Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มกราคม 2558 AIS ระบุ จำนวน Network 3G มีมากกว่าคู่แข่ง 20% ตลอดเวลา ( พร้อมประมูล 4G , การขยายโครงข่ายไร้สาย,การลงทุนซูเปอร์ไวไฟ (Super Wi-Fi) สามารถให้ความเร็วได้สูงสุด 650 Mbps )

ประเด็นหลัก


   
       'ถ้ามองถึงมูลค่าในตลาดปี 2558 จะคิดเป็นมูลค่าจากการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 2.33 แสนล้านบาท รายได้จากการจำหน่ายสมาร์ทดีไวซ์ 1.27 แสนล้านบาท และจากการให้บริการฟิกซ์ไลน์หรือฟิกซ์บรอดแบนด์ 6.2 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมาธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือมีมูลค่าราว 2.24 แสนล้าน ธุรกิจจำหน่ายสมาร์ทดีไวซ์ 1.15 แสนล้าน และรายได้จากการให้บริการฟิกซ์ไลน์อยู่ที่ 5.4 หมื่นล้าน'
     
       โดยจากการเติบโตของการใช้งานดาต้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การมาของ Internet of Thing เข้าใกล้ผู้บริโภคชาวไทยมากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการเตรียมการที่เป็นรูปธรรมเพื่อการใช้บริการดังกล่าว

     *** 3 แกนหลักเอไอเอส
     
       โดยรูปแบบธุรกิจที่จะปรับเสริมเพิ่มเติม เริ่มจากส่วนที่ 1 การขยายโครงข่ายไร้สาย (Wireless Expansion) ด้วยการลงทุน 3G อีกอย่างน้อย 3 หมื่นล้านบาท จากที่ลงไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเป็น 29,000 สถานี มากกว่าคู่แข่ง 20% ตลอดเวลา จากปัจจุบันที่มีให้บริการอยู่ 17,800 สถานี ไม่นับรวมกับเงินประมูล 4G ที่แยกไว้ต่างหาก
     
       'การลงทุนสถานีฐานเพิ่ม ส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมไว้รับกับมือถือ 3G ที่เข้ามาให้เพียงพอ เน้นเพิ่มความหนาแน่นของพื้นที่ที่มีการใช้บริการ และเข้าไปเสริมในจุดที่ยังเข้าไม่ถึง โดยปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน 3G ประมาณ 30 กว่าล้าน ส่วนที่เหลืออยู่ในการใช้บริการ 2G'
     
       นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์อย่าง ไทยคม เพื่อให้บริการไปยังผู้ที่ใช้งานอยู่ในท้องทะเล ขยายบริการ AIS Wi-Fi สู่สายการบินนกแอร์ เพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตขณะอยู่บนท้องฟ้า พร้อมกับขยายไปยังสายการบินอื่นๆ ในอนาคต
     
       ส่วนที่ 2 ที่จะเพิ่มเติมในส่วนของไวร์เลส คือการลงทุนซูเปอร์ไวไฟ (Super Wi-Fi) สามารถให้ความเร็วได้สูงสุด 650 Mbps เร็วกว่าการเชื่อมต่อ 4G ประมาณ 5-6 เท่า โดยจะเริ่มจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และแหล่งที่คนรุ่นใหม่ใช้งาน สุดท้ายคือความพร้อมที่จะร่วมประมูล 4G
     
       ขณะที่การเปิดให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์ก็เริ่มขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ทางเอไอเอสได้วางเงินลงทุนไปแล้วกว่า 4.6 พันล้านบาท ในการขยายพื้นที่ให้บริการ และเชื่อมั่นว่าเป็นการลงทุนที่ถูกที่ถูกเวลา
     
       'มีเหตุผล 2 ประการที่ทำให้มั่นใจว่าการเปิดให้บริการในช่วงนี้เป็นเวลาที่พอเหมาะ คือ ตอนนี้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตขยายไปในวงกว้าง มีความสมบูรณ์ของอินฟราสตรักเจอร์ ดีไวซ์ และแอปพลิเคชัน เข้ามาสอดคล้องกันพอดี ดังนั้นการลงทุนในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด'
     
