Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มกราคม 2558 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างกฎหมาย 10 ฉบับ ตั้ง 12 หน่วยงานใหม่ เปลี่ยนโฉมโครงสร้างการกำหนดและกำกับนโยบาย ICT โดย หน่วยงานจำนวนมากที่จะจัดตั้งใหม่ ถูกกำหนดให้จัดตั้งเป็น “หน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ”

ประเด็นหลัก



คณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตั้งใหม่)
กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตั้งใหม่ โดยยกเลิกกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ตาม พ.ร.บ.กสทช.เดิม โดยในโครงสร้างใหม่รายได้จากค่าใบอนุญาต-ค่าธรรมเนียม หลังหักค่าใช้จ่าย จะนำส่งกองทุนพัฒนาดิจิทัล 50% และที่เหลือนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน)
สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตั้งใหม่)
ข้อสังเกตเบื้องต้น

หน่วยงานจำนวนมากที่จะจัดตั้งใหม่ ถูกกำหนดให้จัดตั้งเป็น “หน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ” — เป็นที่คาดว่ารายได้ของหน่วยงานจะไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเป็นไปได้ว่า “เจ้าหน้าที่” ของนิติบุคคลดังกล่าวอาจไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 (“มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”)
การปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกดูแลโดยหน่วยงานเดียวกัน คือ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ — ทำให้มีคำถามถึงการตรวจสอบคานอำนาจเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยมิชอบหรือตามอำเภอใจ ว่าจะทำได้มีประสิทธิภาพเพียงใดถ้าหน่วยงานดูแลเป็นหน่วยงานเดียวกัน
ยังไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการกสทช.และสำนักงานกสทช.จะมีอิสระจากรัฐบาลเพียงใดในการกำกับกิจการ — เนื่องจากต้องอยู่ใต้กำกับของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
การเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 8 ฉบับ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 6 ม.ค. 2558 ไม่ได้อยู่ในวาระปกติ และทั้งหมดได้รับมติเห็นชอบภายในวันเดียว
ดูความเห็นส่วนตัวของ สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในกรรมการ กสทช. ต่อประเด็นการปรับโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของกสทช.



_____________________________________________________













เปิดผัง 12 หน่วยงานใหม่ “ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลประยุทธ์








สรุปโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและไอซีที ทั้งที่จะตั้งใหม่และที่จะปรับปรุงจากเดิม จากข้อมูลเช้าวันที่ 7 ม.ค. 2558 (ดูข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ที่ด้านท้ายของบทความ)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างกฎหมาย 10 ฉบับ ตั้ง 12 หน่วยงานใหม่ เปลี่ยนโฉมโครงสร้างการกำหนดและกำกับนโยบายไอซีทีไทย อย่างไรก็ตามยังมีข้อเป็นห่วงเรื่องอำนาจหน้าที่และความรับผิดของหน่วยงานใหม่ รวมถึงการคุ้มครองสิทธิด้านข้อมูลข่าวสารของประชาชน

นโยบายดิจิทัลภาพรวม

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ปรับปรุงโครงสร้างจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเดิม แบ่งส่วนราชการเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ตั้งใหม่ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ปรับลดอำนาจหน้าที่จากกสทช.เดิม รวมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เข้าด้วยกันเหลือคณะเดียว และกำหนดให้การดำเนินงานต้องสอดคล้องกับที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาและสอดคล้องกับนโยบายจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ)
ด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่)
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (ตั้งใหม่ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จากการรวมสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. )(องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าด้วยกัน)
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ตั้งใหม่)
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ตั้งใหม่)
สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ตั้งใหม่ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยโอนจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องที่เดิมอยู่กับสพธอ. และจะเป็นหน่วยงานกลางที่ดูแลทั้งพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

คณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ (ตั้งใหม่)
สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ (ตั้งใหม่ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยโอนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเพิ่มเติมงานส่วนอื่น — หมายเหตุ: การแบ่งส่วนราชการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะมีส่วนราชการหนึ่งชื่อคล้ายกันคือ “สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล”)
ด้านเศรษฐกิจและสังคม

คณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตั้งใหม่)
กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตั้งใหม่ โดยยกเลิกกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ตาม พ.ร.บ.กสทช.เดิม โดยในโครงสร้างใหม่รายได้จากค่าใบอนุญาต-ค่าธรรมเนียม หลังหักค่าใช้จ่าย จะนำส่งกองทุนพัฒนาดิจิทัล 50% และที่เหลือนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน)
สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ตั้งใหม่)
ข้อสังเกตเบื้องต้น

หน่วยงานจำนวนมากที่จะจัดตั้งใหม่ ถูกกำหนดให้จัดตั้งเป็น “หน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ” — เป็นที่คาดว่ารายได้ของหน่วยงานจะไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเป็นไปได้ว่า “เจ้าหน้าที่” ของนิติบุคคลดังกล่าวอาจไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 (“มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”)
การปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกดูแลโดยหน่วยงานเดียวกัน คือ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ — ทำให้มีคำถามถึงการตรวจสอบคานอำนาจเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยมิชอบหรือตามอำเภอใจ ว่าจะทำได้มีประสิทธิภาพเพียงใดถ้าหน่วยงานดูแลเป็นหน่วยงานเดียวกัน
ยังไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการกสทช.และสำนักงานกสทช.จะมีอิสระจากรัฐบาลเพียงใดในการกำกับกิจการ — เนื่องจากต้องอยู่ใต้กำกับของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
การเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 8 ฉบับ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 6 ม.ค. 2558 ไม่ได้อยู่ในวาระปกติ และทั้งหมดได้รับมติเห็นชอบภายในวันเดียว
ดูความเห็นส่วนตัวของ สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในกรรมการ กสทช. ต่อประเด็นการปรับโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของกสทช.

คุยเรื่องนี้ต่อได้ที่กลุ่มเฟซบุ๊กเครือข่ายพลเมืองเน็ต

สรุปร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สาระสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ สรุปโดย www.thaigov.go.th

ร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้ง คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 2 ฉบับ (เห็นชอบ 16 ธ.ค. 2557)

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธานกรรมการ กำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge
ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีมิติของภารกิจและความรับผิดชอบเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม แบ่งส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกเป็น 5 ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการเฉพาะด้านจำนวน 5 ด้าน
ร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 8 ฉบับ (เป็นการเสนอแก้ไขกฎหมายเดิม 4 ฉบับ และเสนอกฎหมายใหม่ 4 ฉบับ) (เห็นชอบ 6 ม.ค. 2558)

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (เป็นการโอนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2545)
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมันคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานกลาง ตลอดจนการให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และกระทรวงการคลัง (กค.) สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (เป็นการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทุนและทรัพย์สิน ของสำนักความมั่นคงปลอดภัย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้)
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้หรือเปิดเผย และข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ สิทธิของเจ้าของข้อมูล หลักเกณฑ์การร้องเรียน และการให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. …. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ และการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …. จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์ (องค์การมหาชน)
ติดตามการพิจารณากฎหมายต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ระบบประมวลผลข้อมูลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

แหล่งข้อมูล

สรุปการประชุมคณะรัฐมนตรี 16 ธ.ค. 2557
สรุปการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 ม.ค. 2558
สำนักข่าวไทย (6 ม.ค. 2558)
ไทยโพสต์ (7 ม.ค. 2558)
ประชาไท (7 ม.ค. 2558)
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
Privacy Thailand (6 ม.ค. 2558)
ขอบคุณที่มา : เครือข่ายพลเมืองเน็ต



http://nbtcrights.com/2015/01/1758

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.