Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช.เลื่อนวันรับคำขอร่วมประมูลคลื่น 900/1800 MHz !! ลดราคาอีก 2000 ลบ. ให้ทำระบบป้องกันคลื่นรบกวน 900 MHz






กสทช.เลื่อนวันรับคำขอร่วมประมูลคลื่น 900/1800 MHz รอร่างหลักเกณฑ์ประกาศลงราชกิจจาฯ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คาดว่า ร่างประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ทั้งย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ทั้งสองฉบับไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันนี้ (6 ก.ค.)จากเดิมคาดว่าจะลงราชกิจจานุเบกษาได้ในวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้สำนักงานกสทช.ต้องเลื่อนวันรับเอกสารคำขอผู้สนใจเข้าร่วมการประมูล เป็นวันที่ 9 ก.ค.- 7 ส.ค.61 จากเดิมกำหนดวันที่ 6 ก.ค.-7 ส.ค.61
ส่วนกำหนดการที่เหลือยังคงเดิม คือ
วันที่ 8 ส.ค.61 เปิดให้ยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 9-13 ส.ค.61 พิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 15 ส.ค.61 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ
วันที่ 16-17 ส.ค.61 ชี้แจงกระบวนการประมูลและ Mock Auction
วันที่ 18 ส.ค.61 จัดการประมูลเคาะราคาคลื่นความถี่ 900 MHz
วันที่ 19 ส.ค.61 จัดการประมูลเคาะราคาคลื่นความถี่ 1800 MHz

กสทช.ปรับราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 900MHz ลง 2 พันลบ.เพื่อให้นำไปใช้ทำระบบป้องกันคลื่นรบกวน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.วาระพิเศษ มีมติเห็นชอบการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 900 MHz
สำหรับคลื่น 1800 MHz แบ่งออกเป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกกะเฮิรตซ์ สามารถถือครองได้สูงสุด 4 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นใบละ 12,468 ล้านบาท กำหนดวันเคาะราคาประมูล 19 ส.ค.
ส่วนคลื่น 900 MHz ให้ราคาเริ่มต้นที่ 35,988 ล้านบาท จากราคาเดิมที่กำหนดไว้ครั้งแรกที่ 37,988 ล้านบาท เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประมูลได้ต้องมีต้นทุนที่ต้องไปจัดทำระบบป้องกันคลื่นรบกวนประมาณ 2,000 ล้านบาท จึงให้ลดราคาเริ่มต้นในการประมูลลง โดยจะจัดให้มีการเคาะราคาในวันที่ 18 ส.ค..
สำหรับการเยียวยาผู้ใช้บริการคลื่น 1800 MHz ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ที่กำลังจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงนั้น หาก DTAC แสดงความจำนงที่เข้าประมูลในวันที่ 8 ส.ค.แสดงว่าดีแทคต้องการใช้งานคลื่นความถี่ต่อไปก็จะมีสิทธิเข้าสู่มาตรการเยียวยา แต่หากไม่เข้าประมูลแสดงว่าไม่ต้องการใช้งานคลื่นความถี่นั้นแล้วจึงไม่มีสิทธิเข้าสู่มาตรการเยียวยา
ทั้งนี้ กสทช.กำหนดให้วันที่ 5 ก.ค.61 นำร่างประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ทั้งย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ทั้งสองฉบับไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ 6 ก.ค.-7 ส.ค.61 ดำเนินการเชิญชวนและรับเอกสารคำขอผู้สนใจเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 8 ส.ค.61 เปิดให้ยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 9-13 ส.ค.61 พิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 15 ส.ค.61 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ
วันที่ 16-17 ส.ค.61 ชี้แจงกระบวนการประมูลและ Mock Auction
สาระสำคัญของหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 MHz กำหนดให้ประมูลคลื่นความถี่รวม 45 MHz โดยแบ่งออกเป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 MHz ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ใบอนุญาต (20 MHz) ราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 12,486 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท โดยผู้เข้าร่วมการประมูลจะต้องวางหลักประกันการประมูล 2,500 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดแรกชำระ 50% ของราคาประมูลสูงสุด งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาประมูลสูงสุด และงวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาประมูลสูงสุด
กรณีผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินค่าประมูลภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล สำนักงาน กสทช. จะริบหลักประกันการประมูลจำนวน 2,500 ล้านบาท และผู้ชนะการประมูลต้องชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 1,875 ล้านบาทต่อหนึ่งใบอนุญาตที่ชนะการประมูล
นายฐากร กล่าวว่า ส่วนสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900 MHz นั้น กำหนดขนาดคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลเป็น 5 MHz ราคาเริ่มต้นการประมูล 35,988 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 72 ล้านบาท ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลหนึ่งราย กสทช. จะเปิดรับคำขอรับใบอนุญาตเพิ่มเติมอีก 30 วันนับจากวันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูล หลังจากครบ 30 วัน หากยังมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียงหนึ่งราย กสทช. จะดำเนินการประมูล
โดยผู้เข้าร่วมการประมูลต้องเคาะเสนอราคาเพิ่มไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ในการประมูลครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการประมูลจะต้องวางหลักประกันการประมูล 1,800 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 4 งวด งวดแรก ชำระ 4,020 ล้านบาท งวดที่ 2 ชำระ 2,010 ล้านบาท งวดที่ 3 ชำระ 2,010 ล้านบาท และงวดที่ 4 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมด
กรณีผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินค่าประมูลภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล สำนักงาน กสทช. จะริบหลักประกันการประมูลจำนวน 1,800 ล้านบาท และผู้ชนะการประมูลต้องชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 5,399 ล้านบาท


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.