23 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)(บทความ) การคุ้มครองผู้บริโภค กสทช.เต่าล้านปี?
ประเด็นหลัก
ล้มเหลวซึ่งสวนทางกับประกาศเจตนารมณ์ของ กสทช.ว่า จะดูแลงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคหลังจากโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการประมูลคลื่น 3 G โดย ดร.สมเกียรติระบุว่า
"เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2554 - พ.ค. 2555 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช. ปล่อยให้สำนักงาน กสทช. เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR"
_______________________________
การคุ้มครองผู้บริโภค กสทช.เต่าล้านปี?
ในบทความเรื่อง “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของกสทช.” ของ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในตอนหนึ่งได้เขียนถึงงานคุ้มครองผู้บริโภคของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่า...
ล้มเหลวซึ่งสวนทางกับประกาศเจตนารมณ์ของ กสทช.ว่า จะดูแลงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคหลังจากโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการประมูลคลื่น 3 G โดย ดร.สมเกียรติระบุว่า
"เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2554 - พ.ค. 2555 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช. ปล่อยให้สำนักงาน กสทช. เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR"
จากบทสรุปของ ดร.สมเกียรติ ผู้ที่รู้เรื่องนี้เกี่ยวกับการทำงานของสำนักงาน กสทช.ในงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้ขยายความเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ทำให้งานด้านนี้ล้มเหลวเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. ปัจจุบันกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. เคร่งครัดกับการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายมาก ๆ โดยเฉพาะกับผู้ร้องเรียน ต้องการให้ผู้ร้องเรียนปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย หากผู้ร้องเรียนไม่ทำให้ถูกต้อง สำนักงาน กสทช.จะไม่ดำเนินการให้เด็ดขาด เช่น ถ้าผู้บริโภคส่งเรื่องร้องเรียนไปทางอีเมล์ หรือ ทางโทรสาร(แฟกซ์) แม้ว่าจะกรอกแบบฟอร์มร้องเรียน และส่งเอกสารบัตรประชาชน หลักฐานต่าง ๆ มาครบถ้วนแล้ว สำนักงานจะไม่ดำเนินการให้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทำเรื่องร้องเรียนเป็นหนังสือ
โดยอ้างว่า ว่า การส่งเรื่องร้องเรียนมาทางแฟกซ์ หรือทางอีเมล์นั้น เป็นการร้องเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่ “หนังสือ” ตามนิยามของกฎหมาย จึงต้องให้ผู้ร้องเรียนนำเอกสารที่ส่งอีเมล์มาให้หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแล้ว พิมพ์ใส่ซองติดแสตมป์แล้วส่งไปรษณีย์กลับไปให้อีกครั้ง จึงจะรับไว้เป็นเรื่องร้องเรียนตามกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.ถูกผู้ร้องเรียนจำนวนมาก “ด่า” เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องงี่เง่า ไร้สาระล่าสุด มีผู้ส่งเรื่องนี้ให้ สำนักกฎหมาย และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม( กทค.) วินิจฉัยแล้วว่า การส่งเรื่องร้องเรียนเป็นหนังสือมีน่ยามเช่นไร
2. หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ยังให้ความสำคัญอย่างมาก กับการออกหนังสือราชการไปยังบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตที่ถูกร้องเรียน เพราะ คือ หน้าตา ศักดิ์ศรี และความน่าเชื่อถือขององค์กร ที่จะแสดงให้ผู้ประกอบการและบุคคลภายนอกได้เห็น ในแต่ละวันผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.จะต้องตรากตรำกับการเคี่ยวเข็ญให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขหนังสือราชการให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เช่น ระยะห่างระหว่างบรรทัดในย่อหน้าต้องมีขนาด 6 point และระยะห่างระหว่างย่อหน้าต้องมีขนาด 12 point, ที่อยู่ของ กสทช.จะต้องให้ตรงกับเท้าครุฑ บนหัวหนังสือ หากทำผิดไปจากนี้ แม้ว่าจะต้องเสียแรง เสียทรัพยากรกระดาษ เสียเวลาทำให้เรื่องร้องเรียนล่าช้าออกไปกี่วันก็ตาม หน่วยงานด้านการรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคม ก็จะไม่มีวันปล่อยให้หนังสือราชการที่ไม่เรียบร้อยสวยงาม ออกไปจากหน่วยงานอันทรงเกียรตินี้เป็นอันขาด
3. การเคร่งครัดกับขั้นตอนการปฏิบัติทำระเบียบทุกกระเบียดนิ้วทำให้มีเรื่องร้องเรียนด้านกิจการโทรคมนาคม กองอยู่นับร้อยเรื่องไม่คืบหน้าไปไหนแก้ไขไม่ได้ แต่ไม่ส่งต่อให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภคพิจารณาเพื่อเสนอต่อ กทค.
