Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)ป.ป.ช.มีมติรับร้องเรียนประมูล 3G ( ตามที่ศาลชี้ภาคประชาชน)รองปลัดคลังปล่อยไปอาจมีปัญหา/แจ้งวุฒิสภา

ประเด็นหลัก

นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้แถลงข่าวผลการประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่ ว่า ที่ประชุมได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหาการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือไลเซ่นส์ คลื่นความถี่ 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยให้รวมคำร้องที่มีผู้ยื่นเข้ามาในกรณีดังกล่าว 5 คำร้องไว้ด้วยกัน เนื่องจากเป็นการกล่าวหาในทิศทางเดียวกันว่าการประมูลไลเซ่นส์ 3 จีดังกล่าว อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว โดยให้ยึดเอาคำร้องของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เป็นคำร้องหลัก


ขณะที่นางสาวสุภา ชี้แจงถึงการทำหนังสือทักท้วงการประมูล ว่า เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมการประมูล ที่เข้าข่ายสมยอมไม่มีการแข่งขัน รวมถึงการกำหนดราคาที่ไม่มีความสมเหตุสมผล จึงทำหนังสือทักท้วงว่าหน่วยงานต้นเรื่อง ควรจะมีการทบทวนการประมูลหรือไม่ ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วจำเป็นจะต้องมีการแข่งขัน แต่กลับมีการจัดสรรคลื่นความถี่ตรงกับจำนวนของผู้ประกอบการที่ร่วมประมูลพอดี ทั้งหมดนี้จึงทำให้ ผู้ประมูลทั้ง เอไอเอส ทรู และดีแทค ได้ประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมกว่า 419,000 ล้านบาท และทำให้ทีโอที ขาดทุนทันที จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องลดราคาลง   ทั้งนี้การทำหนังสือทักท้วงของตนไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด หากปล่อยเรื่องนี้ไปอาจมีปัญหาในภายภาคหน้า


แบกเอกสารประมูล 3 จี ประกอบการพิจารณา ด้านประธานกสทช. ชี้กรณีการเรียกประชุมบอร์ดด่วน! ต้องพิจารณาความเหมาะสม
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เดินทางไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา   ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น .  ที่อาคารวุฒิสภา โดยประกอบไปด้วย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กทค. , พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และพัฒนาสังคม, ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย, รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ และนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  เพื่อชี้แจ้งข้อเท็จจริงการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จีในวันที่ 16ต.ค.55 ที่ผ่านมา








____________________________




มติ ป.ป.ช.ตั้งอนุฯ ไต่สวนการประมูล 3G


      การประชุมใหญ่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนกรณีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากหลายกลุ่ม เช่น กระทรวงการคลัง คณะกรรมาธิการวุฒิสภา กลุ่มของนายสุริยะใส กตะศิลา ที่ต้องการให้สอบสวนในประเด็นการจัดประมูลที่ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา การตั้งราคาประมูลที่ต่ำ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการฮั้วประมูล

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000130588&Keyword=3g

________________________________________


ป.ป.ช.ถกรับ/ไม่รับพิจารณาข้อร้องเรียนประมูล 3G



      การประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. วันนี้เป็นการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ โดยจะพิจารณาวาระที่น่าสนใจคือ เรื่องการประมูลความถี่ 2.1 GHz หรือคลื่น 3G ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่กลุ่มต่างๆ ยื่นเรื่องร้องเรียนขอให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบความโปร่งใสในการประมูล รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ กสทช. ที่มีพฤติกรรมอาจเข้าข่ายการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเสนอราคาต่อรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล และความผิดตามประมูลกฎหมายอาญา มาตรา 157 การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และประพฤติมิชอบจากการออกหลักเกณฑ์การะประมูล ที่หลีกเลี่ยงการแข่งขัน ที่ทำให้เกิดความเสียหาย
      ซึ่งวันนี้ ป.ป.ช.จะพิจารณาว่าข้อร้องเรียนดังกล่าวตรงตามหลักเกณฑ์ และ ป.ป.ช.มีอำนาจรับไว้พิจารณาหรือไม่ และหากคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติรับเรื่องไว้พิจารณา ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการไต่สวนเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งคณะอนุกรรมการจะมีอำนาจในการแสวงหาความจริงและสามารถขอเอกสารเพิ่มเติมหรือเรียกบุคคลเข้ามาให้ข้อมูลได้

