Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2558 ผู้บริโภคในปัจจุบันได้รับข่าวสารจากหลากหลายแหล่งข่าว พวกเขาเข้าถึงเนื้อหาผ่านแหล่งข่าวเฉลี่ยถึง 12 แหล่งข่าว ผ่านอุปกรณ์เฉลี่ย 6 ชนิดที่แตกต่างกัน และที่ใช้มากที่สุดทุกวันนี้คือ “การรับเนื้อหาผ่านสมาร์ทโฟน” 80%

ประเด็นหลัก







จากการศึกษา ผู้บริโภคในปัจจุบันได้รับข่าวสารจากหลากหลายแหล่งข่าว พวกเขาเข้าถึงเนื้อหาผ่านแหล่งข่าวเฉลี่ยถึง 12 แหล่งข่าว ผ่านอุปกรณ์เฉลี่ย 6 ชนิดที่แตกต่างกัน และที่ใช้มากที่สุดทุกวันนี้คือ “การรับเนื้อหาผ่านสมาร์ทโฟน” 80% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาใช้งานหลายหน้าจอ และค่าเฉลี่ยคือ ใช้งานเกือบ 3 หน้าจอพร้อมๆ กัน 40% ของผู้บริโภคบอกว่าการใช้งานแบบนี้ทำให้เกิดความสับสนของข้อมูล










_______________________________________




ผลศึกษาชี้คนเสพคอนเทนต์ผ่านสมาร์ทโฟน80%



“อะโดบี” เผยผลศึกษาทัศนคติผู้บริโภคต่อเนื้อหาออนไลน์ ชี้ผู้บริโภคเข้าถึงเนื้อหาผ่านแหล่งข่าวเฉลี่ยถึง 12 แหล่งข่าว ผ่านอุปกรณ์เฉลี่ย 6 ชนิดที่แตกต่างกัน ที่ใช้มากที่สุด คือผ่านสมาร์ทโฟน 80% อะโดบี ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ออกแบบและสร้างสรรค์รายใหญ่โลก ได้ทำการเผยแพร่การศึกษาจากผู้บริโภคกว่า 2,000 คนในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า มาตรฐานของเนื้อหาดิจิตอลมีระดับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้รับสื่อได้รับสื่อมากมายผ่านทางอุปกรณ์หลากหลาย จากรายงานที่ชื่อว่า “The State of Content: Expectations on the Rise” มีผลออกมาว่า ผู้บริโภคมีทัศนคติเกี่ยวกับเนื้อหาข่าวสารที่กำลังเปลี่ยนไป รวมทั้งมีการตั้งข้อสงสัยกับเนื้อหาออนไลน์มากขึ้น รายงานนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้สร้างสรรค์และผู้ส่งข่าวสารจำเป็นที่จะต้องสร้างเนื้อหาที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี เข้าถึงได้ง่าย และเชื่อถือได้

จากการศึกษา ผู้บริโภคในปัจจุบันได้รับข่าวสารจากหลากหลายแหล่งข่าว พวกเขาเข้าถึงเนื้อหาผ่านแหล่งข่าวเฉลี่ยถึง 12 แหล่งข่าว ผ่านอุปกรณ์เฉลี่ย 6 ชนิดที่แตกต่างกัน และที่ใช้มากที่สุดทุกวันนี้คือ “การรับเนื้อหาผ่านสมาร์ทโฟน” 80% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาใช้งานหลายหน้าจอ และค่าเฉลี่ยคือ ใช้งานเกือบ 3 หน้าจอพร้อมๆ กัน 40% ของผู้บริโภคบอกว่าการใช้งานแบบนี้ทำให้เกิดความสับสนของข้อมูล

ผลการศึกษาแสดงว่าความน่าเชื่อถือของเนื้อหาถูกสั่นคลอนเนื่องจากผู้บริโภคสนใจอ่านเนื้อหาที่เน้นความสนุกบันเทิงก่อนอย่างอื่น โดยมากกว่า 1 ใน 3 ให้ความสำคัญกับความสนุกมากกว่าความน่าเชื่อถือ และมากกว่า 40% ไม่ได้ตรวจสอบข่าวที่ได้รับก่อนที่จะแชร์ต่อไปให้คนอื่น ขณะที่ผู้บริโภคตั้งข้อสงสัยเรื่องความน่าเชื่อถือของเนื้อหามากขึ้น มากกว่า 60% สงสัยว่าข่าวสารที่ได้มีความลำเอียงหรือไม่ ภาพที่เห็นมีการปรับเปลี่ยนหรือเปล่า หรือผู้เขียนถูกจ้างมาเขียนหรือได้รับเปอร์เซ็นต์จากการเขียนในเชิงบวกหรือไม่ นอกจากนี้ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และผู้สร้างเนื้อหาอยู่ในความเสี่ยง เพราะจากผลการศึกษา 70% เชื่อถือเนื้อหาข่าวสารจากสมาชิกครอบครัว หรือเพื่อนมากกว่าคนดังหรือยูทูบเบอร์

จากการศึกษาที่ผ่านมาของอะโดบี พบว่าผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ตกอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องสร้างเนื้อหาให้เร็วขึ้นกว่าที่เคย และเพื่อที่จะทำได้เช่นนั้น กว่า 40% ของผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์หันไปใช้อุปกรณ์พกพาเพื่อที่จะสามารถสร้างเนื้อหาได้จากทุกสถานที่ ทุกเวลา รายงานวันนี้ย้ำให้เห็นว่า แรงกดดันนี้ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้บริโภคต้องการประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในเวลาอันจำกัดมากขึ้น

นายไบรอัน แลมกิ้น รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปด้านดิจิตอลมีเดีย อะโดบี กล่าวว่าจากการศึกษานี้เห็นได้ชัดว่าอุปสรรคของผู้สร้างเนื้อหาสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาก่อน ผู้คนได้รับสื่อและแอพพลิเคชันที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ผู้สร้างสรรค์และแบรนด์จำเป็นต้องพุ่งเป้าไปที่การออกแบบที่ยอดเยี่ยมมากขึ้นเพื่อสร้างความสนใจในหมู่ผู้บริโภค

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3096 วันที่ 15-17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

http://www.thansettakij.com/2015/10/16/13964

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.