Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กันยายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) ใช้งบประมาณราว 7 ล้านบาท จัดงานCountdown การประมูล 3G ( ทุกค่ายมือถือหลักยิ้ม ประมูลแน่นอน )

(เกาะติดประมูล3G) ใช้งบประมาณราว 7 ล้านบาท จัดงานCountdown การประมูล 3G ( ทุกค่ายมือถือหลักยิ้ม ประมูลแน่นอน )


ประเด็นหลัก


รายงานข่าวแจ้งว่า ในครั้งนี้สำนักงาน กสทช. ใช้งบประมาณราว 7 ล้านบาท ในการจัดงานแถลงข่าว Countdown การประมูล 3G ร่วมสานฝันภารกิจเพื่อชาติ เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี.



รอง เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า งานวันนี้จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการประมูล คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz รวมถึงเป็นการยืนยันว่าการดำเนินการจัดประมูลจะกระทำด้วยความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม ตลอดจนถือเป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่ายในวงการโทรคมนาคม ทั้งหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการ มาพร้อมใจรวมพลังเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย รวมกันสนับสนุนให้การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เกิดขึ้น



นาย สมประสงค์ บุณยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช กล่าวว่า บริษัทมั่นใจที่จะส่งกลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เข้าร่วมประมูลเต็ม 100% ซึ่งจะชนะการประมูลหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญ เพราะสิ่งสำคัญคือประโยชน์ของประเทศชาติ

ทั้งนี้ บริษัทมีพร้อมเรี่องเงินทุนและมีเงินสดหมุนเวียนอยู่ในมือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และการกู้เงินจากแบงก์ทั้งในและต่างประเทศ ส่วนแผนรองรับนั้นไม่ได้มีการเตรียมการอะไรรองรับ แต่จะเน้นการพัฒนา 3จี เดิมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมมองว่า ซึ่งการเปิดประมูลครั้งนี้นั้นจะทำให้ประเทศไทยมีเงินจากการประมูลหลายหมื่น ล้านบาท มีเน็ตเวิร์กที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 พร้อมทั้งมองว่าไม่มีปัจจัยอะไรที่จะทำให้เกิดการล้มประมูล 3จี ในครั้งนี้ด้วย

นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า มั่นใจว่าการประมูล 3จี จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมา กสทช.ได้ดำเนินการตามกรอบตารางต่างๆ ที่กำหนดไว้ จึงไม่คิดว่าจะมีเรื่องเรื่องอะไรที่เป็นปัญหาอีก อย่างไรก็ตาม ยังคาดหวังว่าคนไทยจะได้ใช้ 3จี และผู้ประกอบการจะได้ขยายการทำธุรกิจบนคลื่นความถี่แห่งนี้ ขณะที่ ดีแทค ไม่มีแผนสำรองใดๆ และมีความพร้อมเรื่องการเงิน

นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการโครงข่าย กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มั่นใจว่าการประมูล 3จีครั้งนี้ เตรียมความพร้อมมานานแล้ว และหวังที่จะได้ใบอนุญาต 15 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่เบื้องต้นประมาณการเงินประมูลไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทั้งที่มีอยู่และจากการกู้แบงก์ ทั้งนี้ เชื่อว่ากลุ่มทรูจะได้ตามเป้าที่วางไว้ พร้อมทั้งเลือกบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ยื่นซองประมูล













________________________________________

กสทช.ละเลง7ล้าน จัดเคาท์ดาวน์ประมูล3จี เอกชนมั่นใจไม่ล้ม

กสทช.ทุ่ม งบ 7 ล้านบาท จัดเคาต์ดาวน์ประมูล 3จี ความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หวังเรียกความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ยืนยันกระบวนการโปร่งใส ไร้อุปสรรค ขณะที่ 3 ค่ายมือถือตบเท้าเตรียมเงิน มั่นใจเปิดประมูลได้ชัวร์ 16 ต.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช.เริ่มนับถอยหลังประมูล 3จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นวิธีการตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 45 กำหนดไว้


สำหรับ รูปแบบที่จะใช้ในการประมูล กทค.และ กสทช.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทร คมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications–IMT) ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ สาระสำคัญของร่างประกาศ ประกอบด้วย จำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้เข้าประมูลแต่ละรายสามารถถือครองได้ (Spectrum Cap) คือ 15 เมกะเฮิรตซ์ และแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีราคาประมูลตั้งต้นอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์

รองประธาน กสทช. กล่าวต่อว่า งานวันนี้ จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญและประโยชน์ รวมถึงยืนยันว่าการดำเนินการจัดประมูลจะกระทำด้วยความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม ในส่วนของสำนักงาน กสทช. ได้เตรียมพร้อมทั้งในด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสารสนเทศ ความปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์ สำหรับการประมูล โดยมีคณะกรรมการดำเนินการประมูล 4 คณะ ได้แก่ คณะทำงานเตรียมการประมูล คณะทำงานด้านวิชาการ คณะทำงานรับและตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต และคณะทำงานตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาต ดูแล สำหรับที่ปรึกษาการประมูลได้บริษัท พาวเวอร์ อ็อกชั่น มาเป็นที่ปรึกษา และดูแลระบบซอฟต์แวร์การประมูล


นายสมประสงค์ บุณยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช กล่าวว่า บริษัทมั่นใจที่จะส่งกลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เข้าร่วมประมูลเต็ม 100% ซึ่งจะชนะการประมูลหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญ เพราะสิ่งสำคัญคือประโยชน์ของประเทศชาติ

ทั้ง นี้ บริษัทมีพร้อมเรี่องเงินทุนและมีเงินสดหมุนเวียนอยู่ในมือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และการกู้เงินจากแบงก์ทั้งในและต่างประเทศ ส่วนแผนรองรับนั้นไม่ได้มีการเตรียมการอะไรรองรับ แต่จะเน้นการพัฒนา 3จี เดิมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมมองว่า ซึ่งการเปิดประมูลครั้งนี้นั้นจะทำให้ประเทศไทยมีเงินจากการประมูลหลายหมื่น ล้านบาท มีเน็ตเวิร์กที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 พร้อมทั้งมองว่าไม่มีปัจจัยอะไรที่จะทำให้เกิดการล้มประมูล 3จี ในครั้งนี้ด้วย

นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า มั่นใจว่าการประมูล 3จี จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมา กสทช.ได้ดำเนินการตามกรอบตารางต่างๆ ที่กำหนดไว้ จึงไม่คิดว่าจะมีเรื่องเรื่องอะไรที่เป็นปัญหาอีก อย่างไรก็ตาม ยังคาดหวังว่าคนไทยจะได้ใช้ 3จี และผู้ประกอบการจะได้ขยายการทำธุรกิจบนคลื่นความถี่แห่งนี้ ขณะที่ ดีแทค ไม่มีแผนสำรองใดๆ และมีความพร้อมเรื่องการเงิน

นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการโครงข่าย กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มั่นใจว่าการประมูล 3จีครั้งนี้ เตรียมความพร้อมมานานแล้ว และหวังที่จะได้ใบอนุญาต 15 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่เบื้องต้นประมาณการเงินประมูลไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทั้งที่มีอยู่และจากการกู้แบงก์ ทั้งนี้ เชื่อว่ากลุ่มทรูจะได้ตามเป้าที่วางไว้ พร้อมทั้งเลือกบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ยื่นซองประมูล

Cloud Computing
สำหรับการเปิด ประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3จี ล่าสุดมีบริษัทที่สนใจขอรับรายละเอียดการประมูลแล้วจำนวน 16 ราย โดยบริษัท ซิมโฟนี่คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทล่าสุด โดยจะเปิดรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลได้จนถึงวันที่ 28 ก.ย. 2555 โดยผู้ที่มาขอรับใบอนุญาตจะต้องนำเอกสารสำคัญ 3 อย่าง คือ 1.วางหลักประกันการประมูลเป็นเช็ค จำนวน 1,350 ล้านบาท 2.ชำระค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาตในจำนวน 5 แสนบาท 3.หนังสือสนับสนุนทางด้านการเงินในการประกอบกิจการจากสถาบันการเงินประเภท ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ต่อ กสทช. จากนั้นจะพิจารณาคุณสมบัติและประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลในวันที่ 10 ต.ค. และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการประมูลในวันที่ 12-13 ต.ค. ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการเริ่มประมูลในวันที่ 16-18 ต.ค. และประกาศผลผู้ชนะการประมูลในวันที่ 19-22 ต.ค.นี้

รายงานข่าวแจ้ง ว่า ในครั้งนี้สำนักงาน กสทช. ใช้งบประมาณราว 7 ล้านบาท ในการจัดงานแถลงข่าว Countdown การประมูล 3G ร่วมสานฝันภารกิจเพื่อชาติ เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/292548

____________________________________-

กสทช. เคาท์ดาวน์ประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz ยืนยัน! กระบวนการโปร่งใสเป็นธรรม