       มีข้อมูลประมาณการว่า ใน 5 ปีข้างหน้าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านครัวเรือน ถ้ารวมกับลูกค้า 5 ล้านครัวเรือนที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการอื่นในปัจจุบัน เพราะกว่า 90% เป็นเทคโนโลยีเก่าแบบ ADSL ดังนั้นเมื่อเอไอเอสเปิดให้บริการ AIS Fibernet ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่กว่าก็น่าจะมีการย้ายมาใช้งานเพราะให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 1 Gbps



    อีกทั้ง เอไอเอสเตรียมขยายเครือข่าย 3 จี บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องกว่า 30,000 ล้านบาท จากที่ลงทุนไปแล้วตั้งแต่ที่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 80,000 ล้านบาท และจะมีสถานีฐานเป็น 29,000 แห่ง จากปัจจุบันที่ให้บริการแล้ว 20,000 แห่ง ซึ่งเอไอเอสจะเป็นผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายมากที่สุดในตลาด และจะคงสถานะให้มีเน็ตเวิร์ก 3 จี มากกว่าคู่แข่ง 20% ตลอดเวลา รวมถึงการเตรียมความพร้อมสู่การประมูล 4 จี ทันทีที่เปิดประมูล.



_____________________________________________________












ถึงเวลา “AIS Change”



นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการ (ซ้าย) และ นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ขวา) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส

        เอไอเอสเผยวิสัยทัศน์ 5 ปีสู่การเป็น “ดิจิตอลไลฟ์พาร์ตเนอร์” สานต่อจากแนวคิดดิจิตอลไลฟ์เซอร์วิสโพรวายเดอร์ ที่จะผสานการให้บริการดิจิตอลต่างๆ ร่วมกับพันธมิตรเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค พร้อมทุ่มเงินลงทุนเพื่อวางรากฐานกว่า 4 หมื่นล้านบาทในปีนี้
     
       นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในปี 2558 ว่า จากการให้บริการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกว่า 25 ปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้ลงทุนในการให้บริการไปมากกว่า 2.4 แสนล้านบาท และพร้อมที่จะก้าวต่อไป สานต่อแนวคิดดิจิตอลไลฟ์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ ให้กลายเป็น 'ผู้สร้างสรรค์บริการดิจิตอลเพื่อคนไทย - Your Digital Life Partner'
     
       เอไอเอสคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีข้างหน้าอัตราการใช้งานดาต้าจะเติบโตเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 200-400% ในขณะที่ปริมาณสมาร์ทดีไวซ์จะขยายตัวกว่า 50 ล้านเครื่อง รวมไปถึงรูปแบบสมาร์ทดีไวซ์ใหม่ๆ ที่จะขยายอีกกว่า 10 ล้านเครื่อง
     
       'วิสัยทัศน์ของเอไอเอสในปี 2558 จะให้ความสำคัญต่อพาร์ตเนอร์ที่จะก้าวไปด้วยกัน ที่สำคัญคือต้องมีการปรับเปลี่ยน (Change) จากผู้นำในตลาดโทรคมนาคมกลายเป็นผู้นำในชีวิตดิจิตอล เพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทยให้ก้าวไปข้างหน้า'
     
       นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปี 2558 ว่า กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะเติบโตราว 3-4% ขณะที่การเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์จะเติบโตราว 10% และฟิกซ์ไลน์ หรือบริการฟิกซ์บรอดแบนด์ราว 15%
     
       'ถ้ามองถึงมูลค่าในตลาดปี 2558 จะคิดเป็นมูลค่าจากการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 2.33 แสนล้านบาท รายได้จากการจำหน่ายสมาร์ทดีไวซ์ 1.27 แสนล้านบาท และจากการให้บริการฟิกซ์ไลน์หรือฟิกซ์บรอดแบนด์ 6.2 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมาธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือมีมูลค่าราว 2.24 แสนล้าน ธุรกิจจำหน่ายสมาร์ทดีไวซ์ 1.15 แสนล้าน และรายได้จากการให้บริการฟิกซ์ไลน์อยู่ที่ 5.4 หมื่นล้าน'
     
