Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) AIS เลือกคนแรก(มีนัย)เลือกคลื่นติด TOT3G // DTAC เลือกไกล้ PCT // TRUE ตรงกลาง




ประเด็นหลัก

ผลการเลือกย่านคลื่นความถี่ตามลำดับการเคาะราคาสูงสุด บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค เลือก
สล็อต 7 (G )  1950 – 1955 เมกะเฮิร์ตซ และ 2140 – 2145 เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 8 (H) 1955 – 1960   เมกะเฮิร์ตซ และ 2145 – 2150  เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 9 ( I ) 1960 – 1965 เมกะเฮิร์ตซ และ 2150 – 2155 เมกะเฮิร์ตซ

บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ เลือกช่วงคลื่น สล็อต 4  ( D) 1935 – 1940   เมกะเฮิร์ตซ และ 2125 – 2130 เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 5 (E) 1940 – 1945  เมกะเฮิร์ตซ และ  2130 – 2135  เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 6 ( F ) 1945 – 1950 เมกะเฮิร์ตซ และ 2135 – 2140 เมกะเฮิร์ตซ

บริษัท ดีแทค เนควอร์ค เลือกช่วงคลื่น สล็อต  1 (  A ) 1920 – 1925  เมกะเฮิร์ตซ และ 2110 – 2115  เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 2  ( B )  1925 – 1930 เมกะเฮิร์ตซ และ  2115 – 2120 เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 3 ( C ) 1930 – 1935 เมกะเฮิร์ตซ และ   2120 – 2125 เมกะเฮิร์ตซ





_________________________________________



กสทช.ยันผลราคาประมูล 3จี เหมาะสม เชื่อเอกชนไม่มีฮั้ว



พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. เปิดเผยว่า ?แม้ราคาประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือ ไลเซ่นส์ 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ?จะขยับขึ้นจากราคากลางเพียงเล็กน้อย ?โดยได้ราคารวม 9 ใบ ที่ 41,625 ล้านบาทจากราคากลาง 40,500 ล้านบาท ?หรือเพิ่มจากราคาเริ่มต้นเพียง 2.38% แต่กสทช.ยืนยันว่าราคาที่ได้เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว และไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศแต่อย่างใด



ทั้งนิ้ ผลการประมูลสรุปว่า มีการเคาะราคาเพิ่มขึ้นเพียง 3 ใบ ?แบ่งเป็น 4,950 ล้านบาท 2 ใบ ?และ 4,725 ล้านบาท 1 ใบ รวมมูลค่า 14,625 ล้านบาท ซึ่งผู้ที่เคาะราคา 3 ใบ นี้ คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ส่วนอีก 6 ใบที่เหลือ ราคาสุดท้ายยังคงอยู่ที่ใบละ 4,500 ล้านบาท โดยเรียล ฟิวเจอร์ และ ดีแทค เนทเวอร์ค เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาทรายละ 3 ใบ

"เรียลฟิวเจอร์และดีแทคไม่ได้สมยอมราคากันแน่นอน เพราะจะเห็นว่าทั้ง 2 บริษัทนี้มีปัญหาและทะเลาะกันอยู่ เชื่อว่าเอกชนได้ดำเนินการเต็มที่แล้ว"รองประธานกสทช.กล่าว

สำหรับแอดวานซ์ ไวร์เลส ?ที่เสนอราคาสูงที่สุดนั้น ?ทำให้มีสิทธิ์เลือกตำแหน่งคลื่นที่ต้องการเป็นรายแรก และตำแหน่งที่แอดวานซ์ ไวร์เลส เลือกนั้นอยู่ติดกับ บริษัท ทีโอที ?ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะโรมมิ่งกันในอนาคต เพราะปัจจุบัน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ที่ เป็นบริษัทแม่ได้ใช้โครงข่ายร่วมกับทีโอทีอยู่แล้วในฐานะคู่สัญญาสัมปทาน

ขณะที่เรียล ฟิวเจอร์ จับสลากได้สิทธิ์เลือกก่อนดีแทค และได้เลือกตำแหน่งกลาง โดยฝั่งซ้ายเป็น ดีแทค เนทเวอร์ค และ ฝั่งขวา คือ แอดวานซ์ ไวร์เลส ?ซึ่งกสทช. จะให้ไลเซ่นส์อย่างเป็นทางการได้ภายในต้นเดือน พ.ย.

