Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 มกราคม 2558 TRUEมีออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ทั้งหมด 3 ตัวคือ TrueMove H, True You และ True Vision โดย TrueMove H มีผู้ติดตามมากที่สุดกว่า 20 ล้านไอดี และมีการแอ็กทีฟ (ไม่บล็อก) ถึง 60% เป็น 3 อันดับแรกของออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ที่มีการติดตามมากที่สุด

ประเด็นหลัก


ปัจจุบันกลุ่มทรูมีออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ทั้งหมด 3 ตัวคือ TrueMove H, True You และ True Vision โดย TrueMove H มีผู้ติดตามมากที่สุดกว่า 20 ล้านไอดี และมีการแอ็กทีฟ (ไม่บล็อก) ถึง 60% เป็น 3 อันดับแรกของออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ที่มีการติดตามมากที่สุด ส่วนสติ๊กเกอร์ TrueMove H ทำออกมาทั้งหมด 7 ชุด เริ่มตั้งแต่ Mr.H ช่วงสิ้นปี 2555 และล่าสุด Lovely Nadech by TrueMove H สิ้นปี 2557 ส่วน True You มี 2 ชุด และ True Vision ไม่มีสติ๊กเกอร์ แต่บริษัทไม่สามารถเปิดเผยงบประมาณที่ใช้ได้

และในปลาย ม.ค. นี้ จะขยายการทำตลาดร่วมกับไลน์มาสู่โลกออฟไลน์ด้วยการเปิดร้าน Line Cafe by True Coffee ที่ห้างสรรพสินค้าสยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 ถือเป็นครั้งแรกในโลกที่ไลน์เปิดร้านกาแฟ โดยจะนำแคแร็กเตอร์การ์ตูนจากไลน์มาทำโปรโมชั่นต่างร่วมกับสินค้าของกลุ่มทรูด้วย


_____________________________________________________














"ทรู" ติดสปีดแบรนด์ผ่าน "ไลน์" จากสติ๊กเกอร์...ถึงร้านกาแฟ



หลังจาก "ไลน์" เริ่มให้บริการในญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 และเข้ามาทำตลาดในไทยเมื่อ 2 ปีก่อน ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นแชตรายนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม มียอดผู้ใช้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทะลุ 33 ล้านไอดีไปแล้วเรียบร้อย ในไทยมีคนใช้เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่นที่มี 54 ล้านไอดี และทั้งโลกใกล้ 500 ล้านไอดีแล้ว

"ไลน์" ไม่ได้มีแค่แอปพลิเคชั่น "แชต" หากแต่มีบริการอื่นที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ และฮิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไลน์สติ๊กเกอร์, ไลน์เกม, ไลน์ช็อป, ไลน์ทีวี เป็นต้น การเข้าถึงคนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ใช้ "ไลน์" เป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคเพื่อเผยแพร่ข้อมูลองค์กร สินค้า บริการ และโปรโมชั่นต่าง ๆ

"ธีรศักดิ์ อรุณเริ่มวัฒนะ" ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์ และบริหารสื่อโฆษณา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ออนไลน์มาร์เก็ตติ้งเป็นอีกช่องทางสำคัญในการสื่อสารข้อมูลไปยังลูกค้า และอาจเทียบเท่ากับออฟไลน์มาร์เก็ตติ้งได้ในอนาคต จากโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทดีไวซ์มีราคาลดลง



กลุ่มทรูใช้ออนไลน์มาร์เก็ตติ้งหลายช่องทาง เช่น โฆษณาบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ปัจจุบันมี "ไลน์" เป็นอีกแอปพลิเคชั่นทีี่ใช้ตั้งแต่ปลายปี 2555 ด้วยการเปิดออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ TrueMove H พร้อมแจกไลน์สติ๊กเกอร์ฟรี ซึ่งขณะนั้นมีผู้ใช้ไลน์ในไทยไม่ถึง 10 ล้านไอดี แต่ผลตอบรับดีมาก ผู้ที่ติดตามแอ็กเคานต์แอ็กทีฟกับโปรโมชั่นที่ส่งไปโดยตลอดจึงขยายความร่วมมือกับไลน์เพิ่มเติม

"เราอยู่กับไลน์ตั้งแต่ยุคที่เข้ามาทำตลาดใหม่ๆยังไม่มีออฟฟิศมีทีมงานไม่ถึง3 คน จากการร่วมมือครั้งนั้นทำให้เราทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งคอนเทนต์ที่ส่งออกไปไม่ได้เป็นเชิงโฆษณามากนัก อัตราการบล็อกจะค่อนข้างน้อย ส่งข้อความครั้งเดียวเข้าถึงผู้ใช้กว่า 33 ล้านคนถือว่าคุ้ม"

