Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มกราคม 2558 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ขอให้ยกเลิกแล้วทำ กม.ดิจิตอล 10 ฉบับ ใหม่ ( แก้ กสทช. ต้องให้มีประสิทธิภาพโดยคลื่นกสทช.ดูแล )(เพิ่มกรรมการด้านสิทธิและผู้บริโภค ไปในพรบ.ไซเบอร์)


ประเด็นหลัก


       อีกทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านที่เกี่ยวข้องคือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการตัดกรรมการด้านสิทธิและผู้บริโภคออกไป 3 ตำแหน่ง และเพิ่มกรรมการด้านความมั่นคงเข้ามา 2 ตำแหน่ง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม จากภาคประชาชนและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จึงขอเสนอให้มีการเพิ่มตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการในร่างกฎหมายทุกฉบับด้วย
     
       ด้านนางสาวชลดา บุญเกษม คณะกรรมการองค์การอิสระฯ กล่าวว่า ในกฎหมายหลายฉบับมีการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เช่น ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ใน มาตรา 35(3) ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร โดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในฐานะผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ถูกดักฟัง ถูกดึงข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ โดยไม่มีการคุ้มครองหลักประกันความปลอดภัยใดๆ สุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ
     
       ดังนั้นคณะกรรมการจึงขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 35 ในกฎหมายดังกล่าวด้วย และให้มีตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ

 
       ด้านนางสาวบุญยืน ศิริธรรม คณะกรรมการองค์การอิสระฯ เปิดเผยว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ. กสทช.) ที่มีการแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เห็นว่ากสทช.ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับกิจการควรคงความเป็นอิสระ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกสทช.ไม่ควรเป็นการเอากลับเข้ามาอยู่ในกำกับของรัฐ แต่ควรแก้ไขด้วยการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค กลไกการตรวจสอบ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการ กสทช.ทุกชุด รวมไปทั้งการแก้ไขการถอดถอนให้ทำได้ง่ายมากขึ้นหากพบว่าการทำงานไม่มี ประสิทธิภาพและมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส

_____________________________________________________














องค์กรผู้บริโภคจ่อยื่นหนังสือนายกฯ/สนช.ทบทวนกม.ดิจิตอล 10 ฉบับ



        'องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน' เสนอรัฐบาลทบทวนกฎหมายดิจิตอล 10 ฉบับ ยันควรแก้ไขใหม่แบบเพิ่มสิทธิผู้บริโภคและผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย เน้น กม.ต้องเขียนเพื่อให้ก้าวหน้า ไม่ใช่ถอยหลังเข้าคลอง หรือมุ่งเพิ่มอำนาจให้รัฐ เดินหน้าเตรียมนำเอกสารเสนอนายกฯและสนช.ด่วนที่สุด
     
       นายรุจ โกมลบุตร คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ฯ นำร่อง ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ร่างพ.รบ.ทั้ง 10 ฉบับ ที่สนับสนุนนโยบาย Digital Economy นั้น ขาดมิติการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงได้เตรียมนำข้อมูลเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะผู้ทำหน้าที่พิจารณากฎหมายทั้ง 10 ฉบับ และรวมถึงจะนำข้อมูลทั้งหมดนี้เสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลเร็วๆนี้ ด้วย
     
       'เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้บริโภคทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งการนำข้อมูลของผู้บริโภคไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้นในกระบวนการออกกฎหมายดังกล่าวขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค'
     
       คณะกรรมการองค์การอิสระฯเห็นว่า การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ ไทยให้เข้มแข็ง ต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคในฐานะผู้ที่ใช้บริการดิจิตอลต่างๆ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการดิจิตอลด้วยซึ่งในกฎหมายหลายฉบับไม่มี เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ร่างกฎหมายทั้งหมดขาดกลไกคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ชัดเจน
     
       อีกทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านที่เกี่ยวข้องคือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการตัดกรรมการด้านสิทธิและผู้บริโภคออกไป 3 ตำแหน่ง และเพิ่มกรรมการด้านความมั่นคงเข้ามา 2 ตำแหน่ง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม จากภาคประชาชนและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จึงขอเสนอให้มีการเพิ่มตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการในร่างกฎหมายทุกฉบับด้วย
     
       ด้านนางสาวชลดา บุญเกษม คณะกรรมการองค์การอิสระฯ กล่าวว่า ในกฎหมายหลายฉบับมีการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เช่น ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ใน มาตรา 35(3) ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร โดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในฐานะผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ถูกดักฟัง ถูกดึงข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ โดยไม่มีการคุ้มครองหลักประกันความปลอดภัยใดๆ สุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ
     
       ดังนั้นคณะกรรมการจึงขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 35 ในกฎหมายดังกล่าวด้วย และให้มีตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ
     
       ขณะที่นายจุมพล ชื่นจิตต์ศิริ คณะกรรมการองค์การอิสระฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีเพียงการกำกับดูแล 'ผู้ควบคุมข้อมูล' ไม่ให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ประวัติการศึกษา สถานะทางการเงิน ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้หรือเปิดเผย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นการช่วยคุ้มครองผู้บริโภคส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงบรรดา ผู้ที่ส่งข้อความโฆษณารบกวน หรือ หรือสแปม มาทาง เอสเอ็มเอส อีเมล์ หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก ซึ่งสร้างความรำคาญและเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค
     
       ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเสนอว่าควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระของกฎหมายให้ครอบคลุม คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าวด้วยไม่ว่าจะเป็น การส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสารใด ๆ ที่ผู้บริโภคมิได้ร้องขอ จะทำได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคอย่างชัดแจ้ง การกำหนดให้ผู้ส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์จะต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อ ให้ชัดเจน และการแจ้งชื่อหรือที่อยู่ปลอมถือเป็นความผิด ควรมีการกำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องแจ้งให้ผู้รับทราบอย่างชัดเจนว่า ข้อความที่ได้รับนั้นเป็น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่สำคัญต้องกำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องระบุวิธีการยกเลิก ได้สะดวก รวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่าย จำกัดจำนวนสูงสุดในการส่งข้อความ เช่น ไม่เกิน 2,500 ฉบับภายใน 24 ชั่วโมง รวมถึงกำหนดโทษทางอาญาที่รุนแรง
     
       ด้านนางสาวบุญยืน ศิริธรรม คณะกรรมการองค์การอิสระฯ เปิดเผยว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ. กสทช.) ที่มีการแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เห็นว่ากสทช.ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับกิจการควรคงความเป็นอิสระ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกสทช.ไม่ควรเป็นการเอากลับเข้ามาอยู่ในกำกับของรัฐ แต่ควรแก้ไขด้วยการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค กลไกการตรวจสอบ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการ กสทช.ทุกชุด รวมไปทั้งการแก้ไขการถอดถอนให้ทำได้ง่ายมากขึ้นหากพบว่าการทำงานไม่มี ประสิทธิภาพและมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส
     
       'เราไม่ได้คัดค้านกม. แต่กม.ต้องเขียนเพื่อให้ก้าวหน้า ไม่ใช่ถอยหลังเข้าคลอง รัฐไม่ควรเพิ่มอำนาจให้รัฐ อย่างกสทช.ที่มีปัญหาทุกวันนี้ไม่ได้อยู่ที่องค์กร มันอยู่ที่คน การดึงองค์กรไปอยู่ภายใต้อำนาจรัฐมันไม่ได้แก้ปัญหา และรัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า เห็นนายกฯบอกเราว่ามีอะไรก็ให้บอก เราก็จะบอกและอาจจะรวมตัวกันไปยื่นจดหมายถึงนายกฯโดยตรงให้เร็วที่สุด'
     

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000010476

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.