Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 เมษายน 2558 แหล่งข่าวระดับสูง TOT ระบุ จะต่อรองโดยยอมคืนคลื่น 2300 MHz ส่วนใหญ่ให้ แต่ต้องแลกกับสิทธิ์ในการใช้คลื่น 2300 MHz จำนวน 20 MHz เพื่อใช้ทดลองการให้บริการ 4G/LTE โดยใช้เงินลงทุนตามโครงการ USO ของ กสทช. หรือบอร์ดดิจิทัล

ประเด็นหลัก



แหล่งข่าวระดับสูงภายในคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทีโอทีเป็นองค์กรที่มีทรัพย์สินในมืออยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคลื่นความถี่และเสาโทรคมนาคม ซึ่งบอร์ดกำลังพิจารณาหาแนวทางนำทรัพย์สินเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ให้สอดคล้องกับแนวทางของ กนร. (คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ) โดยต้องใช้เงินลงทุนน้อยที่สุด


"ในส่วนของคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาก เดิมเราเคยคิดจะเอาคลื่น 900 MHz ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของเอไอเอสมาใช้งานต่อหลังสิ้นสุดสัมปทาน ก.ย. 2558 ซึ่งหากนำมาให้บริการโมบายโดยผสมกับคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ทีโอทีมีสิทธิ์ถือครองอยู่ถึง 64 MHz จะทำให้สามารถให้บริการโมบาย 4G/LTE ได้อย่างสมบูรณ์แบบบนโครงข่ายเสาโทรคมนาคมที่เรามี แต่เมื่อ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะต้องนำคลื่น 900 MHz กลับไปประมูล ทีโอทีก็ต้องปรับแผน"

โดยจะยื่นเรื่องกับ กสทช. และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้คลื่น 2300 MHz เพื่อนำไปให้บริการบรอดแบนด์สาธารณะ ตามแผนโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงดิจิทัลของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล จากเดิมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อบริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะ

"ตามกฎหมาย กสทช.ใหม่จะระบุถึงหน้าที่ของ กสทช. ในการเรียกคืนคลื่นความถี่ โดยเยียวยาให้กับเจ้าของคลื่นเดิมด้วย จึงมีความเป็นไปได้ว่า ทีโอทีจะต่อรองโดยยอมคืนคลื่น 2300 MHz ส่วนใหญ่ให้ แต่ต้องแลกกับสิทธิ์ในการใช้คลื่น 2300 MHz จำนวน 20 MHz เพื่อใช้ทดลองการให้บริการ 4G/LTE โดยใช้เงินลงทุนตามโครงการ USO ของ กสทช. หรือบอร์ดดิจิทัล"


_____________________________________________________
















ทีโอทีดิ้นขุด"คลื่น-เสา"เพิ่มรายได้ ยื้อขอ2300MHz พ่วงเงินUSO ผุด4G เพื่อสาธารณะ



ทีโอทีผุดสารพัดไอเดียขุดทรัพย์สินในมือสร้างรายได้ ปักธงแยกบริษัทลูก "Tower Co-IDC" รับเทรนด์ไอที ขณะทีบ.แม่ รอกินปันผลและรับงาน USO เพื่อชาติ แต่โปรเจ็กต์ใช้คลื่น-เสา ยังต้องรอหาพาร์ตเนอร์เอกชนอีก 3 เดือน เดินหน้าต่อรอง "กสทช.-บอร์ดดิจิทัล" ขอใช้คลื่น 2300 MHz ให้บริการสาธารณะ พร้อมยอมรับไม่มีเงินเข้าประมูล 4G


แหล่งข่าวระดับสูงภายในคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทีโอทีเป็นองค์กรที่มีทรัพย์สินในมืออยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคลื่นความถี่และเสาโทรคมนาคม ซึ่งบอร์ดกำลังพิจารณาหาแนวทางนำทรัพย์สินเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ให้สอดคล้องกับแนวทางของ กนร. (คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ) โดยต้องใช้เงินลงทุนน้อยที่สุด