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ?กรรมการกทค. ด้านผู้บริโภค กล่าวว่า ไม่ต่างจากที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าการแข่งขันจะไม่ดุเดือดและไม่เข้มข้น เนื่องจากสามารถจัดสรรกันลงตัวรายละ 3 ใบพอดี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เสนอให้ปรับราคาเป็น 6,440 ล้านบาทตามผลการศึกษา ?หลังจากที่มติกทค.เห็นชอบการกำหนดเพดานถือครองคลื่นไว้ที่ 15 เมกะเฮิร์ตซ หรือ สูงสุด 3 ใบ

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ถือเป็นความล้มเหลวของการจัดประมูล 3 จี และเรียกร้องให้ กทค.แสดงความรับผิดชอบที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติจากราคาที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้รับการทักท้วงจากหลายฝ่าย แต่กสทช.กลับยืนยันว่าเป็นราคาที่เหมาะสม ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กสทช.กำหนดให้แบ่งกันลงตัว ทำให้การแข่งขันไม่เกิดขึ้น


แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1510616

____________________________________


กสทช.เผย ADVANC ประมูล 3G สูงสุด 14,625 ลบ.ได้ชุดคลื่นความถี่ดีสุด


ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 ตุลาคม 2555 18:42:06 น.
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) แถลงผลการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G คลื่นความถี่ 2.1GHz ปรากฎว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด ในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) เป็นผู้ประมูลราคารวมสูงสุด 14,625 ล้านบาท



ทั้งนี้ ADVANC เป็นผู้ได้สิทธิเลือกชุดคลื่นความถี่เป็นรายแรก โดยได้ชุดความถี่ที่ 7,8,9 หรือ G-H-I คือ ช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1950-1955 MHz คู่กับ 2040-2045 MHz ,ช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1955-1960 MHz คู่กับ 2145-2150 MHz และช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1960-1965 MHz คู่กับ 2150-2155 MHz

อนึ่ง ช่วงคลื่น G-H-I เป็นตำแหน่งคลื่นที่ติดกับ บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งาน และปัจจุบัน ทีโอทีกับ ADVANC เป็นคู่สัมปทานและมีการแชร์สถานีฐานเพื่อให้บริการร่วมกัน

ส่วนบริษัท ดีแทค เน็ทเวิร์ค จำกัด ในเครือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็สเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(DTAC) และบริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE)เสนอราคาประมูลรวมเท่ากันที่จำนวนเงิน 13,500 ล้านบาท แต่ TRUE จับสลากได้เป็นผู้เลือกย่านความถี่เป็นอันดับที่ 2 และ DTAC เลือกย่านความถี่เป็นลำดับ 3

TRUE ได้ชุดคลื่นความถี่ 4, 5, 6 หรือ D-E-F คือ ช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1935-1940 MHz คู่กับ 2125-2130 MHz, ช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1940-1945 MHz คู่กับ 2130-2135 MHz และช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1945-1950 MHz คู่กับ 2135-2140 MHz

และ DTAC ได้ชุดคลื่นความถี่ 1, 2, 3 หรือ A-B-C คือช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1920-1925 MHz คู่กับ 2110-2115 MHz ,  ช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1925-1930 MHz คู่กับ 2115-2120 MHz และช่วงคลื่นความถี่วิทยุ 1930-1935 MHz คู่กับ 2120-2125 MHz

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า การประมูล 3G คลื่นความถี่ 2.1 MHz กสทช.  ดำเนินการทุกขั้นตอน ถูกต้องตามกฎหมายและดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แต่แรก คือ กสทช.จะจัดสรรคลื่นคงามถี่ให้ได้ทั้ง 45 MHz เพื่อรองรับสัมปทานจะหมดสัญญาในอนาคต โดยคำนึงถึงความสมดุลของประโยชน์สำหรับประชาชนผู้บริโภค

"กสทช.ยอมรับว่าเรารู้สึกเจ็บปวดแต่เราไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เราขอก้มหน้าก้มตายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้"รองประธาน กสทช.กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ยื่นฟ้องศาลปกครองต่อกรณีการหน้าที่ของ กสทช.