ปัจจุบันกลุ่มทรูมีออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ทั้งหมด 3 ตัวคือ TrueMove H, True You และ True Vision โดย TrueMove H มีผู้ติดตามมากที่สุดกว่า 20 ล้านไอดี และมีการแอ็กทีฟ (ไม่บล็อก) ถึง 60% เป็น 3 อันดับแรกของออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ที่มีการติดตามมากที่สุด ส่วนสติ๊กเกอร์ TrueMove H ทำออกมาทั้งหมด 7 ชุด เริ่มตั้งแต่ Mr.H ช่วงสิ้นปี 2555 และล่าสุด Lovely Nadech by TrueMove H สิ้นปี 2557 ส่วน True You มี 2 ชุด และ True Vision ไม่มีสติ๊กเกอร์ แต่บริษัทไม่สามารถเปิดเผยงบประมาณที่ใช้ได้

และในปลาย ม.ค. นี้ จะขยายการทำตลาดร่วมกับไลน์มาสู่โลกออฟไลน์ด้วยการเปิดร้าน Line Cafe by True Coffee ที่ห้างสรรพสินค้าสยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 ถือเป็นครั้งแรกในโลกที่ไลน์เปิดร้านกาแฟ โดยจะนำแคแร็กเตอร์การ์ตูนจากไลน์มาทำโปรโมชั่นต่างร่วมกับสินค้าของกลุ่มทรูด้วย

"เราเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีโปรดักต์ที่หลากหลายการนำแคแร็กเตอร์จากไลน์มาช่วยจะทำให้สินค้าและบริการมีมิติมากขึ้นดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาใช้งานได้ ที่สำคัญการเป็นหนึ่งในธุรกิจของกลุ่มซีพีทำให้การเจรจานำแคแร็กเตอร์ระดับโลกมาใช้งาน ทำได้ง่ายขึ้น และในอนาคตอาจมีการเจรจากับไลน์เพื่อนำตัวละครต่าง ๆ มาตกแต่งบนโทรศัพท์มือถือทรูเพื่อจูงใจผู้ใช้งาน รวมถึงเตรียมทำราคาสมาร์ทโฟนที่รองรับเทคโนโลยี 4G ที่ราคาต่ำกว่า 3 พันบาทออกสู่ตลาดด้วย"

ด้าน "วารดี วสวานนท์" หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ไลน์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ผู้ใช้ไลน์ในไทยอยู่ที่ 53% ของประชากรทั้งหมด จึงได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การเปิดแอปพลิเคชั่น "ไลน์ช็อป" เป็นแห่งแรก รวมถึงเพิ่มพนักงานตรวจสอบใน "ไลน์ครีเอเตอร์มาร์เก็ต" เพื่อตอบโจทย์ศิลปินชาวไทยที่ส่งสติ๊กเกอร์เข้าไปจำหน่าย และตั้งออฟฟิศเป็นแห่งที่ 5 ในโลก เพื่อการบริหารที่คล่องตัวยิ่งขึ้น

โมเดลธุรกิจของไลน์แบ่งเป็น 4 ช่องทางคือ การใช้จ่ายในแอปพลิเคชั่นไลน์ หรือการซื้อสติ๊กเกอร์ และธีมต่าง ๆ, การใช้จ่ายในแอปพลิเคชั่นในเครือข่ายของไลน์ที่มีกว่า 72 ตัว หรือการซื้อไอเท็มภายในเกม, การทำตลาดร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น การทำออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ และการจำหน่ายลิขสิทธิ์ให้บริษัทนำตัวละครในไลน์ไปทำสินค้า แต่ 60% ของรายได้คือการใช้จ่ายในแอปพลิเคชั่น

"ปีนี้ไลน์วางไดเร็กชั่นไว้ว่าต้องเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคโดยในไทยเตรียมทำตลาดไลน์ทีวีแอปพลิเคชั่นดูรายการต่างๆที่บริษัทคัดเลือกมาให้และมีแผนสร้างรายได้จากการโฆษณาบนวิดีโอ ซึ่งกำลังทดลองบริการร่วมกับ "จีทีเอช" ผู้ผลิตภาพยนตร์ดังนำภาพยนตร์ซีรีส์มารีรันฉายในไลน์ทีวีเป็นที่แรก"

สำหรับบริษัท "ไลน์" เกิดขึ้นในที่มีสึนามิในญี่ปุ่น ซึ่งการสื่อสารเป็นไปได้ยากจึงมีนักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชั่นนี้ขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารผ่านข้อความ และสติ๊กเกอร์น่ารักแทนอารมณ์ หลังจากนั้นไม่นาน "เนเวอร์ คอร์ปอเรชั่น" ผู้ให้บริการบนโลกออนไลน์ของประเทศเกาหลี ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2543 ได้เข้ามาเจรจาร่วมทุนด้วย และช่วยกันขยายตลาดไปใน 70 ประเทศทั่วโลก รองรับทั้งหมด 18 ภาษา และในหนึ่งวันมีการส่งข้อความ 1.3 หมื่นล้านครั้ง และส่งสติ๊กเกอร์ 1.8 พันล้านครั้ง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421297401

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.