       โดยจากการเติบโตของการใช้งานดาต้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การมาของ Internet of Thing เข้าใกล้ผู้บริโภคชาวไทยมากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการเตรียมการที่เป็นรูปธรรมเพื่อการใช้บริการดังกล่าว
     
       อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ทิศทางของการใช้งานโทรศัพท์ (วอยซ์) จะลดลงประมาณ 5% แต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 200% ขณะที่ปริมาณอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นกว่า 20 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นสมาร์ทโฟนราว 10 ล้านเครื่อง แท็บเล็ต 3 ล้านเครื่อง พีซี 2 ล้านเครื่อง สมาร์ททีวี 1 ล้านเครื่อง เทคโนโลยีสวมใส่ได้ (Wearable Device) 5 แสนเครื่อง และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ อีก 4 แสนชิ้น
     
       'เราเองจำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะเมื่อมองย้อนไปการมาของแอปพลิเคชันต่างๆ ส่งผลให้ทุกคนเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ตโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นการเปลี่ยนเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการ และที่สำคัญต้องรู้ว่าโลกเปลี่ยนไปอย่างไร เป็นการปรับเพิ่มในส่วนที่ขาด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ'

ถึงเวลา “AIS Change”

        *** 3 แกนหลักเอไอเอส
     
       โดยรูปแบบธุรกิจที่จะปรับเสริมเพิ่มเติม เริ่มจากส่วนที่ 1 การขยายโครงข่ายไร้สาย (Wireless Expansion) ด้วยการลงทุน 3G อีกอย่างน้อย 3 หมื่นล้านบาท จากที่ลงไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเป็น 29,000 สถานี มากกว่าคู่แข่ง 20% ตลอดเวลา จากปัจจุบันที่มีให้บริการอยู่ 17,800 สถานี ไม่นับรวมกับเงินประมูล 4G ที่แยกไว้ต่างหาก
     
       'การลงทุนสถานีฐานเพิ่ม ส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมไว้รับกับมือถือ 3G ที่เข้ามาให้เพียงพอ เน้นเพิ่มความหนาแน่นของพื้นที่ที่มีการใช้บริการ และเข้าไปเสริมในจุดที่ยังเข้าไม่ถึง โดยปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน 3G ประมาณ 30 กว่าล้าน ส่วนที่เหลืออยู่ในการใช้บริการ 2G'
     
       นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์อย่าง ไทยคม เพื่อให้บริการไปยังผู้ที่ใช้งานอยู่ในท้องทะเล ขยายบริการ AIS Wi-Fi สู่สายการบินนกแอร์ เพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตขณะอยู่บนท้องฟ้า พร้อมกับขยายไปยังสายการบินอื่นๆ ในอนาคต
     
       ส่วนที่ 2 ที่จะเพิ่มเติมในส่วนของไวร์เลส คือการลงทุนซูเปอร์ไวไฟ (Super Wi-Fi) สามารถให้ความเร็วได้สูงสุด 650 Mbps เร็วกว่าการเชื่อมต่อ 4G ประมาณ 5-6 เท่า โดยจะเริ่มจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และแหล่งที่คนรุ่นใหม่ใช้งาน สุดท้ายคือความพร้อมที่จะร่วมประมูล 4G
     
       ขณะที่การเปิดให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์ก็เริ่มขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ทางเอไอเอสได้วางเงินลงทุนไปแล้วกว่า 4.6 พันล้านบาท ในการขยายพื้นที่ให้บริการ และเชื่อมั่นว่าเป็นการลงทุนที่ถูกที่ถูกเวลา
     
