Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มกราคม 2558 (บทความ) แผนบันได 6 ขั้น 'Digital Economy // บันไดขั้นแรก : Hard Infrastructure รัฐบาลต้องมีการบริหารจัดการด้วยการนำไฟเบอร์ออปติกของผู้ประกอบการมาทำงานร่วมกัน

ประเด็นหลัก



     
       บันไดขั้นแรก : Hard Infrastructure
     
       'ต้องอธิบายก่อนเลยว่าการที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ Digital Economy ได้ คือ ต้องทำให้ทุกอย่างออนไลน์ถึงกันหมด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ธุรกิจ ประชาชน สาธารณสุข การศึกษา ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนและเข้าถึงโลกออนไลน์ผ่านช่องทางนี้กันจำนวนมากอยู่แล้ว แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ เพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน'
     
       ดังนั้นบันไดขั้นแรกคือต้องสร้าง Hard Infrastructure คือโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วประเทศและเข้าถึงทุกหมู่บ้านภายใน 2 ปี เพื่อให้เข้าถึงทุกครัวเรือนในที่สุด โดยปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาด้านการบริหารจัดการโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกซึ่งมีผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 30 ราย แต่กลับมีผู้ประกอบการที่ดำเนินการเพียง 16 ราย ที่สำคัญคือต่างคนต่างทำ ทำให้โครงข่ายซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการบริหารจัดการด้วยการนำไฟเบอร์ออปติกของผู้ประกอบการมาทำงานร่วมกัน
     
       แนวคิดคือต้องสร้างเป็นกองทุนรวมเพื่อให้ประชาชนเข้ามาร่วมลงทุนโดยมีข้อแม้ ว่าต้องไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่จนมีอำนาจในการบริหารจัดการเพียงฝ่ายเดียว และต้องไม่เป็นกิจการของรัฐ หรือเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ เพื่อกำหนดการให้ดอกเบี้ยจูงใจให้ประชาชนเข้ามาระดมทุน จากนั้นเมื่อกองทุนรวมดังกล่าวเป็นรูปธรรมก็จะนำเงินที่ได้ ไปขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกให้เข้าถึงประชาชนในทุกอำเภอ ทุกหมู่บ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทำได้ไม่ยากแค่ 2 ปีก็คงเห็นผลเพราะปัจจุบันมันซ้ำซ้อนกันอยู่เพียงแต่จะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เชื่อมต่อกันและบางพื้นที่ที่ยังไม่มีการขยายโครงข่ายก็ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน
     
       ขณะเดียวกันก็ต้องการขยาย International Gateway ให้มีมากขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 2-3 ราย ทำให้มีปัญหาคอขวดในการเชื่อมต่อออกนอกประเทศและราคาก็สูงมาก ดังนั้นรัฐบาลก็มีแนวคิดในการหาทุนคล้ายกับรูปแบบของไฟเบอร์ออปติกด้วย ซึ่งหากประเทศไทยมี International Gateway ที่ลื่นไหลและราคาไม่แพงก็จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมาใช้บริการของเรามากขึ้นด้วย
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกสิ่งต้องออนไลน์ได้หมด ข้อมูลจึงต้องเป็นดิจิตอลมากขึ้น การเก็บข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นแทนที่ปัจจุบันต่างคนต่างใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง รัฐบาลก็ควรเป็นตัวกลางในการบริหารจัดการ หรือ ลงทุนทำ ดาต้า เซ็นเตอร์ มีการเชิญชวนเอกชนที่มีดาต้า เซ็นเตอร์ มาทำงานร่วมกัน ซึ่งสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทันทีเพราะปัจจุบันประเทศไทยมีดาต้า เซ็นเตอร์ที่ต่างคนต่างทำอยู่จำนวนมาก

_____________________________________________________















แผนบันได 6 ขั้น 'Digital Economy'(Cyber Weekend)



        เปิดแผนบันได 6 ขั้นนำไทยก้าวสู่ 'Digital Economy' ในมุมมอง 'โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์' หนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่ร่วมผลักดันและริเริ่ม จนทำให้กลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นความหวังประเทศไทยและทำให้วันนี้ Digital Economy เริ่มขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
     
       บันไดขั้นแรก : Hard Infrastructure
     
       'ต้องอธิบายก่อนเลยว่าการที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ Digital Economy ได้ คือ ต้องทำให้ทุกอย่างออนไลน์ถึงกันหมด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ธุรกิจ ประชาชน สาธารณสุข การศึกษา ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนและเข้าถึงโลกออนไลน์ผ่านช่องทางนี้กันจำนวนมากอยู่แล้ว แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ เพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน'
     
       ดังนั้นบันไดขั้นแรกคือต้องสร้าง Hard Infrastructure คือโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วประเทศและเข้าถึงทุกหมู่บ้านภายใน 2 ปี เพื่อให้เข้าถึงทุกครัวเรือนในที่สุด โดยปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาด้านการบริหารจัดการโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกซึ่งมีผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 30 ราย แต่กลับมีผู้ประกอบการที่ดำเนินการเพียง 16 ราย ที่สำคัญคือต่างคนต่างทำ ทำให้โครงข่ายซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการบริหารจัดการด้วยการนำไฟเบอร์ออปติกของผู้ประกอบการมาทำงานร่วมกัน
     
