Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มกราคม 2558 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ เปิดโครงการให้สายโทรคมนาคมใน กรุงเทพฯต้องลงดิน!! คาดให้ คสช.ออกมาเป็นคำสั่งของ คสช.หรือยกร่างพระราชบัญญัติ ใช้งบประมาณหมื่นล้านบาท ( เหตุเสาไฟฟ้ารับน้ำหนักไม่ไหว )

ประเด็นหลัก



   
       ดังนั้น กสทช. จึงได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเจรจาร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง และโอเปอเรเตอร์มือถือ เพื่อนำสายไฟเบอร์ออปติกทุกประเภทลงดินให้หมด โดยในสัปดาห์หน้า จะให้เอกชนส่งข้อเสนอ แนะกลับมายังสำนักงาน กสทช.จากนั้นภายในวันที่ 15 ก.พ.58 กสทช.จะส่งรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อดำเนินการต่อไป มั่นใจภายใน 1-2 ปี จะสามารถดำเนินการนำสายโทรคมนาคมลงดินเสร็จสิ้นทั้งหมด
   
       การดำเนินการนำสายโทรคมนาคมลงท่อใต้ดินนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณหมื่นล้านบาท ดังนั้น จะต้องมีผู้ลงทุนด้านนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการเช่าใช้ ซึ่งแนวทางที่ กสทช.จะเสนอมี 3 รูปแบบคือ 1.ให้ กทม.เป็นผู้ดำเนินการขุดวางท่อทั้งหมด 2.ให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ และ 3.เอกชนมาลงทุนร่วมกัน ซึ่งทุกแนวทางจะให้ คสช.เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะออกมาเป็นคำสั่งของ คสช.หรือยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้การดำเนินการทำได้ง่ายขึ้น
   
       “ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโอเปอเรเตอร์ นอกจากไม่สามารถพาดสายได้แล้ว ยังไม่สามารถนำสายบางส่วนลงดินได้ เพราะ กทม.ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้สิทธิการนำสายลงดินได้เฉพาะผู้ประกอบที่เป็นรัฐด้วยกันเท่านั้น เช่น การไฟฟ้า ทีโอที กสท โทรคมนาคม เพราะด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย และปัญหาด้านความมั่นคง ดังนั้น กสทช.จึงจะรับเป็นตัวกลางในการเจรจากับ คสช.ในการแก้ไขกฎหมาย ข้อบังคับให้สามารถดำเนินการได้ เพราะหากอยู่ในสภาวะปกติ และมีรัฐบาลใหม่แล้วค่อยทำ เชื่อว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการล่าช้ามาก”

_____________________________________________________


















กสทช.ลั่นภายใน 2 ปี กทม.ไร้สายโทรคมนาคมระโยงระยาง



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

        กสทช.อาสาเป็นเจ้าภาพเจรจานำสายโทรคมนาคมลงดิน สนองนโยบาย Digital Economy หลังโอเปอเรเตอร์ร้องไม่สามารถขยายสายโครงข่าย 3G-4G ได้ เพราะเสาไฟฟ้ารับน้ำหนักไม่ไหว คาดต้องใช้งบประมาณหมื่นล้าน สั่งผู้ประกอบการรวบรวมข้อมูลใน 7 วัน ก่อนส่งเรื่อง คสช.ภายใน 15 ก.พ.นี้ เพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2 ปี
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ได้เรียกผู้ประกอบการเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประเภท 2 และ 3 แบบมีโครงข่ายเป็นของตัวเองรวม 40 ราย มาหารือร่วมกันถึงปัญหาข้อร้องเรียนจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือว่า ขณะนี้ไม่สามารถขยายสายโครงข่าย 3Gและ 4G เพิ่มเติมได้ เนื่องจากเสาของการไฟฟ้านครหลวงปัจจุบันที่ปกติรับพาดสายไม่สามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้อีกต่อไป
     