       'มีเหตุผล 2 ประการที่ทำให้มั่นใจว่าการเปิดให้บริการในช่วงนี้เป็นเวลาที่พอเหมาะ คือ ตอนนี้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตขยายไปในวงกว้าง มีความสมบูรณ์ของอินฟราสตรักเจอร์ ดีไวซ์ และแอปพลิเคชัน เข้ามาสอดคล้องกันพอดี ดังนั้นการลงทุนในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด'
     
       มีข้อมูลประมาณการว่า ใน 5 ปีข้างหน้าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านครัวเรือน ถ้ารวมกับลูกค้า 5 ล้านครัวเรือนที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการอื่นในปัจจุบัน เพราะกว่า 90% เป็นเทคโนโลยีเก่าแบบ ADSL ดังนั้นเมื่อเอไอเอสเปิดให้บริการ AIS Fibernet ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่กว่าก็น่าจะมีการย้ายมาใช้งานเพราะให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 1 Gbps

ถึงเวลา “AIS Change”

        ที่สำคัญคือ การให้บริการ AIS Fibernet จะช่วยเข้ามาเสริมบริการเครือข่ายไร้สายของเอไอเอสให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกในการใช้บริการแบบครบวงจรภายใต้แบรนด์เอไอเอส โดยใน 5 ปีข้างหน้าลูกค้ากว่า 10 ล้านครัวเรือนจะสามารถใช้งาน AIS Fibernet ได้ และเอไอเอสจะขึ้นเป็นผู้ให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์รายใหญ่ในประเทศไทย
     
       ส่วนที่ 3 คือ ส่วนของดิจิตอล เซอร์วิส ที่ประกอบไปด้วยการต่อยอดในการให้บริการ AIS Live TV ด้วย AIS Playbox ที่เป็นกล่องทีวีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IPTV) ที่ให้ภาพความคมชัดระดับ 4K โดยวางให้เป็นคอนเทนต์เกตเวย์ ที่จะรวมคอนเทนต์จากผู้ให้บริการต่างๆ โดยสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ ไม่จำกัดอยู่กับคอนเทนต์ของผู้ให้บริการกล่องเพียงอย่างเดียว
     
       ถัดมาคือแอปพลิเคชัน และเกม ที่ร่วมมือกับนักพัฒนา และพันธมิตร ภายใต้แนวคิดหลักคือการใช้งานบนทุกหน้าจอที่มีอยู่ ทั้งมือถือ แท็บเล็ต พีซี และทีวี ส่วนธุรกิจโมบายล์มันนี เป็นการต่อยอดจากการให้บริการ AIS mPAY ที่เป็นโมบายล์มันนีที่ดีที่สุดในประเทศไทย
     
       'สิ่งที่โมบายล์มันนีของเอไอเอสแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นคือ เป็นรายเดียวที่ฝากเงินและได้ดอกเบี้ย ไม่ต้องมีเบอร์บัญชีก็สามารถโอนเงินและเบิกจากตู้เอทีเอ็มได้ ใช้งานระบบ NFC ในการเดินทาง และในอนาคตอันใกล้จะร่วมมือกับอีกหลายธนาคารเพื่อนำบริการอื่นๆ มาให้บริการ'
     
       สุดท้ายคือ การให้บริการ AIS CLoud+ ที่ร่วมมือกับทางอเมซอน และพันธมิตรรายอื่นๆ ที่จะได้รับบริการสำรองข้อมูลเข้าสู่ระบบคลาวด์ฟรีตลอดการใช้งาน พร้อมกับพื้นที่เก็บข้อมูล 20 GB ฟรี 12 เดือน
     
       ในขณะที่ส่วนของธุรกิจองค์กร AIS Biz Cloud ก็มีการร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ในการนำโซลูชันคลาวด์ต่างๆ เข้ามาให้บริการ เพื่อให้องค์กรขนาดกลางและเล็กสามารถมีการนำแอปพลิเคชันเพื่อนำมาตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม
     
