Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 คาด CAT จับมือ SK telecom ประมูล4G และ CAT มีมติให้จัดตั้งธุรกิจร่วมค้าและการทำระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมออนไลน์อย่างครบวงจร หรือเพย์เมนต์ จะสามารถสร้างรายได้ 1 พันล้านบาทภายใน 5 ปี

ประเด็นหลัก


     
       พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กสท มีความพร้อมที่จะร่วมประมูล 4G ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ โดยกำลังจะกลับไปคุยกับพันธมิตรเดิม คือ SK telecom ที่เคยเจรจาร่วมกันมาก่อนหน้านี้ถึงการร่วมทุนในการประมูล 4G ก่อนที่จะถูกคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งเลื่อนการประมูลออกไป ทั้งนี้ นอกจาก SK telecom แล้ว บริษัทยังได้หาพันธมิตรผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) จากประเทศญี่ปุ่นอีกรายหนึ่งด้วย ซึ่งหากท้ายที่สุดแล้วไม่สามารถหาพันธมิตรได้ กสท ก็ยังคงยืนยันเข้าร่วมประมูลด้วยเงินทุนของตนเอง



       ***ปั้นธุรกิจเพย์เมนต์ ตั้งเป้าพันล้านใน 5 ปี
     
       ขณะที่ผลการประชุมบอร์ด กสท เมื่อวันที่ 12 ม.ค.58 ที่ผ่านมา มีมติให้จัดตั้งธุรกิจร่วมค้าและการทำระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมออนไลน์อย่างครบวงจร หรือเพย์เมนต์ โดยจะดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับรูปแบบของธุรกิจ กสท จะหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้านที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นด้านค้าปลีก การเงิน การขนส่ง คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ และจะสามารถสร้างรายได้ 1 พันล้านบาทภายใน 5 ปี
     
       “ที่เราสนใจทำธุรกิจนี้เพราะมองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีมูลค่าตลาดถึงหมื่นล้านบาท แม้ว่าในตลาดจะมีคู่แข่งอยู่หลายรายแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ทรูมันนี่ หรือเพย์สบาย แล้วก็ตาม แต่ตลาดยังมีการเติบโตอีกมาก ยิ่งต่อไปนโยบาย Digital Economy เกิดจะยิ่งทำให้ตลาดเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะการบริการภาครัฐ ซึ่งเราสามารถเข้าไปสนับสนุนโครงการภาครัฐได้ เช่น การชำระค่าน้ำ ค่าไฟ หรือบริการของรัฐแบบออนไลน์ได้สะดวกขึ้น โดยเรามั่นใจว่า จะสามารถแข่งขันได้ด้วยศักยภาพของเน็ตเวิร์กที่มีความเสถียร และระบบความปลอดภัยในการให้บริการ”
   








_____________________________________________________
















กสท พร้อมประมูล 4G เตรียมปั้นธุรกิจเพิ่มรับชำระเงินออนไลน์



        กสท ยันพร้อมร่วมวงประมูล 4G เดินหน้าหาพันธมิตรทั้งไทย-เทศ ลั่นหากหาไม่ได้พร้อมประมูลคนเดียว ด้านความคืบหน้าเคลียร์ปัญหาเสาโทรคมนาคมกับดีแทค เร่งให้ต่างคนต่างประเมินสินทรัพย์ เสนอคณะกรรมการมาตรา 43 เพื่อหาความชัดเจนการลงทุนภายในเดือน มี.ค.นี้ พร้อมเดินหน้าเจรจาเอ็มโอยูสางปัญหากับทรูต่อ นอกจากนี้ ยังได้เตรียมปั้นธุรกิจใหม่รับชำระเงินออนไลน์ ขานรับนโยบาย Digital Economy ตั้งเป้ารายได้พันล้านภายใน 5 ปี
     
       พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กสท มีความพร้อมที่จะร่วมประมูล 4G ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ โดยกำลังจะกลับไปคุยกับพันธมิตรเดิม คือ SK telecom ที่เคยเจรจาร่วมกันมาก่อนหน้านี้ถึงการร่วมทุนในการประมูล 4G ก่อนที่จะถูกคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งเลื่อนการประมูลออกไป ทั้งนี้ นอกจาก SK telecom แล้ว บริษัทยังได้หาพันธมิตรผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) จากประเทศญี่ปุ่นอีกรายหนึ่งด้วย ซึ่งหากท้ายที่สุดแล้วไม่สามารถหาพันธมิตรได้ กสท ก็ยังคงยืนยันเข้าร่วมประมูลด้วยเงินทุนของตนเอง
     
