Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 Trend Micro คาดการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2558 ระบุ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนที่ใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นหนึ่งในเป้าหมาย รวจพบมากในโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ประเด็นหลัก



นายคงศักดิ์ กล่าวต่อว่า การพบมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือในเดือน เม.ย. 2557 อยู่ที่2.3ล้านตัว และเพิ่มขึ้นเป็น 2.7ล้านตัวในเดือน มิ.ย.2557หรือเพิ่มขึ้นถึง4แสนตัวในเวลาเพียง3เดือน ซึ่งตรวจพบมากในโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และมีแนวโน้มการเติบโตของมัลแวร์ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

“สิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีเพียง2เรื่อง คือ ไวรัสตัวเก่า ๆ ที่โทรศัพท์มือถือซึ่งใช้งานอยู่ไม่สามารถอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่ของระบบปฏิบัติการได้ และการที่ไม่สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มของระบบรักษาความปลอดภัยออกมาได้ทันกับไวรัสและมัลแวร์ใหม่ ๆ ที่ออกมา”

สำหรับคำแนะนำ 3 ขั้นตอนของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แบบสมาร์ทโฟน ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ให้ไว้ดังนี้ 1.ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือที่ใช้ไปปรับแต่งแพลตฟอร์มใหม่ที่ไม่ได้มาจากโรงงาน 2.ก่อนลงแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือต้องตรวจสอบว่าเป็นแอพพลิเคชั่นของจริง เนื่องจากในกูเกิลเพลย์ไม่มีการตรวจสอบว่าแอพพลิเคชั่นที่อัพขึ้นนั้นเป็นของจริงหรือเป็นมัลแวร์ที่ทำขึ้นเลียนแบบ ซึ่งเทคนิคการดูว่าแอพพลิเคชั่นใดเป็นของจริงหรือมัลแวร์ให้ดูข้อมูลการรีวิวแอพพลิเคชั่นตัวนั้น ๆ และปริมาณการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไปใช้งาน และ 3.ติดตั้งแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับแอนตี้ไวรัสไว้ในโทรศัพท์มือถือด้วย



_____________________________________________________














ปีที่ผ่านมาทั่วโลกพบมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายข้อมูลจำนวน 1 ตัวในทุก 2 วินาที


การเติบโตของเทคโนโลยีย่อมมาพร้อมกับการคิดค้นกลวิธีขโมยข้อมูลที่แยบยลยิ่งขึ้น...ถ้าคุณไม่ระวังอาจตกเป็นเหยื่อ!

เทรนด์ไมโครคาดการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2558 ระบุ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนที่ใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จะถูกอาชญากรออนไลน์โจมตี พร้อมแนะ 3 ขั้นตอนป้องกัน

นายวิลเลี่ยม ตัน ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาทั่วโลกพบมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายข้อมูลจำนวน 1 ตัวในทุก 2 วินาที โดย 90% ของเหล่าแฮกเกอร์มาจากประเทศฝั่งยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย และ 55% ของผู้ใช้งานระดับองค์กรทั่วโลกไม่รู้ตัวว่าถูกโจมตีจากมัลแวร์และถูกขโมยข้อมูลไปแล้ว ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของเทรนด์ไมโคร พบว่า กลุ่มที่เหล่าแฮกเกอร์มุ่งโจมตีมากที่สุด 3 กลุ่ม คือ หน่วยงานรัฐบาล คิดเป็น81%รองลงมาคือ อุตสาหกรรมไอที4%และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอวกาศ 3%

นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย กล่าวถึงการคาดการณ์แนวโน้มของ อาชญากรไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นมากในปี 2558 ว่า ประกอบด้วย การใช้บริการดาร์กเน็ต(Darknet)ที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้บริการที่ทำให้การค้นหาชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือค้นหา (เสิร์ช เอนจิ้น)ไม่พบ ต้องพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ให้ถูกต้องถึงพบเว็บไซต์ดังกล่าว การโจมตีผ่านช่องโหว่ต่าง ๆ การมุ่งโจมตีโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การแฮกข้อมูลผ่านอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น แฮกข้อมูลเครื่องวัดการเต้นของหัวใจที่ใช้ตรวจวัดขณะออกกำลังกาย รวมทั้งเหล่าแฮกเกอร์พยายามพัฒนารูปแบบการขโมยข้อมูลของการให้บริการทางการเงินออนไลน์ หรือออนไลน์แบงก์กิ้งที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากบริการออนไลน์แบงก์กิ้งมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยมากขึ้น