       ส่วน M2M Solution ภายใต้ AIS Business Solution ก็จะมีการนำโซลูชันที่น่าสนใจเข้ามาให้บริการ อย่างอุปกรณ์ติดตั้งในรถยนต์ เพื่อให้บริการระบุตำแหน่ง รวมไปถึงส่งภาพจากกล้องติดหน้ารถไปยังส่วนกลาง หรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งเพื่อใช้งานภายในบ้าน ให้กลายเป็นสมาร์ทโฮม และสมาร์ทออฟฟิศ
     
       'เมื่อเห็นถึงแนวโน้มการให้บริการในอนาคตแล้ว จึงเชื่อมั่นว่าจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้บริการเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้บริโภค ทุกที่ ทุกบ้าน ทุกหน้าจอ สามารถใช้บริการของเอไอเอสได้'
     


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000011593

____________________________



เอไอเอสควัก4หมื่นล.ลุยขยาย3จี
  เอไอเอสทุ่มงบ 4 หมื่นล้าน ลงทุน 3 จี พร้อมขยายสถานีฐาน 3 จี มากกว่าคู่แข่ง 20%
    นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวถึงแผนธุรกิจในปี 2558 ว่า บริษัทเตรียมเงินลงทุนกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมพลิกโฉมองค์กรเพื่อก้าวสู่การเป็นพันธมิตรกับทุกกลุ่มอย่างเต็มรูปแบบ และภายใน 5 ปีข้างหน้า วางเป้าหมายเป็นผู้สร้างสรรค์บริการดิจิตอลเพื่อคนไทย ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราการใช้งานดาต้าจะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในสัดส่วน 200-400%, สมาร์ทดีไวซ์จะขยายตัวกว่า 50 ล้านเครื่อง
    ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมในปี 58 นี้ คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตโดยรวม แยกเป็นธุรกิจโมบายล์ 3-4% คิดเป็น 233,000 ล้านบาท, ธุรกิจการจัดซื้อเครื่องลูกข่าย (สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ) จะมีมูลค่า 127,000 ล้านบาท เติบโต 10%จากปีที่แล้ว และธุรกิจฟิกซ์ไลน์ และฟิกซ์บรอดแบนด์ 15% คิดเป็น 62,000 ล้านบาท ที่จะส่งผลให้การใช้งานดาต้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด
    อีกทั้ง เอไอเอสเตรียมขยายเครือข่าย 3 จี บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องกว่า 30,000 ล้านบาท จากที่ลงทุนไปแล้วตั้งแต่ที่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 80,000 ล้านบาท และจะมีสถานีฐานเป็น 29,000 แห่ง จากปัจจุบันที่ให้บริการแล้ว 20,000 แห่ง ซึ่งเอไอเอสจะเป็นผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายมากที่สุดในตลาด และจะคงสถานะให้มีเน็ตเวิร์ก 3 จี มากกว่าคู่แข่ง 20% ตลอดเวลา รวมถึงการเตรียมความพร้อมสู่การประมูล 4 จี ทันทีที่เปิดประมูล.




Printer-friendly version
http://www.thaipost.net/news/300115/102302


____________________________________


ทุ่ม 4 หมื่นล้าน! AIS ปูทาง ปั้น 3 บริการสู่โลกใหม่แห่งดิจิตอล


เอไอเอส ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2558 ยกเป็นยุครุ่งเรืองของอินเทอร์เน็ต เตรียมผลักฟิกซ์ บรอดแบนด์เอาใจลูกค้าด้วยความเร็วกว่า 1Gbps พร้อมสู้ศึก 4จี เต็มที่....

นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า ตลอด 25 ปีที่เอไอเอสให้บริการด้านโทรคมนาคม มีการลงทุนไปแล้วกว่า 240,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้เอไอเอสมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมกว่า 97% ส่วนในปีนี้บริษัทเตรียมลงทุนกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายโครงข่ายและบริการอื่นๆ อาทิ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก, ฟิกซ์ บรอดแบนด์, ดิจิตอล เซอร์วิส ซึ่งจะแบ่งการลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท สำหรับขยายไวร์เลส เน็ตเวิร์ก

"การเปลี่ยนแปลงของเอไอเอสในครั้งนี้ เสมือนกับช้าง สัตว์ที่อยู่เคียงคู่คนไทย ซึ่งมีทั้งความซื่อสัตย์ ภักดี และสร้างความสุขคู่คนไทย เรียกได้ว่าจากช้าง (Chang) เป็นเชนจ์ (Change) อย่างเหมาะสม เพราะไม่เพียงหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการให้บริการด้านโทรคมนาคม เรายังถักทอความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีจากการใช้งานแก่ลูกค้าด้วย"


เตรียมพบกับฟิกซ์ บรอดแบนด์จากเอไอเอส เร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ความมุ่งหมายต่อไปของเอไอเอสคือการสร้างความสำเร็จในการใช้งานแก่ลูกค้าในทุกวัน จากจำนวนลูกค้ากว่า 44 ล้านรายในปัจจุบัน ซึ่งมีการโทรกว่า 90 ล้านครั้งต่อวัน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกว่า 200 ล้านครั้งต่อวัน มีผู้รับชมรายการทีวีและภาพยนตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น AIS TV กว่า 2 ล้านคนต่อเดือน อ่านอี-บุ๊กกว่า 6 แสนคนต่อเดือน และใช้บริการโมบายล์ เพย์เมนต์กว่า 4 แสนครั้งต่อเดือน เอไอเอสจึงพยายามสร้างโลกใหม่แห่งดิจิตอล โดยรับบทบาทเป็นผู้จัดหาบริการและผู้นำในการให้บริการดังกล่าว

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า ธุรกิจด้านโทรคมนาคมที่คาดว่าจะเติบโตอย่างมาก ได้แก่ โมบายล์ เซอร์วิส อุปกรณ์ต่างๆ และฟิกซ์ บรอดแบนด์

อย่างไรก็ตาม คาดว่าบริการด้านโมบายล์จะเติบโตอีกราว 3-4% คิดเป็นมูลค่า 233,000 ล้านบาท ขณะที่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะโตอีกราว 10% หรือมีมูลค่าราว 127,000 ล้านบาท ส่วนฟิกซ์ บรอดแบนด์จะเติบโตราว 15% หรือมีมูลค่าราว 62,000 ล้านบาท ส่วนการใช้งานด้านวอยซ์นั้นคาดว่าในปีนี้อาจมีสัดส่วนลดลงประมาณ 5% แตกต่างจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 200% เช่นเดียวกับด้านอุปกรณ์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20 ล้านเครื่อง จากความนิยมสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตทีวี และแวร์เอเบิล

"อุปกรณ์ต่างๆ จะเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตอย่างง่ายดาย การเป็น IoT (Internet of Thing) กำลังจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในปีนี้ เรียกได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเดต้าอย่างเต็มตัว ดังนั้น เอไอเอสจึงต้องเปลี่ยน แต่มั่นใจได้ว่าเราเป็นองค์กรที่แข็งแรง ไม่ได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เรากำลังจะปรับเพิ่มในส่วนที่ขาดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของลูกค้าเท่านั้น"


Super Wifi เร็วปรื้ดดด
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนรูปแบบธุรกิจของเอไอเอสนั้น ในปีนี้จะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหลากหลาย อาทิ ด้านไวร์เลส เน็ตเวิร์ก ที่เรากำลังจะขยายโครข่ายโมบายล์ไร้สายของเอไอเอส ทั้งการลงทุน 3จี อีกกว่า 30,000 ล้านบาท หลังจากลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อทำให้มีสถานีฐานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอีก 29,000 สถานี และไม่ใช่เพียงแค่การให้บริการบนพื้นดิน แต่ยังรวมถึงพื้นน้ำและอากาศ ซึ่งเอไอเอสนำสัญญาณของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) มาร่วมใช้งาน เพื่อให้บริการในเขตพื้นที่ที่เป็นทะเล และยังร่วมกับสายการบินนกแอร์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าขณะเดินทางด้วยเครื่องบินอีกด้วย โดยในอนาคตจะมีความร่วมมือกับสายการบินอื่นๆ ต่อไป พร้อมกันนี้ บริษัทยังเตรียมพัฒนาไวไฟในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าซุปเปอร์ไวไฟ ซึ่งสามารถให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงสุดถึง 650Mbps รวดเร็วกว่าเทคโนโลยี 4จี เพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วตามความต้องการของลูกค้า