       สำหรับคลื่นความถี่ที่ได้จากการประมูลนั้น ส่วนหนึ่งจะนำมารองรับลูกค้าเดิมที่ยังค้างอยู่ในระบบ 2G ก่อน ส่วนกรณีคลื่นที่ไม่ใช้งานของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่อาจนำมาเข้าร่วมประมูลนั้น ต้องรอการตัดสินใจของคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อนว่าจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไร หากมีการยินยอมให้นำคลื่นส่วนนั้นไปร่วมประมูลได้อาจจะต้องมีเงื่อนไขในการคืนคลื่นบางส่วนมาให้ กสท นำมาใช้งานได้ด้วย
     
       อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องการแบ่งคลื่นให้ กสท ใช้เพื่อให้บริการเชิงสังคม หรือความมั่นคงเท่านั้น กสท ก็ยังยืนยันที่จะประมูล 4G แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าการให้บริการเพื่อสังคม หรือความมั่นคงน่าจะสามารถหารายได้จากการให้บริการต่อหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองได้เพราะบริษัทมีต้นทุนในการดำเนินการ โดย กสท คาดว่าจะนำคลื่นมาใช้ในโครงการระบบเตือนภัยฉุกเฉินได้
     
       ส่วนความคืบหน้าหลังจากได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง หรือเอ็มโอยู กับดีแทคเพื่อเป็นพันธมิตรระยะยาว โดยตามสัญญาสัมปทานที่ดีแทคมีกับ กสท จะสิ้นสุดลงในปี 2561 และดีแทคจะต้องส่งมอบเสาโทรคมนาคมให้ตามสัญญาสัมปทาน จำนวน 13,500 สถานีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้แต่ละบริษัทต่างคนต่างประเมินมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งว่าจะประนีประนอมกันอย่างไร รวมถึงการพิจารณาว่ารูปแบบของธุรกิจที่จะทำร่วมกันด้วยว่าจะเป็นลักษณะการร่วมลงทุน หรือลักษณะการเข้าไปถือหุ้น
     
       โดยคาดว่าการประเมินมูลค่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หรือประมาณต้นเดือน มี.ค.58 นี้ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 ส่วนบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)นั้นมีสถานีฐานที่อยู่ในสัญญาสัมปทานประมาณ 8,000 สถานี เบื้องต้นได้มีการเจรจาไปบ้างแล้ว เพื่อจะดำเนินการเซ็นเอ็มโอยูกันเป็นรายต่อไป
     
       ***ปั้นธุรกิจเพย์เมนต์ ตั้งเป้าพันล้านใน 5 ปี
     
       ขณะที่ผลการประชุมบอร์ด กสท เมื่อวันที่ 12 ม.ค.58 ที่ผ่านมา มีมติให้จัดตั้งธุรกิจร่วมค้าและการทำระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมออนไลน์อย่างครบวงจร หรือเพย์เมนต์ โดยจะดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับรูปแบบของธุรกิจ กสท จะหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้านที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นด้านค้าปลีก การเงิน การขนส่ง คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ และจะสามารถสร้างรายได้ 1 พันล้านบาทภายใน 5 ปี
     
       “ที่เราสนใจทำธุรกิจนี้เพราะมองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีมูลค่าตลาดถึงหมื่นล้านบาท แม้ว่าในตลาดจะมีคู่แข่งอยู่หลายรายแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ทรูมันนี่ หรือเพย์สบาย แล้วก็ตาม แต่ตลาดยังมีการเติบโตอีกมาก ยิ่งต่อไปนโยบาย Digital Economy เกิดจะยิ่งทำให้ตลาดเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะการบริการภาครัฐ ซึ่งเราสามารถเข้าไปสนับสนุนโครงการภาครัฐได้ เช่น การชำระค่าน้ำ ค่าไฟ หรือบริการของรัฐแบบออนไลน์ได้สะดวกขึ้น โดยเรามั่นใจว่า จะสามารถแข่งขันได้ด้วยศักยภาพของเน็ตเวิร์กที่มีความเสถียร และระบบความปลอดภัยในการให้บริการ”
     


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000004455

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.