Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 กุมภาพันธ์ 2558 ผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทยก็เป็นไปตามเทรนด์ของโลกโดย 89% ของวัยรุ่นและวัยทำงานในเมืองใหญ่มีสมาร์ทดีไวซ์มากกว่า 1 เครื่อง/คน โดยเฉลี่ย 3 เครื่อง

ประเด็นหลัก


ก้าวเข้าสู่ปี 2558 พร้อมความคาดหวังและความไม่แน่นอนหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนแล้วคือ ผู้คนกำลังก้าวจากโลกออฟไลน์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกันไปสู่โลกของการเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่อง จากการหันมาใช้สมาร์ทดีไวซ์อย่างแพร่หลาย เปิดโอกาสให้ผู้คนปฏิสัมพันธ์กันในหลากหลายรูปแบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีในการสื่อสาร แสวงหาความบันเทิง ศึกษาหาความรู้ และจับจ่ายใช้สอย ซึ่งแนวโน้มนี้จะยังมีต่อไปคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีสมาร์ทดีไวซ์ถึง 5 หมื่นล้านเครื่องที่เชื่อมโยงถึงกัน

ผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทยก็เป็นไปตามเทรนด์ของโลกโดย 89% ของวัยรุ่นและวัยทำงานในเมืองใหญ่มีสมาร์ทดีไวซ์มากกว่า 1 เครื่อง/คน โดยเฉลี่ย 3 เครื่อง คือ สมาร์ทโฟน แท็บเลต แล็ปทอป และสมาร์ทแก็ดเจต


_____________________________________________________














"สมาร์ทดีไวซ์" ครองใจคนเมือง ธุรกิจขยับรับเทรนด์ "สังคมก้มหน้า"



ก้าวเข้าสู่ปี 2558 พร้อมความคาดหวังและความไม่แน่นอนหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนแล้วคือ ผู้คนกำลังก้าวจากโลกออฟไลน์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกันไปสู่โลกของการเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่อง จากการหันมาใช้สมาร์ทดีไวซ์อย่างแพร่หลาย เปิดโอกาสให้ผู้คนปฏิสัมพันธ์กันในหลากหลายรูปแบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีในการสื่อสาร แสวงหาความบันเทิง ศึกษาหาความรู้ และจับจ่ายใช้สอย ซึ่งแนวโน้มนี้จะยังมีต่อไปคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีสมาร์ทดีไวซ์ถึง 5 หมื่นล้านเครื่องที่เชื่อมโยงถึงกัน

ผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทยก็เป็นไปตามเทรนด์ของโลกโดย 89% ของวัยรุ่นและวัยทำงานในเมืองใหญ่มีสมาร์ทดีไวซ์มากกว่า 1 เครื่อง/คน โดยเฉลี่ย 3 เครื่อง คือ สมาร์ทโฟน แท็บเลต แล็ปทอป และสมาร์ทแก็ดเจต

ในฐานะบริษัทบริหารจัดการระบบชำระเงินระดับโลก "มาสเตอร์การ์ด" จึงมุ่งสร้างประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยที่ดีขึ้นกับลูกค้า และเมื่อโทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่บ้านได้ จะเป็นจุดสำคัญที่แบรนด์ต่าง ๆ นำเสนอประสบการณ์ถึงตัวลูกค้าโดยผ่านช่องทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในร้านค้า ผ่านแอปต่าง ๆ และออนไลน์

โดยแบรนด์ใหญ่ ๆ จะยังสร้างสรรค์แคมเปญให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เพื่อการเชื่อมต่อ ขณะที่อิทธิพลของผลิตภัณฑ์ การทำการตลาด เทคโนโลยี และตัวขับเคลื่อนอื่น ๆ จะมีความสำคัญยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เพราะเส้นแบ่งการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มหายไป



การใช้โทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคปี 2558 นี้มีแนวโน้มที่น่าสนใจดังนี้

1.ปีแห่งสมรภูมิของตลาดแวร์เอเบิล ไม่ใช่โมบายเทคโนโลยีกำลังเข้าสู่ศักราชใหม่ แต่คือ "แวร์เอเบิล" หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สวมใส่ติดตัวไปไหนมาไหนได้ เช่น แว่นตาอัจฉริยะ (Google Glass) อาจมีการนำมาใช้ในธุรกิจมากกว่าลูกค้าทั่วไป แต่ยังไม่แน่นอนว่าแวร์เอเบิลดีไวซ์จะเติบโตไปในทิศทางไหน

2.แบรนด์ต่าง ๆ จะเริ่มเข้ามาในชีวิตบ่อยขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ในชีวิตประจำวันกำลังจะเป็นมากกว่าการซื้อสินค้าเพียงครั้งเดียว และอาจเปลี่ยนไปในรูปแบบการให้บริการสมาชิก เช่น ทุกเช้าอุปกรณ์จะบอกว่ามีเงินสดในบัญชีเท่าไร หรือช่วยระบุว่าควรใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตใบไหนคุ้มที่สุดในเวลานั้น