ขณะที่ นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.กล่าวว่า หลังจากนี้จะมีกลุ่มใดฟ้องร้อง กสทช.เกี่ยวกับประมูลก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย แต่ก็ขอชี้แจงไม่ได้ประมูลใบอนุญาตในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากราคาตั้งต้นอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท/สล็อต

แม้ว่านักวิชาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเคยเสนอราคาเริ่มต้นประมูลที่ 6,440 ล้านบาท/สล็อต แต่ กสทช.ได้กำหนดราคาตั้งต้นที่ 67% ของมูลค่าคลื่น ซึ่งหากตั้งราคาเท่ากับที่ระบุไว้ก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่มีผู้เข้าประมูลจะยิ่งทำให้เสียหาย ซึ่งเราต้องดูกลไกตลาดด้วย แต่หลังจากนี้ กสทช.จะดูแลกติกาการให้บริการต่อไป

"เราไม่สามารถกำกับดูแลได้ทุกอย่าง ต้องปล่อยให้เป็นไปตากติกา ถ้าบอกราคาต่ำไปและบอกว่ากสทช.ฮั้วเท่ากับทำผิดกฎหมาย จึงอยากขอยืนยันว่ากระบวนการต่างๆทำตามกฎหมาย และวันนี้เป็นความสำเร็จที่เกิดการจัดสรรคลื่นความถี่"นายสุทธิพล กล่าว

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1510615

_______________________________________




จบแล้ว! ประมูล 3G 2.1 GHz ราคารวม 41,625 ล้านบาท

      ปิดการประมูล 3G 2.1 GHz จากการเคาะราคาทั้งหมด 7 รอบ ทำให้ราคารวมทั้ง 9 สล็อตในการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ 41,625 ล้านบาท ซึ่งสูงจากราคาตั้งต้นเพียง 2.78% เท่านั้น ซึ่งผู้เข้าประมูลที่เคาะราคาเพิ่มมีเพียงจากค่ายเอไอเอสเท่านั้น ส่วนค่ายอื่นประมูลที่ราคาตั้งต้น
   

      รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่าผลการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz (3G) ของกสทช. ในรอบที่ 7 ถือเป็น Final Phase ครั้งที่ 2 เริ่มในเวลา 15.15 น. ไม่มีรายใดเคาะประมูลเพิ่ม ส่งผลให้ปิดการประมูลที่มูลค่ารวม 9 สล็อต 41,625 ล้านบาท
   
      จากนี้ต้องรอผู้เข้าประมูลทั้ง 3 รายเลือกช่วงคลื่นความถี่ หลังจากนั้นทางกสทช.จะออกมาแถลงข่าวสรุปผลการประมูลในช่วงเย็นวันนี้
   
      โดยผู้ที่เสนอราคาสูงสุดคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นเงิน 14,625 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ 1950 MHz - 1965 MHz และ 2140 MHz - 2155 MHz ส่วนบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด และ บริษัท ดีแทค เนคเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท โดยทางบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จับฉลากได้เลือกช่วงคลื่นก่อน จึงเลือกช่วง 1935 MHz - 1950 MHz และ 2125 MHz - 2140 MHz ส่วนบริษัท ดีแทค เนคเวอร์ค จำกัด เลือกช่วงคลื่น 1920 MHz - 1935 MHz และ 2110 MHz - 2135 MHz
   
   
สล็อต A B C D E F G H I
รอบที่ 1 1 - - 1 2 - 1 2 1
รอบที่ 2 1 - - 0 1 - 0 1 0
รอบที่ 3 0 1 1 0 1 - 0 1 0
รอบที่ 4 0 0 0 0 0 - 0 0 0
รอบที่ 5 0 0 0 0 0 - 0 0 0
รอบที่ 6 เข้าสู่ Final Phase 0 0 0 0 0 1 0 0 0
รอบที่ 7 Final Phase Bided Bided Bided Bided Bided Bided Bided Bided Bided
สรุปราคาใบอนุญาต (ล้านบาท) 4,725 4,500 4,500 4,500 4,950 4,500 4,500 4,950 4,500
ราคารวมเมื่อจบรอบที่ 7 41,625


      กลุ่มผู้บริหารจาก บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ปัดให้การสัมภาษณ์และถ่ายภาพใดๆแก่สื่อมวลชน

      กลุ่มผู้บริหารจากกลุ่มทรู หรือบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ที่เข้าประมูลเปิดให้สื่อมวลชนถ่ายภาพ ภายหลังเดินออกมาจากอาคารสำนักงานกสทช. พร้อมชูสัญลักษณ์ 3G+ ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

      คณะผู้บริหารจากดีแทค หรือบริษัท ดีแทค เนคเวอร์ค จำกัด ที่เข้าร่วมประมูลเปิดให้สื่อจาก ASTVผู้จัดการเข้าถ่ายภาพหลังการประมูล แต่ปัดให้สัมภาษณ์ใดๆ

      ส่วนรอบที่ 6 ซึ่งถือเป็น Final Phase ครั้งแรก ที่เริ่มในเวลา 14.30 น. มีผู้เสนอราคาในสล็อต F 1 ราย ส่งผลให้ราคารวมขึ้นไปอยู่ที่ 41,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้น 9 สล็อต 40,500 ล้านบาท เพียง 2.77% เท่านั้น