       แนวคิดคือต้องสร้างเป็นกองทุนรวมเพื่อให้ประชาชนเข้ามาร่วมลงทุนโดยมีข้อแม้ ว่าต้องไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่จนมีอำนาจในการบริหารจัดการเพียงฝ่ายเดียว และต้องไม่เป็นกิจการของรัฐ หรือเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ เพื่อกำหนดการให้ดอกเบี้ยจูงใจให้ประชาชนเข้ามาระดมทุน จากนั้นเมื่อกองทุนรวมดังกล่าวเป็นรูปธรรมก็จะนำเงินที่ได้ ไปขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกให้เข้าถึงประชาชนในทุกอำเภอ ทุกหมู่บ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทำได้ไม่ยากแค่ 2 ปีก็คงเห็นผลเพราะปัจจุบันมันซ้ำซ้อนกันอยู่เพียงแต่จะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เชื่อมต่อกันและบางพื้นที่ที่ยังไม่มีการขยายโครงข่ายก็ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน
     
       ขณะเดียวกันก็ต้องการขยาย International Gateway ให้มีมากขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 2-3 ราย ทำให้มีปัญหาคอขวดในการเชื่อมต่อออกนอกประเทศและราคาก็สูงมาก ดังนั้นรัฐบาลก็มีแนวคิดในการหาทุนคล้ายกับรูปแบบของไฟเบอร์ออปติกด้วย ซึ่งหากประเทศไทยมี International Gateway ที่ลื่นไหลและราคาไม่แพงก็จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมาใช้บริการของเรามากขึ้นด้วย
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกสิ่งต้องออนไลน์ได้หมด ข้อมูลจึงต้องเป็นดิจิตอลมากขึ้น การเก็บข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นแทนที่ปัจจุบันต่างคนต่างใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง รัฐบาลก็ควรเป็นตัวกลางในการบริหารจัดการ หรือ ลงทุนทำ ดาต้า เซ็นเตอร์ มีการเชิญชวนเอกชนที่มีดาต้า เซ็นเตอร์ มาทำงานร่วมกัน ซึ่งสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทันทีเพราะปัจจุบันประเทศไทยมีดาต้า เซ็นเตอร์ที่ต่างคนต่างทำอยู่จำนวนมาก
     
       บันไดขั้นที่สอง : Soft Infrastructure
     
       เมื่อทุกอย่างออนไลน์ได้ สิ่งที่เกี่ยวข้องที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกันคือ ทำอย่างไรให้การทำสิ่งต่างๆในโลกออนไลน์มีความปลอดภัย ซึ่งบันไดขั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับการแก้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ..... พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น มีการแก้ พ.ร.บ.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มบทบาทหน้าที่ของสำนักงานดังกล่าวในการดูแลงานด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มากขึ้น ควบคู่กับการร่างกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกด้วย
     
       ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีการแก้กม.เพื่อให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในปัจจุบันเปลี่ยนบทบาทเป็นกระทรวงใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบาย Digital Economy และเป็นตัวแทนหลักในการดำเนินการแก้ไขและยกร่างกม.ต่างๆที่เกี่ยวข้องเสนอต่อสภานิติบัญญัติ (สนช.) ภายในเดือน ก.พ. 58นี้ทั้งหมด
     
       บันไดขั้นที่สาม : Service Infrastructure
     
       บันได้ขั้นนี้เป็นการสร้างแพลทฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ เพื่อรองรับการให้บริการภาคประชาชน ให้ประชาชนสามารถทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ง่ายด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น การสร้างแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถสร้างธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
     
       บันไดขั้นที่สี่ : Digital Content
     
       หากพูดถึงบันไดทั้ง 3 ขั้นที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับให้บันไดขั้นที่สี่นี้ประสบความสำเร็จมากที่สุดเพราะบันไดทั้ง 3 ขั้นไม่ได้สร้างเงิน แต่เป็นการทำให้บันไดขั้นนี้สร้างเงินได้ บันไดขั้นนี้จะพูดถึงการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีที่มีไอเดียดีๆแต่ไม่รู้วิธีการทำธุรกิจ ได้มีโอกาสทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ได้โดยง่าย เพียงแค่เสนอแนวคิด หากแนวคิดเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเกิดขึ้นได้จริง แนวคิดนั้นจะถูกซื้อและสร้างให้เกิดธุรกิจโดยเงินทุนมาจากการระดมทุนจากผู้ ที่สนใจ โดยรัฐบาลจะมีช่องทางให้เรียนรู้เรื่องการทำธุรกิจผ่านออนไลน์อย่างละเอียด หรือหากไม่เข้าใจก็โทร.เข้ามาสอบถามหรือเข้าร่วมอบรมได้
     