นายคงศักดิ์ กล่าวต่อว่า การพบมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือในเดือน เม.ย. 2557 อยู่ที่2.3ล้านตัว และเพิ่มขึ้นเป็น 2.7ล้านตัวในเดือน มิ.ย.2557หรือเพิ่มขึ้นถึง4แสนตัวในเวลาเพียง3เดือน ซึ่งตรวจพบมากในโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และมีแนวโน้มการเติบโตของมัลแวร์ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

“สิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีเพียง2เรื่อง คือ ไวรัสตัวเก่า ๆ ที่โทรศัพท์มือถือซึ่งใช้งานอยู่ไม่สามารถอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่ของระบบปฏิบัติการได้ และการที่ไม่สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มของระบบรักษาความปลอดภัยออกมาได้ทันกับไวรัสและมัลแวร์ใหม่ ๆ ที่ออกมา”

สำหรับคำแนะนำ 3 ขั้นตอนของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แบบสมาร์ทโฟน ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ให้ไว้ดังนี้ 1.ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือที่ใช้ไปปรับแต่งแพลตฟอร์มใหม่ที่ไม่ได้มาจากโรงงาน 2.ก่อนลงแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือต้องตรวจสอบว่าเป็นแอพพลิเคชั่นของจริง เนื่องจากในกูเกิลเพลย์ไม่มีการตรวจสอบว่าแอพพลิเคชั่นที่อัพขึ้นนั้นเป็นของจริงหรือเป็นมัลแวร์ที่ทำขึ้นเลียนแบบ ซึ่งเทคนิคการดูว่าแอพพลิเคชั่นใดเป็นของจริงหรือมัลแวร์ให้ดูข้อมูลการรีวิวแอพพลิเคชั่นตัวนั้น ๆ และปริมาณการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไปใช้งาน และ 3.ติดตั้งแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับแอนตี้ไวรัสไว้ในโทรศัพท์มือถือด้วย

นายคงศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลที่เหล่าแฮกเกอร์มุ่งโจมตีเพื่อขโมย คือ พาสเวิร์ดทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก เนื่องจากสามารถนำไปสร้างตัวตนปลอมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้และมีราคาแพง ขณะที่ข้อมูลในบัตรเครดิตมีราคาในการขายเพียง 2-3 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น

ส่วนประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยติดโผการเป็นประเทศเป้าหมายที่เหล่าแฮกเกอร์มุ่งโจมตี เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการขยายตัวของการใช้งานด้านไอทีสูง เพราะเปลี่ยนผ่านจากการใช้งานในระบบอนาล็อกเข้าสู่การใช้งานในระบบดิจิตอล

นอกจากนี้ช่วง6เดือนแรกของปี2557เทรนด์ไมโคร พบว่า มีการเติบโตของ “ออนไลน์แบงก์กิ้งมัลแวร์” หรือไวรัสที่เจาะจงขโมยข้อมูลจากการทำธุรกรรมการเงินทั่วโลกเพิ่มขึ้นมาก จากเดือน ม.ค. 57ซึ่งตรวจพบมัลแวร์11,122ตัว เพิ่มขึ้นเป็น46,000 ตัว ในเดือน พ.ค. 57

เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นช่องทางการเข้าถึงบริการออนไลน์ต่าง ๆ การระมัดระวังตัวเองจากภัยออนไลน์ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจึงเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสิ่งจำเป็น

ก่อนดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นลงโทรศัพท์มือถือตรวจสอบสักนิดก่อนมีมัลแวร์มาอยู่ในเครื่อง.

..................................................................................................

ทิศทางเทรนด์ไมโครปี 2558 ชู 3ซี

ปีนี้เทรนด์ไมโครครบรอบ 27 ปี ซึ่งเข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ยอดขายของเทรนด์ไมโครปี ค.ศ. 2013 ทั่วโลกอยู่ที่1.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในไทยปีที่แล้วมีอัตราการเติบโต 22% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 30% เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองและการชุมนุม ส่วนการผลักดันเรื่องดิจิตอล อีโคโนมี เทรนด์ไมโคร มองว่า จะกระตุ้นให้ภาครัฐหันมาลงทุนเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับกลยุทธ์การทำตลาดของเทรนด์ไมโครปีนี้เน้น3 ซี คือ “Consumerization”บริการที่ปกป้องผู้ใช้งานในทุกช่องทาง ครอบคลุมทุกอุปกรณ์การใช้งานและทุกแพลตฟอร์ม “Cyber Treats”ป้องกันการโจมตีทุกรูปแบบ และ “Cloud & Virtualization”ป้องกันการทำงานบนคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้ง 3 ซีมุ่งเจาะ3กลุ่มลูกค้าได้แก่ ลูกค้าบริการด้านการเงินการธนาคาร ลูกค้าโทรคมนาคม และลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต.

น้ำเพชร จันทา
@phetchan


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/293427/มือถือระบบ‘แอนดรอยด์’เป้าโจมตีปี’58

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.