      โดยในรอบที่ 5 ซึ่งเริ่มในเวลา 13.45 น. ยังคงไม่มีผู้ใดเสนอราคาเพิ่ม และไม่มีผู้ใช้สิทธิไม่เสนอราคา (เวฟเวอร์) ส่งผลให้การประมูลในรอบที่ 6 เข้าสู่ช่วง Final Phase แต่ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประมูลยังสามารถเคาะเพิ่มได้ และการรับ Final Phase สามารถมีได้หลายครั้งไปจนกว่าไม่มีรายใดเคาะเพิ่ม

      ในรอบที่ 4 ซึ่งเริ่มในเวลา 13.00 น. ปรากฏว่าไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่ม แต่มีการใช้สิทธิไม่เสนอราคา (เวฟเวอร์) ทำให้การประมูลในรอบถัดไปยังไม่ใช่รอบ Final Phase ดังนั้นราคาในรอบที่ 4 จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากรอบที่ผ่านมา

      ซึ่งเมื่อรอบที่ 3 ในช่วงเวลา 11.30 น. และประกาศผลในเวลา 12.50 น. ราคาประมูลต่อสล็อตที่มีการเสนอราคาขึ้นไปอยู่ที่ 4,950 ล้านบาท ในสล็อตช่อง E H โดยในช่อง A ยังคงราคาอยู่ที่ 4,725 ล้านบาท เนื่องจากใช้สิทธิผู้ชนะชั่วคราว
   
      เช่นเดียวกับในช่อง D และ I ที่ใช้สิทธิผู้ชนะชั่วคราว ส่งผลให้ในช่อง B C D G I ราคาอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยในสล็อดช่อง F ยังไม่มีรายใดเสนอราคาซึ่งราคายังคงอยูที่ 4,500 ล้านบาท ส่งผลให้ราคารวมใบอนุญาตในรอบที่ 3 อยู่ที่ 37,125 ล้านบาท

      รอบที่ 2 (เริ่มประมูลรอบที่ 2 ในช่วงเวลา 10.45 น. วันที่ 16 ต.ค. 55) ราคาประมูลต่อสล็อตที่มีการเสนอราคาขึ้นไปอยู่ที่ 4,725 ล้านบาท ในสล็อต A B E G H I โดยมีผู้เสนอราคาในช่อง A E H เพิ่ม ส่วนช่องที่เหลือใช้สิทธิผู้ชนะชั่วคราว ส่งผลให้ราคารวมใบอนุญาตในรอบที่ 2 อยู่ที่ 27,675 ล้านบาท

      โดยผลการประมูลในรอบที่ 1 เสร็จสิ้นในเวลา 10.30น. โดยผลออกมาว่าสล็อต A D E G H I มีผู้เสนอราคา ซึ่งสล็อตที่ E และ H มีผู้เสนอราคาซ้ำสองราย ขณะที่สล็อต B C F เป็นสล็อตที่ไม่มีผู้เสนอราคา และเป็นที่น่าสังเกตุว่าในรอบแรกมีผุ้เข้าประมูล 1 รายที่เลือกสล็อดเพียง 2 สล็อดหรือ 10 MHz เท่านั้น ส่วนอีก 2 รายเลือกรายละ 3 สล๊อดหรือ 15MHz ซึ่งอาจเป็นเทคนิคการประมูลที่ผู้เข้าประมูลตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้ว รอบแรกจึงได้เลือกเสนอราคาเพียง 2 สล็อดเท่านั้น
   

   
      การประมูลกำลังเข้าสู่รอบที่ 3 (เริ่มเวลา 11.30 น.) ซึ่งจะมีรายงานผลการประมูลในเวลา 12.50 น.
   

   
      การประมูลกำลังเข้าสู่รอบที่ 4 (เริ่มเวลา 13.00 น.) ซึ่งจะมีรายงานผลการประมูลในเวลา 13.45 น.
   
      การประมูลกำลังเข้าสู่รอบที่ 5 (เริ่มเวลา 13.45 น.) ซึ่งจะมีรายงานผลการประมูลในเวลา 14.30 น.
   

      การประมูลกำลังเข้าสู่รอบที่ 6 (เริ่มเวลา 14.30 น.) ซึ่งเริ่มนับเป็น Final Phase จะมีรายงานผลการประมูลในเวลา 15.15 น.