       ดังนั้น กสทช. จึงได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเจรจาร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง และโอเปอเรเตอร์มือถือ เพื่อนำสายไฟเบอร์ออปติกทุกประเภทลงดินให้หมด โดยในสัปดาห์หน้า จะให้เอกชนส่งข้อเสนอ แนะกลับมายังสำนักงาน กสทช.จากนั้นภายในวันที่ 15 ก.พ.58 กสทช.จะส่งรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อดำเนินการต่อไป มั่นใจภายใน 1-2 ปี จะสามารถดำเนินการนำสายโทรคมนาคมลงดินเสร็จสิ้นทั้งหมด
     
       การดำเนินการนำสายโทรคมนาคมลงท่อใต้ดินนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณหมื่นล้านบาท ดังนั้น จะต้องมีผู้ลงทุนด้านนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการเช่าใช้ ซึ่งแนวทางที่ กสทช.จะเสนอมี 3 รูปแบบคือ 1.ให้ กทม.เป็นผู้ดำเนินการขุดวางท่อทั้งหมด 2.ให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ และ 3.เอกชนมาลงทุนร่วมกัน ซึ่งทุกแนวทางจะให้ คสช.เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะออกมาเป็นคำสั่งของ คสช.หรือยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้การดำเนินการทำได้ง่ายขึ้น
     
       “ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโอเปอเรเตอร์ นอกจากไม่สามารถพาดสายได้แล้ว ยังไม่สามารถนำสายบางส่วนลงดินได้ เพราะ กทม.ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้สิทธิการนำสายลงดินได้เฉพาะผู้ประกอบที่เป็นรัฐด้วยกันเท่านั้น เช่น การไฟฟ้า ทีโอที กสท โทรคมนาคม เพราะด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย และปัญหาด้านความมั่นคง ดังนั้น กสทช.จึงจะรับเป็นตัวกลางในการเจรจากับ คสช.ในการแก้ไขกฎหมาย ข้อบังคับให้สามารถดำเนินการได้ เพราะหากอยู่ในสภาวะปกติ และมีรัฐบาลใหม่แล้วค่อยทำ เชื่อว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการล่าช้ามาก”
     
       นอกจากนี้ หากไม่สามารถขยายโครงข่ายเพิ่มเติมได้จะทำให้การขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย Digital Economy ของรัฐบาลสะดุด เพราะสายที่ต้องการขยายเพิ่มเติมอันประกอบไปด้วยสายโครงข่ายโทรคมนาคม 3G ,4G สายไฟเบอร์ออปติก บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และสายเคเบิล ล้วนแต่เป็นโครงข่ายที่ขับเคลื่อนตามนโยบาย Digital Economy ทั้งสิ้น
     
       อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เคยกล่าวถึงปัญหาสายโทรคมนาคมที่พาดตามสายไฟฟ้าที่ไม่ได้รับการแก้ไข และไม่มีหน่วยงานใดแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังได้ว่า หากมีคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล จะสามารถจัดการปัญหานี้ได้ และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลต้องแก้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) เนื่องจากปัญหานี้สะสมมาอย่างยาวนานแต่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000006875

_________________________________






_____________________________________________________


















กสทช.ผุดแผนดึงสายไฟ-โทรคมนาคมลงดิน เสารับน้ำหนักขยายโครงข่ายไม่ไหว


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ทาง กสทช.ได้มีการหารือร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ประมาณ 30-40 ราย ในเรื่องสิทธิแห่งทางของการพาดสายโทรคมนาคม

โดยจากการหารือพบว่า ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม มีปัญหาด้านการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมประเภทสาย อาทิ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี, 4จี อินเตอร์เนต หรือเคเบิ้ลทีวี เนื่องจากเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ไม่สามารถรองรับน้ำหนักจากการพาดสายเพิ่มเติมได้ ดังนั้น ในส่วนของภาคเอกชนจึงไม่สามารถขยายโครงข่ายการให้บริการด้านโทรคมนาคมและอินเตอร์เนตเพิ่มเติมได้

