขให้ชัดเจน จากเดิมที่การจัดสรรคลื่นต้องเปิดประมูลเท่านั้น

สำหรับการประมูล 4 จีนั้น กสทช.สามารถเดินหน้าเตรียมการประมูลต่อไป เพราะคลื่นความถี่เพื่อบริการเชิงพาณิชย์นั้นถือเป็นอำนาจของกสทช.ที่จะดำเนินการได้เอง ในส่วนของกระทรวงไอซีที ไม่สามารถที่จะไปสั่งชะลอหรือให้ยุติการประมูลได้ เพราะยังคงเป็นการดำเนินการภายใต้พ.ร.บ.กสทช.ฉบับเดิม ถึงแม้ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ กสทช.ก็ยังคงมีสิทธิ์ที่จะใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่หรือใช้วิธีการคัดเลือก ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กสทช.

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะระบุได้อย่างชัดเจนว่า จะใช้วิธีการคัดเลือกหรือวิธีการประมูลคลื่นความถี่ เมื่อ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจาก กสทช.ต้องพิจารณาข้อดี-ข้อเสียของการใช้วิธีการคัดเลือกก่อน อีกทั้งต้องทำความเข้าใจว่าวิธีการคัดเลือกนั้นจะต้องมีความโปร่งใส และประชาชนจะต้องได้ประโยชน์จริงๆ

“การแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.ถูกพูดถึงกันมาก และดูเหมือนว่าจะเข้าใจผิดกันในหลายประเด็น ทั้งๆที่ผ่านเพียงหลักการจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เท่านั้น ซึ่งตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน เพราะฉะนั้นกฎหมายยังมีโอกาสปรับปรุงอีกหลายมาตรา ดังนั้นกสทช.จึงยังมีโอกาสที่จะชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อทำความเข้าใจ หากกฎหมายระบุว่าให้ใช้วิธีการคัดเลือก ก็ขอให้ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องโปร่งใส ประชาชนได้ประโยชน์ และสามารถตอบคำถามสังคมได้”

นายฐากรกล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายฉบับใหม่ ยังไม่มีผลบังคับใช้ กสทช.ก็ต้องดำเนินงานตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปจนกว่าจะครบ 1 ปีในวันที่ 19 ก.ค. 2558 ที่สั่งให้ชะลอการประมูล 4 จีออกไปก่อน แต่เพื่อให้การประมูล 4 จีสามารถเดินหน้าประมูลได้ทันที

เมื่อครบกำหนด กสทช.จึงได้ทำหนังสือถึง คสช. เพื่อขอเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) โดยการประมูล 4 จีต้องใช้เวลาเตรียมการ 5-6 เดือน

ด้านนายซิคเว่ เบรกเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ด้วยโครงสร้างปัจจุบันที่ กสทช.เป็นองค์กรอิสระนั้น ถือได้ว่าประเทศไทยพัฒนามาไกลแล้วและสอด
คล้องตามหลักการการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม ซึ่งกำหนดให้เป็นการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแล (independent regulator) อันถือเป็นหลักปฏิบัติสากลที่ประเทศชั้นนำทั่วโลกต่างยึดถือ

“ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องกระทำคือการมุ่งพัฒนากลไกการทำงานขององค์กรอิสระให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีระบบการตรวจสอบที่รัดกุม แทนที่จะปรับเปลี่ยนไปจากการเป็นองค์กรอิสระ ส่วนประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ที่ระบุว่า ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการคัดเลือกนั้น ดีแทคเห็นว่าการประมูลเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะมั่นใจได้ว่าคลื่นความถี่ที่ถือว่าเป็นทรัพยากรจะถูกจัดสรรให้กับผู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด นี่จึงเป็นหลักการที่ประเทศส่วนใหญ่เลือกใช้การประมูล”

นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากร่าง พ.ร.บ.กสทช.ดังกล่าว จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการจัดประมูล 4 จี และก่อนที่ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะประกาศบังคับใช้ ภาครัฐควรเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดีแทคก็พร้อมยินดีเข้าร่วมอย่างเต็มที่.





http://www.thairath.co.th/content/473650

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.