Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 มกราคม 2558 (บทความ) 'ทีวีดิจิตอล' มา 'เคเบิลทีวี' สะเทือน // กลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่เทียบระหว่างปี 2014 กับ 2013 พบว่า ลดลงไปถึง 38% หรือจาก 1 หมื่นล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 6.7 พันล้านบาท โดยงบที่ถูกเฉือนไปนั้นถูกโยกไปสู่สื่อใหม่อย่างทีวีดิจิตอลแทบทั้งสิ้น

ประเด็นหลัก

  altจากตารางแรก เป็นงบการซื้อโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนของปี 2013 และปี 2014 จะเห็นว่า งบการซื้อโฆษณาในปี 2014 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2013 ของกลุ่มโทรทัศน์ตกลงไป 8% หรือจาก 6.4 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งการลดลงนั้นมีเหตุผลมาจากภาวะความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงต้นปี และการเข้ามาของทีวีดิจิตอลที่แย่งส่วนแบ่งไปพอสมควร เช่นเดียวกับกลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่เทียบระหว่างปี 2014 กับ 2013 พบว่า ลดลงไปถึง 38% หรือจาก 1 หมื่นล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 6.7 พันล้านบาท โดยงบที่ถูกเฉือนไปนั้นถูกโยกไปสู่สื่อใหม่อย่างทีวีดิจิตอลแทบทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมโฆษณาอย่างทีวีดิจิตอลมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยในปีแรกมีรายได้ราว 9.5 พันล้านบาทหรือมีส่วนแบ่ง 8% ของทั้งอุตสาหกรรมโฆษณา ที่มีอยู่ราว 1.15 แสนล้านบาท



_____________________________________________________
















'ทีวีดิจิตอล' มา 'เคเบิลทีวี' สะเทือน




กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี / อรรณพ ดวงมณี


ตลอดปี 2014 ที่ผ่านมา เรื่องที่คึกคักที่สุดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมโฆษณาก็คือ การเข้ามาของทีวีดิจิตอลซึ่งได้ส่งผลกระทบถึงงบโฆษณาที่ต้องถูกโยกจากสื่ออื่นๆ ไปลงในทีวีดิจิตอลแทน โดยสื่อที่ถูกกระทบ และโดนเฉือนงบมากที่สุดก็คือ กลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม แต่จะมากหรือน้อยแค่ไหน ทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative ได้นำข้อมูลมาให้แฟนคอลัมน์ I Connect ได้อ่านกัน
    altจากตารางแรก เป็นงบการซื้อโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนของปี 2013 และปี 2014 จะเห็นว่า งบการซื้อโฆษณาในปี 2014 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2013 ของกลุ่มโทรทัศน์ตกลงไป 8% หรือจาก 6.4 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งการลดลงนั้นมีเหตุผลมาจากภาวะความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงต้นปี และการเข้ามาของทีวีดิจิตอลที่แย่งส่วนแบ่งไปพอสมควร เช่นเดียวกับกลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่เทียบระหว่างปี 2014 กับ 2013 พบว่า ลดลงไปถึง 38% หรือจาก 1 หมื่นล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 6.7 พันล้านบาท โดยงบที่ถูกเฉือนไปนั้นถูกโยกไปสู่สื่อใหม่อย่างทีวีดิจิตอลแทบทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมโฆษณาอย่างทีวีดิจิตอลมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยในปีแรกมีรายได้ราว 9.5 พันล้านบาทหรือมีส่วนแบ่ง 8% ของทั้งอุตสาหกรรมโฆษณา ที่มีอยู่ราว 1.15 แสนล้านบาท
alt    มาดูกันว่า ในงบ 9,581 ล้านบาทของทีวีดิจิตอลนั้นได้มาจากกลุ่มธุรกิจประเภทไหนกันบ้าง จากกราฟจะเห็นว่า กลุ่มธุรกิจสื่อสารนำมาเป็นอันดับแรกด้วยงบ 1.2 พันล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ใช้ไป 1 พันล้านบาท อันดับสามคือ กลุ่มธุรกิจบันเทิงใช้งบ 674 ล้านบาท ในส่วนของกลุ่มธุรกิจยานยนต์ใช้ไป 513 ล้านบาทเป็นอันดับ 4 และอันดับ 5 คือ กลุ่ม Public Service  ที่ใช้อยู่ 498 ล้านบาท
    อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า รายได้ของกลุ่มทีวีดิจิตอลนั้นเป็นก้อนที่ถูกโยกมาจากกลุ่มโทรทัศน์ และกลุ่มเคเบิลทีวีกับทีวีดาวเทียมเป็นหลัก ดังนั้น ทีมงานจึงขอนำข้อมูลของทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านรายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  alt  จากการเปรียบเทียบการใช้งบซื้อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ระหว่างปี 2013 และปี 2014 ของกลุ่มธุรกิจประเภทต่างๆ จะเห็นว่า มีเพียง 2 กลุ่มธุรกิจที่มีการใช้งบสูงกว่าปี 2013 นั่นคือ กลุ่ม Skincare ปี 2013 ใช้ไป 5,856 ล้านบาท ในปี 2014 ใช้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 5,883 ล้านบาท และกลุ่ม Public Service ที่มีการใช้ในปี 2013 อยู่ที่ 3,162 ล้านบาท เพิ่มมาไม่มากนักเป็น 3,672 ล้านบาทในปี 2014 ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มธุรกิจยานยนต์ กลุ่มธุรกิจสื่อสาร กลุ่มผลิตภัณฑ์นมและแปรรูปจากนม กลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ล้วนแต่ลดงบโฆษณาทางโทรทัศน์ลงทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้งบการซื้อสื่อโฆษณาในโทรทัศน์ปี 2014 หายไปราว 8% หรือราว 6 พันล้านบาทจากปี 2013 โดยงบบางส่วนถูกโยกไปโฆษณาในทีวีดิจิตอลแทน
  alt  มาถึงกลุ่มที่กระทบกับการมาของทีวีดิจิตอลมากที่สุดคือ กลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม จะเห็นได้ว่า รายได้จากในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจบันเทิง กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิว กลุ่มธุรกิจสื่อสาร กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาด และดูแลเสื้อผ้า ฯลฯ ต่างลดลงทั้งหมดโดยในภาพรวมรายได้ของกลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมในปี 2014 ลดลงจากปี 2013 ถึง 38% หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 4,076 ล้านบาท ซึ่งงบก้อนนี้คาดว่าได้ถูกโยกไปสู่ทีวีดิจิตอลเนื่องเพราะกลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมรายใหญ่ๆ ได้ย้ายฟากมาร่วมวงไพบูลย์กับทีวีดิจิตอลแล้วดึงงบโฆษณาตามมาด้วยนั่นเอง
    จากข้อมูลที่กล่าวมา สื่อที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดจากการคืบเข้ามาของดิจิตอลทีวีก็คือ กลุ่มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่เหลืออยู่ ซึ่งหากกลุ่มธุรกิจนี้ต้องการอยู่รอดในสมรภูมิที่กำลังจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามการกระจายพื้นที่การรับชมของทีวีดิจิตอลคงจะอยู่เฉยไม่ได้ต้องเร่งหากลยุทธ์ทางการตลาด และสรรหารายการที่สามารถดึงดูดกลุ่มสมาชิกเดิม และเพิ่มเติมกลุ่มคนใหม่ๆ ก่อนจะถูกกลืนไปในที่สุด





จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,017  วันที่  11 - 14  มกราคม  พ.ศ. 2558

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=260906:2015-01-09-00-50-09&catid=246:-i-connect&Itemid=456#.VLJ8z8ZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.