       จุดนี้จะช่วยสร้างผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหม่ๆให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้โอท็อปของไทยมีช่องทางขายของมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนมีหน้าร้าน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ประเทศไทยต้องทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่าง อาลีบาบาของประเทศจีน ต้องมีการสร้างแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยเป็นสากลและรองรับภาษา เออีซี ด้วย เมื่อสินค้ามากขึ้น เกตเวย์ถูกลง ต่างประเทศก็เข้ามาซื้อสินค้าอีคอมเมิร์ซของไทยมากขึ้น
     
       บันไดขั้นที่ห้า : Digital Society
     
       Digital Society คือการสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเครือข่าย และข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ให้เข้าถึงทุกหน่วยงานทั้งโรงเรียน สาธารณสุข ยกตัวอย่างเช่น การทำให้โรงเรียนหรือโรงพยาบาลห่างไกล ต้องเข้าถึงโลกออนไลน์ได้เท่าเทียมกับโรงเรียนหรือโรงพยาบาลในเมือง
     
       บันไดขั้นที่หก : Digital Knowledge
     
       เนื่องจากสินค้าดิจิตอลมีความแตกต่างจากสินค้าทั่วไป ถึงจะอยู่นานเป็น 10 ปีแต่ก็ไม่เก่า ไม่เสื่อม ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้สินค้าดิจิตอลที่เก่าเหล่านี้ถูกนำกลับมาใช้ได้ใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ยกตัวอย่างเช่น การนำเพลงเก่าที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว มาแต่งเพิ่มใส่ดนตรีหรือเนื้อร้องเพิ่มเติมให้ได้เพลงใหม่ เป็นต้น
     
       พูดมาถึงบันได 6 ขั้นนี้แล้ว อาจฟังดูลอยๆและคงเป็นรูปธรรมได้ยากหากไม่มีคนขับเคลื่อนให้เกิด ดังนั้นเพื่อให้แนวนโยบายนี้สำเร็จรัฐบาลจึงต้องมีการร่าง พ.ร.บ....เพื่อจัดให้มี คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล ให้มีอำนาจในการขับเคลื่อนโนบายดังกล่าวซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานและมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นคณะกรรมการด้วย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 30 คน อาทิ รมว.และปลัดของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข พ.ร.บ. ภาคเอกชน ประธานกสทช. และผู้เชี่ยวชาญด้านไอที
     
       ที่สำคัญคือคณะกรรมการชุดนี้ต้องเฟ้นหาบุคลากรหัวกะทิมาร่วมเป็นอนุกรรมการในบันไดทั้ง 6 ขั้นนี้ โดยอนุกรรมการเหล่านี้จะสังกัดอยู่ภายใต้โครงสร้างใหม่ของกระทรวงไอซีที เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายของคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล ดังนั้นผู้ทำงานหลักในการประสานงานกับทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จจึงอยู่ที่คณะอนุกรรมการเหล่านี้ บุคลากรที่จะเข้ามาเป็นอนุกรรมการจึงต้องเป็นคนเก่ง คนดี รักชาติ และพร้อมจะขับเคลื่อนให้นโยบาย Digital Economy เกิดเป็นรูปธรรมได้โดยไม่สนใจการเมืองหรือสนใจแรงจูงใจที่อาจจะถูกซื้อตัวไปอีกในอนาคต
     
       หากรัฐบาลทำตามกระบวนการทั้งหมดอย่างที่กล่าวมานี้ได้ ประเทศไทยก็จะก้าวสู่ Digital Economy ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
     
       เปลี่ยนชื่อกระทรวงรับบทบาทใหม่
     
       หลายคนสงสัยว่าทำไมนโยบาย Digital Economy ทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องเปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โกศล กล่าวว่า เพื่อปรับบทบาทให้กระทรวงไอซีทีทำงานในบทบาทที่เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงต้องมีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับอนุกรรมการทั้ง 6 ด้านดังกล่าว
     
       อนุกรรมการทั้งหมดจะอยู่ลอยๆไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ พ.ร.บ.กระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวอยู่ภายใต้กระทรวงไอซีทีหรือกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้สามารถทำงานอย่างเป็นรูปธรรมได้ โดยมีหน้าที่หลักในการประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับบันได 6 ขั้นนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้
     
       'คนที่จะเข้ามาทำงานในอนุกรรมการทั้ง 6 ด้านนี้ ต้องเป็นคนที่ถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดีว่าจะมุ่งมั่นทำให้ฝันที่ตั้งไว้เกิดขึ้นจริง นอกจากจะต้องเป็นคนเก่ง เป็นคนรุ่นใหม่ แล้วยังต้องเป็นคนรักชาติเพราะงานนี้รัฐบาลต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรมมากที่ สุดภายในรัฐบาลยุคนี้และต้องต่อเนื่องไปอีกแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ตาม ดังนั้นเมื่อโครงสร้างกระทรวงเปลี่ยนจึงต้องเปลี่ยนชื่อกระทรวงให้สอดรับกับการทำงานรูปแบบใหม่'


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000006011

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.