ส่วนธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์นั้น เอไอเอสมองว่าเป็นการทำฟิกซ์ บรอดแบนด์ในช่วงเวลาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด เนื่องจากอินเทอร์เน็ตกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมบูรณ์อย่างที่สุด ทั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยี ซึ่งผู้บริโภคกว่า 5 ล้านครัวเรือนยังคงใช้เทคโนโลยีรูปแบบเก่าอย่าง ADSL ประกอบกับเทคโนโลยีสายไฟเบอร์ ออพติกกว่า 120,000 กิโลเมตร พร้อมให้บริการซึ่งสามารถให้บริการดาวน์โหลดด้วยความเร็วสูงสุดถึง 1Gbps เชื่อว่าจะทำให้เอไอเอสมีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มดังกล่าวอย่างแน่นอน และคาดว่าภายใน 5 ปีจะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว่า 10 ล้านครัวเรือน และทำให้เอไอเอสกลายเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ของประเทศไทย


กล่อง Play Box เชื่อมอินเทอร์เน็ตให้ทีวี
สำหรับธุรกิจดิจิตอล เซอร์วิส เอไอเอสมีแนวคิดขยายการเข้าถึงจากหน้าจอมือถือสู่หน้าจอทีวี เพื่อทำให้ทีวีของลูกค้าสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ผ่านกล่องดิจิตอลเพลย์บ็อกซ์ (AIS Play box) โดยใช้ความแตกต่างที่ต้องการเป็นเอนเตอร์เทนเมนต์เกตเวย์ เปิดให้ลูกค้าสามารถเลือกชมเนื้อหาที่ต้องการได้ตามใจ นอกจากนี้ เอไอเอสยังให้ความสำคัญกับเรื่องแอพพลิเคชั่นและเกม รวมถึงบริการโมบายล์ เพย์เมนต์ ซึ่งจะเน้นสร้างความแตกต่างทั้งความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้งานแก่ลูกค้า ขณะเดียวกันปีนี้ก็ยังถือเป็นยุคของบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งบริษัทจะเปิดบริการคลาวด์ส่วนบุคคล (Personal Cloud) แก่ลูกค้าเอไอเอสในชื่อ AIS Cloud+ เพื่อให้สามารถฝากข้อมูลและภาพด้วยพื้นที่ 20GB ซึ่งจะให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถใช้งานได้ฟรี 1 ปี พร้อมกันนี้ก็ยังจะมีบริการอื่นๆ เช่น AIS E-Money และ AIS Business Solutions ซึ่งเอไอเอสร่วมกับพาร์ทเนอร์ในการให้บริการอีกด้วย

นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ส่วนการประมูล 4จีนั้น เอไอเอสมีความพร้อมในการเข้าร่วมอย่างแน่นอน ซึ่งไม่เพียงแต่ความพร้อมในการเข้าประมูลแต่ยังรวมถึงประสบการณ์ในการทำงานและติดตั้งเทคโนโลยีอีกด้วย ส่วนงบประมาณในการประมูลนั้นยังบอกไม่ได้ในขณะนี้ เนื่องจากต้องรอความชัดเจนของกติกาต่างๆ จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม เอไอเอสยังคงตั้งเป้าสู่การเป็นดิจิตอลไลฟ์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ และผู้สร้างสรรค์บริการดิจิตอลเพื่อคนไทยภายใน 5 ปีนับจากนี้.


http://www.thairath.co.th/content/477922

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.