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000130512&Keyword=3g

_____________________________________


ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนฮั้วประมูล 3G รวบเรื่องร้องเรียนจากทุกฝ่าย


ที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน กรณีการจัดประมูลใบอนุญาต 3G หลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงการคลัง คณะกรรมธิการวุฒิสภา, กลุ่มนายสุริยใส กตะศิลา ที่ต้องการให้สอบสวนในประเด็นการจัดประมูล ที่ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา,การตั้งราคาประมูลที่ต่ำ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการฮั้วประมูล



ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการชุดดังกล่าว และคาดว่าจะสามารถเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการได้ในสัปดาห์หน้า

นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติรับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบความโปร่งใสในการประกวดราคาคลื่นความถี่ 3G และการปฏิบัติหน้าที่ของกสทช. เนื่องจากเห็นว่าคำร้องทั้ง 5 คำร้อง มีข้อเท็จจริงในทำนองเดียวกัน ซึ่งคำร้องเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ซึ่งตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้อำนาจกับ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสามารถไต่สวนข้อเท็จจริงได้

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq01/1516446

______________________________________


ป.ป.ช.ตั้งอนุไต่สวนสอบ กสทช.ฮั้วประมูล 3 จี

"กล้านรงค์" แถลงมติ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวน สอบประมูล 3 จี ผิด พ.ร.บ.ฮั้วหรือไม่ ให้ "ภักดี-ใจเด็ด" ปธ.ร่วม



    ในวันที่ 25 ต.ค. นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้แถลงข่าวผลการประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่ ว่า ที่ประชุมได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหาการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือไลเซ่นส์ คลื่นความถี่ 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยให้รวมคำร้องที่มีผู้ยื่นเข้ามาในกรณีดังกล่าว 5 คำร้องไว้ด้วยกัน เนื่องจากเป็นการกล่าวหาในทิศทางเดียวกันว่าการประมูลไลเซ่นส์ 3 จีดังกล่าว อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว โดยให้ยึดเอาคำร้องของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เป็นคำร้องหลัก

    “ที่ประชุม ป.ป.ช.ได้มีมติแต่งตั้งให้นายภักดี โพธิศิริ และนายใจเด็ด พรไชยา 2 กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานร่วมอนุกรรมการไต่สวนชุดดังกล่าว” นายกล้านรงค์กล่าว

    ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า ก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 ต.ค.ทางสำนักงาน กสทช.นำโดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้เดินทางไปยื่นหนังสือชี้แจงการประมูลไลเซ่นส์ 3 จี ทั้งต่อ ป.ป.ช. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยเอกสารที่นำไปยื่นต่อองค์กรตรวจสอบทั้ง 4 แห่ง จะประกอบด้วย 1.เอกสารในแฟ้ม และ 2.เอกสารเป็นรูปเล่ม (ดังตารางด้านล่าง)

-เอกสารในแฟ้ม

1.

คำสั่ง กสทช. ที่ 2/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT-2000 หรือ IMT Advanced

2.

รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT-2000 หรือ IMT Advanced ครั้งที่ 1 – 10

3.

คำสั่ง กสทช. ที่ 32/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนภารกิจเพื่อเตรียมความพร้อมในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz

4.

รายงานการประชุมคณะทำงานสนับสนุนภารกิจเพื่อเตรียมความพร้อมในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ครั้งที่ 1 – 5

5.

สรุปความคิดเห็นจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunication – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. ....

6.

ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz

7.

Final Report Prepared For NBTC By power Auction LLC

8.

Profile Power Auctions & Mr. Sam dinkin

9.

สัญญาจ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา

10.

เอกสารของ FCC Spectrum: renewal and pricing in Europe , Licensing of third Generation (3G) Mobile: Brief paper 2001 , Value Partners  Management consulting

-เอกสารเป็นรูปเล่ม

1.

ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555

2.

สรุปข้อสนเทศ (Information Memorandum) การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz

3.

รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ และมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz

4.

Spectrum Licensing for Mobile Phone Service (IMT, or 3G and Beyond): InterConnect Communications Ltd, DotEcon Ltd and KPMG Phoomchai Business Advisory Ltd

5.

Economic and Regulatory Analysis for Mobile Phone Service (IMT or 3G and beyond): NERA Economic Consulting

6.

การศึกษาด้านเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแลสำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่

(IMT หรือ 3G and beyond): NERA Economic Consulting

7.

คู่มือสำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz

สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0
%B8%B2%E0%B8%A7/57-2012-08-12-13-59-01/17276-
%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%8A-3G.html


_______________________________________


กสทช. แจงประมูล 3จี โปร่งใส - รองปลัด ก.คลัง ยันไม่มีเจตนาแอบแฝง

           
ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา โดยมีน.ส.สุมล  สุตะวิริยะวัฒน์  ส.ว.เพชรบุรี ในฐานประธานฯ ได้พิจารณาตรวจสอบการดำเนินการประมูล 3จี ว่า เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หรือเข้าข่ายการกระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการเสนอราคาหรือฮั๊วประมูลหรือไม่ ตามที่มีการร้องเรียนมายังคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งทางกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง อาทิ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธานกสทช. นายประวิทย์ สี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง   เป็นต้น

พ.อ.เศรษฐพงศ์ ชี้แจงว่า กสทช.ได้ดำเนินการจัดการประมูลโดยเป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของคณะอนุกรรมรองรับการใช้งานคลื่น 3จี  2.1 กิกกะเฮิร์ทซ ทั้งการกำหนดคลื่นความถี่และราคา ที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดการแข่งขัน โดยยืนยันว่า การดำเนินงานเป็นไปตามพรบ.ว่าด้วยการเสนอราคา ซึ่งมีความเป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใด หรือบริษัทใดๆ
           
ด้านนายประวิทย์ หนึ่งในเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลดังกล่าว กล่าวว่า การกำหนดราคาแม้มีการตั้งราคาต่ำสุด แต่ควรมีการกำหนดราคาตั้งต้นที่สูงพอสมควร โดยค่าเฉลี่ยควรตั้งอยู่ที่ร้อยละ 82 จากต่ำสุดคือ ร้อยละ 67  และมีผู้ประกอบการอย่างน้อยหนึ่งรายที่มีพฤติกรรมไม่แข่งขัน โดยการรอช่องสัญญาณที่เหลือในระหว่างการประมูล
           
ขณะที่นางสาวสุภา ชี้แจงถึงการทำหนังสือทักท้วงการประมูล ว่า เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมการประมูล ที่เข้าข่ายสมยอมไม่มีการแข่งขัน รวมถึงการกำหนดราคาที่ไม่มีความสมเหตุสมผล จึงทำหนังสือทักท้วงว่าหน่วยงานต้นเรื่อง ควรจะมีการทบทวนการประมูลหรือไม่ ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วจำเป็นจะต้องมีการแข่งขัน แต่กลับมีการจัดสรรคลื่นความถี่ตรงกับจำนวนของผู้ประกอบการที่ร่วมประมูลพอดี ทั้งหมดนี้จึงทำให้ ผู้ประมูลทั้ง เอไอเอส ทรู และดีแทค ได้ประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมกว่า 419,000 ล้านบาท และทำให้ทีโอที ขาดทุนทันที จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องลดราคาลง   ทั้งนี้การทำหนังสือทักท้วงของตนไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด หากปล่อยเรื่องนี้ไปอาจมีปัญหาในภายภาคหน้า
             