(20 กันยายน 2555) กสทช. ประกาศเริ่มนับถอยหลังประมูล 3G คลื่นความถี่ 2.1 GHz อีกครั้งกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในประเทศ สู่การเป็น “เครือข่ายไทย เครือข่ายโลก” พร้อมเผยวิธีการประมูลและกระบวนการที่โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่น ด้วยมาตรฐานสากล ดีเดย์ 16 ตุลาคม นี้


นาย พิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) เผยวันนี้การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อเดินหน้าสู่การพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เต็มรูปแบบ เป็นวาระแห่งชาติที่ได้รับเสียงตอบรับจากทุกฝ่าย 16 ตุลาคม 2555 คือ วันที่จะจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งแรกของประเทศไทย



การ พัฒนาเครือข่าย 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จะทำให้สามารถใช้งานโทรคมนาคม ได้อย่างสมบูรณ์ครอบคลุมทุกรูปแบบ วันนี้เราทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศได้มาแสดงเจตนารมณ์ร่วม กันที่จะผลักดันประเทศไทยสู่การสื่อสารยุค 3G สมบูรณ์แบบ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ซึ่งจะส่งผลดีกับประเทศในการรองรับนโยบายเปิดเสรีอาเซียน ที่กำลังจะมาถึง

ประเทศ ไทยจะได้ประโยชน์จากการนำโครงข่าย 3G มาใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา Tele-Education และการสาธารณสุข Tele-Health ในท้องถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล นอกจากนี้ยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความสับสนของประชาชนในการเลือกซื้อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้รองรับกับเครือข่ายของ ผู้ให้บริการ 3G เมื่อบ้านเราใช้เทคโนโลยี 3G มาตรฐาน ก็จะสามารถรองรับเครื่องลูกข่ายที่รองรับ 3G ที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดได้ และที่สำคัญยังเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการโทรคมนาคมของประเทศไทย จากเดิมในยุคผูกขาดด้วยระบบสัมปทานไปสู่ระบบการให้ใบอนุญาตเป็นครั้งแรก

นาย พิทยาพล กล่าวว่า กสทช. ใช้วิธีจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูล ซึ่งเป็นวิธีการตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 กำหนดไว้ สำหรับรูปแบบที่จะใช้ในการประมูล กทค. และ กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International MobileTelecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz สาระสำคัญของร่างประกาศประกอบด้วย จำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้เข้าประมูลแต่ละรายสามารถถือครองได้ (Spectrum Cap) คือ 15 MHz และมีการแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 MHz โดยมีราคาประมูลตั้งต้นอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 MHz

ในทุก ขั้นตอน กสทช. ได้ดำเนินการด้วยความรอบคอบ ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย โปร่งใส เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจะนำเอาคลื่นย่าน 2.1 GHz มาให้บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพทางการสื่อสารให้กับประเทศไทย เพิ่มโอกาสในการลงทุนเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนทุกคน

รอง เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า งานวันนี้จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการประมูล คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz รวมถึงเป็นการยืนยันว่าการดำเนินการจัดประมูลจะกระทำด้วยความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม ตลอดจนถือเป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่ายในวงการโทรคมนาคม ทั้งหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการ มาพร้อมใจรวมพลังเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย รวมกันสนับสนุนให้การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เกิดขึ้น

ใน ส่วนของสำนักงาน กสทช. เอง ก็ได้เตรียมพร้อมทั้งในด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสารสนเทศ ความปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์ สำหรับการประมูล โดยมีคณะกรรมการดำเนินการประมูล 4 คณะ ได้แก่ คณะทำงานเตรียมการประมูล คณะทำงานด้านวิชาการ คณะทำงานรับและตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต และคณะทำงานตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาต ดูแล สำหรับที่ปรึกษาการประมูลได้บริษัท พาวเวอร์ อ็อกชั่น มาเป็นที่ปรึกษา และดูแลระบบซอฟท์แวร์การประมูล

นายพิทยาพล กล่าวทิ้งท้ายว่า กสทช. อยากให้ประชาชนคนไทยทุกคนรวมพลัง และให้การสนับสนุนการประมูล 3G ครั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยของเราได้มีโอกาสใช้บริการที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพทางการสื่อสารให้กับประเทศเพิ่มโอกาสในการลงทุน 16 ตุลาคม 2555 นี้ วันประมูลคลื่นความถี่ครั้งแรกของประเทศไทย ณ สำนักงาน กสทช.

ฐานเศษรฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=143399:-3g-21-ghz-
&catid=143:2011-01-26-05-35-57&Itemid=597

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.