4. กลุ่มงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ผู้บริหารจะคิดแต่ว่า ไร้อำนาจทำอะไรไม่ได้ เรื่องนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจ เรื่องนั้นก็ไม่เกี่ยว เรื่องนี้ก็ทำไม่ได้ เดี๋ยวบริษัทฟ้อง แต่กลับได้งบประมาณเพื่อไปดูงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคถึงฝรั่งเศส ในระหว่างวันที่ 6-13 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่เวลาแก้ปัญหาข้อร้องเรียนหาผู้บริหารสักคนไม่เจอ เป็นองค์กรที่ไม่มีคนรับผิดชอบเพราะคิดแต่จะบินไปเมืองนอก น่าสงสารจริง ๆ ผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
สาเหตุของความล้มเหลวเรื่องนี้ชี้วัดได้จากจำนวนเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนและค้างอยู่โดยไม่มีการสะสางว่ามีอยู่นับร้อย เรื่องจริง ไม่ค้างอยู่นานแค่ไหนแล้ว
ถ้าข้อกล่าวหาของ ดร.สมเกียรติและข้อมูลที่ขยายเพิ่มเติมไม่จริง ก็อยากเห็นสำนักงาน กสทช.วิ่งพล่านแถลงข่าวชี้แจงเหมือนเรื่องประมูลคลื่น 3 G โดยเร็วด้วย
สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%
97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8
%99%E0%B9%8C/59-2012-08-12-13-59-01/17227-
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%
B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B
8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0
%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%
E0%B8%84-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%
A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8
%B5.html
ล้มเหลวซึ่งสวนทางกับประกาศเจตนารมณ์ของ กสทช.ว่า จะดูแลงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคหลังจากโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการประมูลคลื่น 3 G โดย ดร.สมเกียรติระบุว่า
"เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2554 - พ.ค. 2555 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช. ปล่อยให้สำนักงาน กสทช. เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR"
_______________________________
การคุ้มครองผู้บริโภค กสทช.เต่าล้านปี?
ในบทความเรื่อง “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของกสทช.” ของ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในตอนหนึ่งได้เขียนถึงงานคุ้มครองผู้บริโภคของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่า...
ล้มเหลวซึ่งสวนทางกับประกาศเจตนารมณ์ของ กสทช.ว่า จะดูแลงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคหลังจากโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการประมูลคลื่น 3 G โดย ดร.สมเกียรติระบุว่า
"เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2554 - พ.ค. 2555 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช. ปล่อยให้สำนักงาน กสทช. เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR"
จากบทสรุปของ ดร.สมเกียรติ ผู้ที่รู้เรื่องนี้เกี่ยวกับการทำงานของสำนักงาน กสทช.ในงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้ขยายความเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ทำให้งานด้านนี้ล้มเหลวเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. ปัจจุบันกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. เคร่งครัดกับการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายมาก ๆ โดยเฉพาะกับผู้ร้องเรียน ต้องการให้ผู้ร้องเรียนปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย หากผู้ร้องเรียนไม่ทำให้ถูกต้อง สำนักงาน กสทช.จะไม่ดำเนินการให้เด็ดขาด เช่น ถ้าผู้บริโภคส่งเรื่องร้องเรียนไปทางอีเมล์ หรือ ทางโทรสาร(แฟกซ์) แม้ว่าจะกรอกแบบฟอร์มร้องเรียน และส่งเอกสารบัตรประชาชน หลักฐานต่าง ๆ มาครบถ้วนแล้ว สำนักงานจะไม่ดำเนินการให้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทำเรื่องร้องเรียนเป็นหนังสือ