3.การใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะหนึ่งสัปดาห์หลังการเปิดตัว "แอปเปิล เพย์" ในสหรัฐอเมริกา พบว่า 90% ของการใช้จ่ายผ่านเครดิตการ์ดในสหรัฐอเมริกาเป็นการใช้จ่ายผ่าน "แอปเปิล เพย์" ซึ่งจับจ่ายใช้สอยได้ใน 220,000 ร้านค้า

4.การแข่งขันด้านบริการใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือจะขยายเป็นการแข่งขันระดับโลก

5.การแข่งขันในตลาดคอนเน็กต์โฮม(ConnectedHome)จะเข้มข้นขึ้น หลังแอปเปิลเปิดตัว Apple"s HomeKit (โปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายในบ้านผ่านมือถือ)

6.ยานพาหนะกับการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเทรนด์ปีนี้จะไม่จำกัดอยู่เพียงแวร์

เอเบิลดีไวซ์แต่หาทางแทรกซึมมาอยู่ในยานพาหนะด้วย"จีพีเอส" ที่ช่วยตรวจสอบเส้นทางจราจรจะพัฒนาให้สามารถให้บริการ WiFi บอกตำแหน่งได้ และดาวน์โหลดข้อมูลลงยานพาหนะได้ด้วย

7.อินเทอร์เน็ต ออฟ ติงส์ (Internet of Things) กำลังจะเป็นที่นิยม และเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน

8.การถอยทัพของแอปพลิเคชั่นที่ขอและเก็บข้อมูล นักพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นเริ่มรู้ว่าต้องลดการพัฒนาแอปที่สามารถเก็บรวบรวมดาต้า ซึ่งไม่จำเป็นต่อการทำงานหลัก นักพัฒนาที่เล็งเห็นจะทำให้แอปของตนแตกต่างจากคู่แข่งที่มีมหาศาล โดยเสนอแอปที่มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว รวมถึงมีระบบเก็บรักษาข้อมูลดีกว่าคู่แข่ง

9.อุปกรณ์มือถือจะกลายเป็นเป้าหมาย ปัจจุบันคนใช้อุปกรณ์มือถือเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่วและง่ายขึ้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เข้าถึงผู้คนในวงกว้าง ทำให้การจารกรรมข้อมูลอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ กลุ่มบริษัท ระบบรักษาความปลอดภัย หรือแม้แต่ผู้บริโภคทั่วไป ต่างต้องระมัดระวังและมีมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันข้อมูล

10.ประสบการณ์ติดจอ (Screen-agnostic) จะเพิ่มขึ้น พร้อมกับการรวมตัวของแพลตฟอร์มที่กว้างขึ้น ปีนี้เทคโนโลยีที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลอย่างไม่สะดุดจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจะได้เปรียบอย่างมหาศาล

11.แบรนด์และร้านค้าจะมุ่งความสนใจไปที่"เอ็ม-คอมเมิร์ซ"แอปพลิเคชั่นที่ร้านค้าปลีกจะใช้ประโยชน์จากบาร์โค้ดโดยลูกค้าจะสแกนบาร์โค้ดด้วยโทรศัพท์มือถือ ทำให้ร้านค้าและแบรนด์ต่าง ๆ มีลูกเล่นที่ดีกว่าเดิม เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับกิจกรรม ทั้งกระตุ้นยอดขาย และทำให้กลับมาใช้บริการอีก

12.นักท่องเที่ยวจะหันมาใช้แอปในการจองเพิ่มขึ้น TripAdvisor, Hipmunk, Skyscanner, trivago และ Dohop กำลังจะทำให้การจองเที่ยวบินและห้องพักง่ายขึ้นยิ่งกว่าเดิม

13.แอปพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพ และควบคุมคุณค่าจากสารอาหารจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยอุปกรณ์มือถือและแวร์เอเบิลที่ใส่อยู่จะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายทันที ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร วิเคราะห์การนอนหลับ และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในกล้ามเนื้อ เป็นต้น

14.กฎ BYOD ในบริษัทจะเปลี่ยนไป เมื่อมีการทำงานในลักษณะกลุ่มงานสำหรับงานที่เป็นโครงการต่าง ๆ แอปที่ใช้ในการทำงานต้องสามารถแชร์ข้ามกลุ่มได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แม้จะเป็นอุปกรณ์ที่แต่ละคนนำมาเอง หรือ BYOD (Bring Your Own Device) หมายความว่าฝ่ายไอทีต้องป้องกันข้อมูลไม่ให้รั่วไหล โดยไม่ต้องไปยุ่งกับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตของพนักงาน

15.ธุรกิจให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์มือถือเป็นอันดับแรก ภายในเวลาไม่กี่เดือนนี้บริษัทที่ยังมีวัฒนธรรมการทำงานแบบเก่าบนเดสก์ทอปจะเริ่มย้ายสู่แพลตฟอร์มของมือถือมากขึ้นทำให้พนักงานทำงานได้ต่อเนื่องไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์อะไรหากมีการแข่งขันระหว่างแอปบนมือถือกับเดสก์ทอปผู้ชนะคือแอปสำหรับมือถือแน่นอน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422505708

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.