ด้านนายสุทธิพล ชี้แจงว่า ตอนนี้กระแสข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับการประมูลคลาดเคลื่อน ยืนยันว่าการประมูลมีการพิจารณาหลักการอย่างรอบครอบแล้ว ซึ่งการกำหนดราคาประมูลต้องพิจารณาเป็นสองเรื่องคือราคาตั้งต้นและราคามูลค่า ที่ในหลายประเทศมีการกำหนดราคาตั้งต้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของราคามูลค่าเท่านั้น อีกทั้งตอนแรกการประมูลจะมีทั้งสิ้น 4 บริษัท แต่สุดท้ายเหลือ 3 บริษัท เพราะสู้ราคาไม่ไหว ส่วนกรณีที่รองปลัดกระทรวงการคลังส่งหนังสือให้ทบทวนการประมูลนั้น ยืนยันว่า การประมูลทำภายใต้กรอบของกฎหมายชัดเจน ไม่ได้ผิดพ.ร.บ.ฮั้วแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ กทค.สามารถกำหนดออกแบบเองได้ ไม่ได้มีการระบุไว้ว่าต้องเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักนายกรัฐมนตรี รวมถึงกระบวนการประมูล ข้อสรุปการออกใบอนุญาต กทค.มีอำนาจทางกฎหมายที่จะสรุปผลโดยไม่ต้องส่งผ่านให้ กสทช.พิจารณา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหลายท่าน ม.27 (4) ของพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้นขอตั้งข้อสงสัยว่ามีกระบวนการพยายามล้มการประมูลหรือไม่
         
นายพัชรสุทธี สุจริตตานนท์  ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการตลาดและการประมูลกล่าวว่า จากประสบการณ์ทราบมาว่าการประมูลคลื่นสัญญาณมี 2แบบคือ การประมูลเพื่อเน้นประสิทธิภาพ และการประมูลเพื่อรายได้ของรัฐ ซึ่งการประมูลของไทยเป็นรูปแบบที่สากลใช้ตั้งแต่ปี 1994 ทั้งประเทศโปรตุเกส สิงคโปร์ ก็มีการประมูลคลื่นสัญญาณที่ใช้ราคาต่ำสุด เพื่อประสิทธิภาพให้มีการบริการสัญญาณอย่างทั่วถึง หากสร้างการแข่งขันปลอมเพื่อรายได้ของรัฐอาจเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด

มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351159106&grpid=03&catid=03


____________________________________



"กทค." ตบเท้าชี้แจงคณะกรรมาธิการฯ ปมประมูล 3 จี

แบกเอกสารประมูล 3 จี ประกอบการพิจารณา ด้านประธานกสทช. ชี้กรณีการเรียกประชุมบอร์ดด่วน! ต้องพิจารณาความเหมาะสม
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เดินทางไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา   ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น .  ที่อาคารวุฒิสภา โดยประกอบไปด้วย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กทค. , พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และพัฒนาสังคม, ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย, รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ และนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  เพื่อชี้แจ้งข้อเท็จจริงการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จีในวันที่ 16ต.ค.55 ที่ผ่านมา


ทั้งนี้ได้เชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ รองปลัดกระทรวงการคลัง , สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 3 ราย ได้แก่ ตัวแทนจาก บริษัท บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด บริษัทในเครือทรู   บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด( บริษัทในเครือเอไอเอส ) และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด (บริษัทในเครือดีแทค ) รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการประมูล3จีทั้งหมด  สำหรับเอกสารประกอบด้วย อาทิ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการประมูล  รายงานการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่  รายงานผลของบริษัทที่ปรึกษาและกฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ที่ผ่านการเวทีประชาพิจารณ์ภาคประชาชน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ และให้หน่วยงานตรวจสอบความโปร่งใสได้ทุกขั้นตอน


ด้านพลอากาศเอกธเรศ   ปุณศรี ประธานกสทช.เปิดเผยว่า การประมูล 3 จี ที่ผ่านมา บอร์ดกทค. ได้ชี้แจงอย่างเรียบร้อยดี  พร้อมทั้งกระบวนการประมูล 3 จี เปิดเผยให้สื่อมวลชนซักถามโดยตลอด นอกจากนี้ยังเปิดให้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ก่อนการประมูลจริง  ส่วนกรณีน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์(กสท.) ได้ยื่นหนังสือขอเรียกประชุม กรรมการ กสทช.ทั้ง 11 คน  เห็นว่า ต้องดูเหตุผลประกอบว่ามีความจำเป็นมากน้อย แค่ไหน  นอกจากนี้การกำหนดประชุมได้กำหนดไว้แน่นอน และบอร์ดแต่ละก็มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/162947

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.