   
      การประมูลเข้าสู่รอบที่ 7 ซึ่งเป็น Final Phase ครั้งที่ 2 (เริ่มในเวลา 15.15น.) และจะมีรายงานผลในช่วง 16.00 น.
   
      สำหรับขั้นตอนการประมูลเพื่อแย่งชิงคลื่นความถี่ทั้ง 9 สลอตๆละ 5MHz ซึ่งราคาตั้งต้นสลอตละ 4,500 ล้านบาท และราคาขึ้นทุก 5% หรือ 225 ล้านบาท โดยตามกำหนดการจะสิ้นสุดการประมูลในวันแรกในเวลา 21.00 น.รวมจะมีการประมูล 10-12 รอบต่อวัน


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000126655


___________________________________


ประมูล3จี กสทช.คนไทยได้ใช้มี.ค.ปีหน้า


ปิดฉากประมูล3จีประเทศไทย กสทช.ปลื้ม ตั้งเป้าว่าเอกชนจะสามารถให้บริการได้ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.56 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ 18 จังหวัด
วันนี้ ( 16 ต.ค. ) คณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 3จี แถลงข่าวร่วมกัน โดยพ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เพื่อให้บริการ 3จี เสร็จสิ้นลง ว่า การประมูลครั้งนี้บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ประมูลคลื่นความถี่ไปในราคา 14,625 ล้านบาท ขณะที่บริษัท ดีแทค เนควอร์ค และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ประมูลคลื่นความถี่ไปในราคา 13,500 ล้านบาทเท่ากัน รวมการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ จำนวน 45 เมกะเฮิร์ตซได้เงิน 41,625 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ได้สิทธิ์ในการเลือกช่วงคลื่นก่อน ต่อด้วยบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ เลือกช่วงคลื่น และบริษัท ดีแทค เนควอร์ค เลือกช่วงคลื่น
ผลการเลือกย่านคลื่นความถี่ตามลำดับการเคาะราคาสูงสุด บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค เลือก
สล็อต 7 (G )  1950 – 1955 เมกะเฮิร์ตซ และ 2140 – 2145 เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 8 (H) 1955 – 1960   เมกะเฮิร์ตซ และ 2145 – 2150  เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 9 ( I ) 1960 – 1965 เมกะเฮิร์ตซ และ 2150 – 2155 เมกะเฮิร์ตซ

บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ เลือกช่วงคลื่น สล็อต 4  ( D) 1935 – 1940   เมกะเฮิร์ตซ และ 2125 – 2130 เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 5 (E) 1940 – 1945  เมกะเฮิร์ตซ และ  2130 – 2135  เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 6 ( F ) 1945 – 1950 เมกะเฮิร์ตซ และ 2135 – 2140 เมกะเฮิร์ตซ

บริษัท ดีแทค เนควอร์ค เลือกช่วงคลื่น สล็อต  1 (  A ) 1920 – 1925  เมกะเฮิร์ตซ และ 2110 – 2115  เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 2  ( B )  1925 – 1930 เมกะเฮิร์ตซ และ  2115 – 2120 เมกะเฮิร์ตซ
สล็อต 3 ( C ) 1930 – 1935 เมกะเฮิร์ตซ และ   2120 – 2125 เมกะเฮิร์ตซ

ต่อข้อถามเรื่องราคาที่ได้จากการประมูล พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ยอมรับว่าเป็นการประมูลครั้งแรกจึงได้รับแรงกดดันมาก ซึ่งจริงๆ แล้วการคำนวณตัวเลขต่างๆ อยู่ในการคำนวณตามสูตรของคลื่นความถี่ ซึ่งในช่วงแรกที่ยังไม่มีการประมูลในอีกหนึ่งสล๊อตก็มีความกังวลใจว่าจะต้องจัดประมูลใหม่ภายใน 1 ปี แต่ในการประมูลก็จะได้เห็นว่าผู้เข้าร่วมประมูลมียุทธศาสตร์ที่จะทำให้ได้การประมูลที่ต่ำที่สุด ซึ่งคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ไม่ใช่คำตอบของทั้งหมด ยังมีคลื่นความถี่ที่จะประมูลอีก เมื่อจบการประมูลเสร็จแล้วคาดว่าจะสามารถออกใบอนุญาตได้ในต้นเดือนพ.ย.55 และตั้งเป้าว่าเอกชนจะสามารถให้บริการได้ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.56 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ 18 จังหวัด จากนั้นการให้บริการจะครอบคลุม 50% ภายใน 2 ปี และครอบคลุม 80% ภายใน 4 ปี


เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/161341

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.