"ในส่วนของคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาก เดิมเราเคยคิดจะเอาคลื่น 900 MHz ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของเอไอเอสมาใช้งานต่อหลังสิ้นสุดสัมปทาน ก.ย. 2558 ซึ่งหากนำมาให้บริการโมบายโดยผสมกับคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ทีโอทีมีสิทธิ์ถือครองอยู่ถึง 64 MHz จะทำให้สามารถให้บริการโมบาย 4G/LTE ได้อย่างสมบูรณ์แบบบนโครงข่ายเสาโทรคมนาคมที่เรามี แต่เมื่อ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะต้องนำคลื่น 900 MHz กลับไปประมูล ทีโอทีก็ต้องปรับแผน"

โดยจะยื่นเรื่องกับ กสทช. และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้คลื่น 2300 MHz เพื่อนำไปให้บริการบรอดแบนด์สาธารณะ ตามแผนโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงดิจิทัลของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล จากเดิมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อบริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะ

"ตามกฎหมาย กสทช.ใหม่จะระบุถึงหน้าที่ของ กสทช. ในการเรียกคืนคลื่นความถี่ โดยเยียวยาให้กับเจ้าของคลื่นเดิมด้วย จึงมีความเป็นไปได้ว่า ทีโอทีจะต่อรองโดยยอมคืนคลื่น 2300 MHz ส่วนใหญ่ให้ แต่ต้องแลกกับสิทธิ์ในการใช้คลื่น 2300 MHz จำนวน 20 MHz เพื่อใช้ทดลองการให้บริการ 4G/LTE โดยใช้เงินลงทุนตามโครงการ USO ของ กสทช. หรือบอร์ดดิจิทัล"






ส่วนคลื่นในย่านอื่น ๆ ที่อยู่ในมือยังต้องพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมว่าจะยังจำเป็นในการใช้งานอยู่มากน้อยเพียงใดอย่างกรณีคลื่น2100MHz ที่ใช้ให้บริการ "ทีโอที 3G" อยู่ ก็ต้องรอผลสรุปของบริษัทดีลอยท์ ที่ได้จ้างเป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์พันธมิตรทางธุรกิจให้ คาดว่าภายใน 2-3 เดือนจะสรุปได้ว่าจะเลือกบริษัทใด จาก 5 บริษัทที่ยื่นข้อเสนอมา ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บมจ.สามารถ ไอโมบาย บมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด

"ข้อเสนอของเอไอเอส เอื้อต่อธุรกิจทีโอทีหลายด้านมากที่สุด แต่ก็กดราคาจนแทบจะไม่มีกำไร ตอนนี้ทีโอทีไม่มีเงินลงทุนเอง จึงจำเป็นต้องพึ่งพาพาร์ตเนอร์เพื่อให้คลื่นกับเสาที่มีสร้างรายได้ ซึ่งถ้าหาพาร์ตเนอร์ 3G ไม่ได้ ก็ต้องยอมรับว่าธุรกิจโมบายของทีโอทีคงเดินต่อไม่ได้ ยิ่งเรื่องเข้าประมูล 4G ก็เป็นไปไม่ได้เลย ก็ต้องปรับแผนจากเดิมที่จะเป็นหนึ่งในธุรกิจอนาคตของทีโอที นอกเหนือจากบรอดแบนด์ โทรศัพท์พื้นฐาน และงาน USO"

อนาคตของทีโอทีจะต้องนำกลุ่มธุรกิจที่ กนร.แบ่งไว้ ในส่วนของกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเสาโทรคมนาคม กลุ่มอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ไปรวมอยู่ในบริษัทกลาง (Tower-Co) ตามแผนบรอดแบนด์แห่งชาติของบอร์ดดิจิทัล ขณะที่กลุ่มบริการด้าน IT (IDC และ Cloud) จะแยกเป็นอีกบริษัทลูก

"แยกทรัพย์สินที่ทำรายได้กับคนเก่งไปอยู่กับบริษัทใหม่ บริษัทแม่ก็รอรับปันผลและทำงาน USO เพื่อลดช่องว่างดิจิทัลให้ประชาชน โดยมีเงินจากกองทุน USO หรือที่บอร์ดดิจิทัลจะจัดสรรหาให้มาซัพพอร์ต เป็นแนวทางอยู่รอดที่ดีที่สุดตอนนี้"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429765267

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.