โดยอ้างว่า ว่า การส่งเรื่องร้องเรียนมาทางแฟกซ์ หรือทางอีเมล์นั้น เป็นการร้องเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่ “หนังสือ” ตามนิยามของกฎหมาย จึงต้องให้ผู้ร้องเรียนนำเอกสารที่ส่งอีเมล์มาให้หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแล้ว พิมพ์ใส่ซองติดแสตมป์แล้วส่งไปรษณีย์กลับไปให้อีกครั้ง จึงจะรับไว้เป็นเรื่องร้องเรียนตามกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.ถูกผู้ร้องเรียนจำนวนมาก “ด่า” เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องงี่เง่า ไร้สาระล่าสุด มีผู้ส่งเรื่องนี้ให้ สำนักกฎหมาย และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม( กทค.) วินิจฉัยแล้วว่า การส่งเรื่องร้องเรียนเป็นหนังสือมีน่ยามเช่นไร
2. หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ยังให้ความสำคัญอย่างมาก กับการออกหนังสือราชการไปยังบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตที่ถูกร้องเรียน เพราะ คือ หน้าตา ศักดิ์ศรี และความน่าเชื่อถือขององค์กร ที่จะแสดงให้ผู้ประกอบการและบุคคลภายนอกได้เห็น ในแต่ละวันผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.จะต้องตรากตรำกับการเคี่ยวเข็ญให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขหนังสือราชการให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เช่น ระยะห่างระหว่างบรรทัดในย่อหน้าต้องมีขนาด 6 point และระยะห่างระหว่างย่อหน้าต้องมีขนาด 12 point, ที่อยู่ของ กสทช.จะต้องให้ตรงกับเท้าครุฑ บนหัวหนังสือ หากทำผิดไปจากนี้ แม้ว่าจะต้องเสียแรง เสียทรัพยากรกระดาษ เสียเวลาทำให้เรื่องร้องเรียนล่าช้าออกไปกี่วันก็ตาม หน่วยงานด้านการรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคม ก็จะไม่มีวันปล่อยให้หนังสือราชการที่ไม่เรียบร้อยสวยงาม ออกไปจากหน่วยงานอันทรงเกียรตินี้เป็นอันขาด
3. การเคร่งครัดกับขั้นตอนการปฏิบัติทำระเบียบทุกกระเบียดนิ้วทำให้มีเรื่องร้องเรียนด้านกิจการโทรคมนาคม กองอยู่นับร้อยเรื่องไม่คืบหน้าไปไหนแก้ไขไม่ได้ แต่ไม่ส่งต่อให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภคพิจารณาเพื่อเสนอต่อ กทค.
4. กลุ่มงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ผู้บริหารจะคิดแต่ว่า ไร้อำนาจทำอะไรไม่ได้ เรื่องนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจ เรื่องนั้นก็ไม่เกี่ยว เรื่องนี้ก็ทำไม่ได้ เดี๋ยวบริษัทฟ้อง แต่กลับได้งบประมาณเพื่อไปดูงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคถึงฝรั่งเศส ในระหว่างวันที่ 6-13 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่เวลาแก้ปัญหาข้อร้องเรียนหาผู้บริหารสักคนไม่เจอ เป็นองค์กรที่ไม่มีคนรับผิดชอบเพราะคิดแต่จะบินไปเมืองนอก น่าสงสารจริง ๆ ผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
สาเหตุของความล้มเหลวเรื่องนี้ชี้วัดได้จากจำนวนเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนและค้างอยู่โดยไม่มีการสะสางว่ามีอยู่นับร้อย เรื่องจริง ไม่ค้างอยู่นานแค่ไหนแล้ว
ถ้าข้อกล่าวหาของ ดร.สมเกียรติและข้อมูลที่ขยายเพิ่มเติมไม่จริง ก็อยากเห็นสำนักงาน กสทช.วิ่งพล่านแถลงข่าวชี้แจงเหมือนเรื่องประมูลคลื่น 3 G โดยเร็วด้วย
สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%
97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8
%99%E0%B9%8C/59-2012-08-12-13-59-01/17227-
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%
B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B
8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0
%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%
E0%B8%84-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%
A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8
%B5.html
ไม่มีความคิดเห็น: