Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มกราคม 2558 FACEBOOK เดินทางไปยังอินโดนีเซียเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ "internet.org" ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ต // ออเลีย มาสนา ระบุ รัฐบาลอินโดนีเซียควรต้องเร่งแก้ไขปัญหาการเข้าถึงไฟฟ้า โดยประชาชนอีกกว่าครึ่งประเทศในอินโดนีเซียนั้นไม่มีไฟฟ้า

ประเด็นหลัก

เมื่อปี 2557 นายมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ facebook เดินทางไปยังอินโดนีเซียเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ "internet.org" ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ต และกล่าวกับประธานาธิบดีโจโก "โจโกวี" วิโดโด ของอินโดนีเซียว่า การขยายการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศอินโดนีเซียนั้นจะช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจในระดับบุคคล (micro-economy)

โครงสร้างพื้นฐานและข้อกฎหมายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยรัฐบาลอินโดนีเซียควรต้องเร่งแก้ไขปัญหาการเข้าถึงไฟฟ้า โดยประชาชนอีกกว่าครึ่งประเทศในอินโดนีเซียนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่า ประชาชนในพื้นที่เหล่านี้จะไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และการพัฒนาเพื่อขยายความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้น จะยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในแต่ละพื้นที่

ขณะที่ในเรื่องข้อกฎหมาย เช่น เรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่จะปกป้องทรัพย์สินทางปัญหา และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุนมากขึ้นความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุค Internet Economy น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรัฐบาลไทยไม่มากก็น้อย หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบายก้าวเข้าสู่ยุค Digital Economy โดยการพัฒนานั้นจะต้องไม่ลืมว่า โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรถือเป็นปัจจัยสำคัญขณะเดียวกันการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาและการใช้เทคโนโลยีให้ก่อประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน








_____________________________________________________













อินโดฯดัน "ฮับเทคโนโลยี" ยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐาน




อินโดนีเซีย ประเทศที่มีขนาดประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ถือเป็นประเทศที่มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากที่สุด โดยเฉพาะทวิตเตอร์

ขณะที่เว็บไซต์ยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊กก็มีผู้ใช้ในอินโดนีเซียสูงถึง 70 ล้านคน รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าว่า ในปี 2558 ประชาชนในประเทศกว่า 150 ล้านคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันระบบเศรษฐกิจในประเทศ และตั้งเป้าเป็นฮับด้านเทคโนโลยีแห่งใหม่ในอาเซียน

เมื่อปี 2557 นายมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ facebook เดินทางไปยังอินโดนีเซียเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ "internet.org" ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ต และกล่าวกับประธานาธิบดีโจโก "โจโกวี" วิโดโด ของอินโดนีเซียว่า การขยายการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศอินโดนีเซียนั้นจะช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจในระดับบุคคล (micro-economy)



อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียยังมีอุปสรรคอีกมากที่จะพัฒนาสู่การเป็นประเทศแห่งเทคโนโลยี นายเบน ฮูริแกน ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนักเขียนระบุว่า อินโดนีเซียยังมีปัญหาในเรื่องการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของประชาชน กล่าวคือ แม้ว่าประชากรจำนวนมากจะมีความสามารถในการเข้าถึงสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลต แต่อุปกรณ์เหล่านั้นสามารถทำงานได้เพียงขั้นพื้นฐานเท่านั้น โดยรัฐบาลต้องผลักดันให้เยาวชนในประเทศเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม

นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ เช่น Yahoo และ Google เข้าไปตั้งสำนักงานและจ้างชาวอินโดนีเซีย แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์แดนอิเหนายังไม่มีแนวโน้มที่จะแข่งขันได้ในระดับโลก

เมื่อมองไปที่ระบบการศึกษา ไม่มีมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียที่เปิดการเรียนการสอนในด้านคอมพิวเตอร์ติดอันดับมหาวิทยาลัยยอดเยี่ยม 50 ลำดับแรกของโลกเลย ทำให้ชาวอินโดนีเซียที่ต้องการศึกษาด้านนี้ต้องไปจ่ายเงินราคาแพง หรือเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาให้มากขึ้น เพื่อเข้าถึงหลักสูตรการเรียนผ่านทางโลกออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

ด้าน ออเลีย มาสนา อดีตบรรณาธิการจากบล็อก Daily Social ของอินโดนีเซียให้ความเห็นในด้านผู้ประกอบการว่า นักลงทุนจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะมาลงทุนในอินโดนีเซียในช่วง 2-3 ปีนี้ ขณะที่รัฐบาลก็ได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการชาวอินโดนีเซียมีแนวโน้มที่จะล้มเลิกง่ายๆ เมื่อพบกับความล้มเหลว นอกจากนี้ ชาวอินโดนีเซียจำนวนมากยังมองไม่เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี

มาสนาใช้คำว่า "เล่นอินเทอร์เน็ต" เพื่อสื่อถึงกิจกรรมที่ทำผ่านทางออนไลน์ มากกว่า "เรียนรู้จากอินเทอร์เน็ต" เพื่อเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ได้อย่างไม่สิ้นสุด

โครงสร้างพื้นฐานและข้อกฎหมายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยรัฐบาลอินโดนีเซียควรต้องเร่งแก้ไขปัญหาการเข้าถึงไฟฟ้า โดยประชาชนอีกกว่าครึ่งประเทศในอินโดนีเซียนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่า ประชาชนในพื้นที่เหล่านี้จะไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และการพัฒนาเพื่อขยายความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้น จะยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในแต่ละพื้นที่

ขณะที่ในเรื่องข้อกฎหมาย เช่น เรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่จะปกป้องทรัพย์สินทางปัญหา และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุนมากขึ้นความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุค Internet Economy น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรัฐบาลไทยไม่มากก็น้อย หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบายก้าวเข้าสู่ยุค Digital Economy โดยการพัฒนานั้นจะต้องไม่ลืมว่า โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรถือเป็นปัจจัยสำคัญขณะเดียวกันการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาและการใช้เทคโนโลยีให้ก่อประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน





http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421033179

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.