Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

บัวหลวง ชี้ DTAC ประมูล 1800 MHz ก็พอ!! รอเปิดประมูลคลื่น 2600 MHz และ 700 MHz ปี 2568 คุ้มกว่า ( เหตุได้ 2300 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว )




นายประสิทธิ์ สุจิรวรกุล นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง แนะนำ"ซื้อ" DTAC มาต่อเนื่อง และได้ปรับราคาพื้นฐานเป็น 82.50 บาท จากเดิม 75 บาท โดยเชื่อว่าปีนี้ DTAC สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีในหลายรายการ และการขาดทุนจากการอุดหนุนเครื่องโทรศัพท์ที่ลดลง
รวมทั้งการได้ลงนามในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคม และสัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศระบบ 2300 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) กับ บมจ.ทีโอที อย่างเป็นทางการ เพื่อเปิดให้บริการ 4G LTE-TDD คลื่น 2300 MHz บนแบนด์วิดท์ที่กว้างที่สุดถึง 60 MHz ทำให้ปิดความเสี่ยงเรื่องสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz จำนวน 45 MHz และ 850 MHz จำนวน 10 MHz ที่จะหมดลงในเดือน ก.ย.นี้ โดยจะเริ่มบันทึกค่าใช้จ่ายในวันที่ 23 เม.ย.61 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายราว 4.5 พันล้านบาทต่อปี ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มในไตรมาส 2/61

แต่คาดว่าตั้งแต่ในไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ค่าใช้จ่ายที่สูงจะดีขึ้นตามลำดับ หลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 15 ก.ย.61 ที่ค่าใช้จ่ายโครงข่ายเดิมจะหายไป 4 พันล้านบาท โดยทั้งหมดมีจำนวน 1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้คาดว่าในไตรมาส 4/61 จะมีกำไรเพิ่มขึ้นมากจากการไม่ต้องมีค่าตัดจำหน่ายโครงข่ายเดิม

ทั้งนี้ คาดว่าในปีนี้ DTAC จะมีกำไรสุทธิราว 2 พันล้านบาท โดยได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4/61 ที่มีค่าใช้จ่ายลดลง เทียบกับปีก่อนมีกำไรสุทธิ 2.11 พันล้านบาท และในปี 62 ผลประกอบการของ DTAC จะกลับมาฟื้นตัวชัดเจน จากที่ได้บริหารคลื่น 2300 MHz ที่จะเริ่มมีรายได้เข้ามาชัดเจนในครึ่งหลังปีนี้ด้วย

ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz นั้น มองว่า DTAC ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งประมูล ประกอบกับในอนาคตอันใกล้หรือภายใน 68 ก็จะมีการเปิดประมูลคลื่น 2600 MHz และ 700 MHz ออกมาเพิ่มเติมด้วย
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ปรับคำแนะนำให้เป็น"ซื้อ"สำหรับหุ้น DTAC เนื่องจากกำไรปกติในไตรมาส 1/61 เท่ากับ 843 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 296% จากงวดปีก่อน ดีกว่าที่คาด 57% โดยกำไรที่ดีกว่าคาดเนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการขายและการบริหาร (SG&A) และการอุดหนุนค่าเครื่องที่ลดลง ทำให้ปรับประมาณการขึ้น รวมทั้งการปิดดีลคลื่น 2300 MHz กับทีโอที ที่เริ่มสัญญาได้ทันที ช่วยปลดล็อคความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญให้กับ DTAC หลังคลื่นใกล้หมดสัญญาสัมปทาน ทำให้มองว่าภาพรวมการแข่งขันจะคลายตัวลง เพราะทุกรายมุ่งเน้นบริหารกำไรมากขึ้น ถือเป็น win-win-win ที่ดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม

DTAC ประกาศปิดสัญญาคลื่น 2300 MHz กับทีโอที จำนวน 60 MHz ซึ่งเริ่มสัญญาได้ทันที โดย DTAC ต้องลงทุนโครงข่ายทั้งหมดและจ่ายค่าเช่าปีละ 4.5 พันล้านบาท เพื่อสิทธิใช้ capacity 60% ส่วนอีก 40% ทีโอทีสามารถใช้งาน ทั้งนี้ คาดว่า DTAC จะเร่งติดตั้งโครงข่ายเฉพาะในเมืองหลักให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ไตรมาส
การปิดสัญญาดังกล่าวเป็นบวกต่อทั้งอุตสาหกรรม ได้แก่ การลดความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของ DTAC อย่างมีนัยสำคัญ เพราะคลื่น 1800 MHz และ 850 MHz จะหมดสัญญาสัมปทานเดือนก.ย.61, แนวโน้มการแข่งขันในการประมูลคลื่นรอบใหม่ลดลงทันที เนื่องจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) มีคลื่นเพียงพอระยะสั้น

ขณะที่ DTAC แม้ต้องการเพิ่ม แต่ก็มีคลื่น 2300 MHz ที่รองรับได้บางส่วน นอกจากนี้ DTAC ยังมุ่งเน้นกลยุทธ์การบริหารกำไรแทนการแย่งส่วนแบ่งการตลาดต่อเนื่อง สะท้อนจากงบลงทุนเท่าเดิม แม้ได้คลื่น 2300 MHz โดย DTAC น่าจะรอความชัดเจนของการประมูลคลื่นรอบใหม่ก่อนตัดสินใจลงทุนใหม่ ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงการเก็บเกี่ยวประโยชน์จากสิ่งที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้
"เราปรับประมาณการกำไรปี 61 ขึ้น 45% จากค่าใช้จ่ายคลื่น 2300 MHz ที่เกิดขึ้นช้ากว่าคาดและภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ดีกว่าคาด พร้อมปรับคำแนะนำขึ้นเป็น "ซื้อ" บนราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 61 ที่ 57 บาทต่อหุ้น"


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.