Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 มกราคม 2558 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร้องนายกฯ พิจารณาชะลอยกร่าง ก.ม.ดิจิทัล หลังพบเนื้อหาเน้นควบคุมแถมละเมิดสิทธิ์ มีการหมกเม็ดให้อำนาจแก่หน่วยงานรัฐ โดยปราศจาการการตรวจสอบจากกฎหมายหรือหน่วยงานใดๆ

ประเด็นหลัก


สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ในฐานะองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพการผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากร่างกฎหมายดังกล่าว ได้ประชุมหารือกันเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นเบื้องต้นเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้


1. สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์สนับสนุนหลักการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ “ดิจิทัล” มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยหากจะมีการผลักดันดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเร่งรัดออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน

2. เนื้อหาของร่างกฎหมายหลายฉบับ มีลักษณะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งจะมีผลในการจำกัดเสรีภาพ ในการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นการออกกฎหมายที่ไม่ส่งเสริมหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่จำกัดการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วย

3. พนักงานเจ้าหน้าที่ในร่างกฎหมายหลายฉบับ ถูกกำหนดให้มีอำนาจอย่างไร้ขอบเขตและปราศจากการกลั่นกรอง หรือมีการรับรองการใช้อำนาจเข้าตรวจค้นจับกุม ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิ์ของเอกชน เช่น การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นจับกุมโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการขยายขอบเขตการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงง่ายต่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดจนเป็นการรบกวนสิทธิ์ของประชาชน

4. ลักษณะของเนื้อหาตามร่างกฎหมายบางฉบับ มีการหมกเม็ดให้อำนาจแก่หน่วยงานรัฐ โดยปราศจาการการตรวจสอบจากกฎหมายหรือหน่วยงานใดๆ ซึ่งถือเป็นการผิดวิสัยของการร่างกฎหมาย ที่ไม่เป็นตามมาตรฐานของการบัญญัติกฎหมาย หรือเข้าข่ายการร่างกฎหมายตามอำเภอใจ ซึ่งหากไม่มีการพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว กฎหมายที่ออกมาก็จะเป็นกฎหมายที่ขัดกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

5. เนื้อหาของร่างกฎหมายหลายฉบับ มีลักษณะของการ “ควบคุม” มากกว่า “ส่งเสริม” การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยดิจิทัล ตามเจตนารมณ์ที่รัฐบาลประกาศต่อสาธารณชน ซึ่งอาจจะมีผลให้ภาคธุรกิจต่างประเทศถอนหรือยกเลิกการลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ด้วยเหตุผลข้างต้น สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จึงขอเรียกร้องมายัง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับ และเปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การพิจารณาผลักดันนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นไปด้วยความรอบคอบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะยาวต่อไป.



_____________________________________________________













คนข่าวออนไลน์เรียกร้อง 'ประยุทธ์' ชะลอ ร่าง ก.ม.ดิจิทัล 10 ฉบับ


สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ยื่นจดหมายเปิดผนึก ให้นายกฯ พิจารณาชะลอยกร่าง ก.ม.ดิจิทัล หลังพบเนื้อหาเน้นควบคุมแถมละเมิดสิทธิ์ ไม่ส่งเสริมหลักประชาธิปไตย และให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบไร้ขอบเขต วอนรับฟังความเห็นคนส่วนมากก่อน

วันที่ 22 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเนื้อหาภายในจดหมายระบุถึงข้อห่วยใยต่อ ร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไอทีและอินเทอร์เน็ตจำนวน 10 ฉบับ ภายใต้แนวคิดการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

ได้แก่ 1) ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 4) ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 6) ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

7) ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 8) ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 9) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 10) ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่งการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ในฐานะองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพการผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากร่างกฎหมายดังกล่าว ได้ประชุมหารือกันเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นเบื้องต้นเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้


1. สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์สนับสนุนหลักการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ “ดิจิทัล” มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยหากจะมีการผลักดันดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเร่งรัดออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน

2. เนื้อหาของร่างกฎหมายหลายฉบับ มีลักษณะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งจะมีผลในการจำกัดเสรีภาพ ในการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นการออกกฎหมายที่ไม่ส่งเสริมหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่จำกัดการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วย

3. พนักงานเจ้าหน้าที่ในร่างกฎหมายหลายฉบับ ถูกกำหนดให้มีอำนาจอย่างไร้ขอบเขตและปราศจากการกลั่นกรอง หรือมีการรับรองการใช้อำนาจเข้าตรวจค้นจับกุม ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิ์ของเอกชน เช่น การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นจับกุมโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการขยายขอบเขตการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงง่ายต่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดจนเป็นการรบกวนสิทธิ์ของประชาชน

4. ลักษณะของเนื้อหาตามร่างกฎหมายบางฉบับ มีการหมกเม็ดให้อำนาจแก่หน่วยงานรัฐ โดยปราศจาการการตรวจสอบจากกฎหมายหรือหน่วยงานใดๆ ซึ่งถือเป็นการผิดวิสัยของการร่างกฎหมาย ที่ไม่เป็นตามมาตรฐานของการบัญญัติกฎหมาย หรือเข้าข่ายการร่างกฎหมายตามอำเภอใจ ซึ่งหากไม่มีการพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว กฎหมายที่ออกมาก็จะเป็นกฎหมายที่ขัดกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

5. เนื้อหาของร่างกฎหมายหลายฉบับ มีลักษณะของการ “ควบคุม” มากกว่า “ส่งเสริม” การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยดิจิทัล ตามเจตนารมณ์ที่รัฐบาลประกาศต่อสาธารณชน ซึ่งอาจจะมีผลให้ภาคธุรกิจต่างประเทศถอนหรือยกเลิกการลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ด้วยเหตุผลข้างต้น สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จึงขอเรียกร้องมายัง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับ และเปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การพิจารณาผลักดันนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นไปด้วยความรอบคอบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะยาวต่อไป.



http://www.thairath.co.th/content/476452

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.