อย่างไรก็ตาม จากการหารือกันในครั้งนี้ ได้มีมติร่วมกันว่า กสทช.จะเป็นหน่วยงานกลางในการรับหน้าที่ทำเรื่องเสนอไปยังรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการนำสายไฟฟ้าและสายโทรคมนาคมทุกประเภทลงไปไว้ใต้ดินพร้อมกันทั้งประเทศ โดยในส่วนของการดำเนินการและการลงทุนนั้น ได้เสนอให้รัฐบาล และ คสช.พิจารณาใน 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 1.ให้กรุงเทพมหานคร และเทศบาล เป็นผู้ลงทุน 2.ให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุน และ 3.ให้ภาคเอกชนร่วมกันลงทุน โดยผู้ที่จะใช้งานพาดสายใต้ดินจะต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้ลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังจากรวบรวมความคิดเห็น และสรุปข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดแล้ว จะส่งเรื่องดังกล่าวให้ทางรัฐบาล และ คสช. พิจารณาภายใน 1 เดือน

“ถ้าในยุคการขับเคลื่อนนโยบายดิจิตอลอีโคโนมีเช่นนี้ หากไม่สามารถทำในเรื่องการเอาสายไฟฟ้าและสายโทรคมนาคมทุกปเภทลงดินได้ การขับเคลื่อนนโยบายดิจิตอลอีโคโนมีคงยากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถขยายโครงข่ายได้ ส่วน กสทช.เองนั้น ถ้าทำไม่ได้ ก็คงไม่มีที่ยืนต่อไปได้แล้ว แต่ถ้าทำสำเร็จ การเดินหน้านโยบายก็จะเดินต่อไปได้ อีกทั้งพื้นที่กรุงเทพฯและทั่วทั้งประเทศ ก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องทัศนียภาพไปด้วยเช่นกัน” นายฐากร กล่าว

ทั้งนี้ หากรัฐบาล และ คสช. อนุมัติ ในส่วนการดำเนินการคาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 1 ปีเศษ โดยในส่วนของการพาดสายจะเป็นการวางให้ลึกลงไปจากพื้นดินระยะ 2 เมตร เพื่อความปลอดภัย และในการหารือกับภาคเอกชน ยังมีมติร่วมกันว่าในการลงทุนควรให้บริษัทเดียวเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ ประกอบกับส่วนใหญ่ต้องการให้กรุงเทพมหานครและเทศบาล เป็นผู้ลงทุน เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่

 http://www.naewna.com/business/140372


_______________________________________


กสทช.เล็งชงแผนนำสายโทรคมนาคมลงดิน

เด็กเชียงใหม่เปลี่ยนน้ำเสียเป็นน้ำใส
"ฐากร" เผย กสทช.จับมือผู้ประกอบการโทรคมนาคม เสนอแผนนำสายลงใต้ดิน หนุนนโยบาย "ดิจิตอล อีโคโนมี่"



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมหารือกับผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตโทรคมนาคมแบบมีโครงข่ายเป็นของตนเอง โดยจะเสนอแผนนำสายโทรคมนาคมทั้งสายอินเตอร์เน็ต สายเคเบิลทีวี ลงท่อใต้ดิน ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และรัฐบาล เนื่องจากพบปัญหาการขยายและเดินสายโทรคมนาคม เช่น สายโทรศัพท์และสายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสายเคเบิลทีวี เสาไฟฟ้าที่ให้บริการไม่สามารถรับน้ำหนักสายต่างๆบนเสาไฟฟ้าเพิ่มได้อีกทำให้ไม่สามารถขยายบริการโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม การพาดสายและการขยายการให้บริการโทรคมนาคมจะใช้แนวทางการนำสายโทรคมนาคมและเคเบิลทีวีบรรจุในท่อและฝังลงใต้ดิน โดยมีหน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการและให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเช่าใช้ โดยเบื้องต้นเสนอให้ กรุงเทพมหานครบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไม่สามารถขยายบริการโทรคมนาคมได้ยังส่งผลกระทบทำต่อการขับเคลื่อนนโยบายดิจิตอลอีโคโนมีของรัฐบาลที่จำเป็นต้องมีบริการด้านโทรคมนาคมอีกด้วย



http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20150119/629610/กสทช.เล็งชงแผนนำสายโทรคมนาคมลงดิน.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.