28 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)(บทความ) 3G ดันโฆษณาดิจิทัล'หมื่นล้าน' ( ตลาดสื่อดิจิทัลในประเทศไทยเติบโตสูง8-12% )
ประเด็นหลัก
ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอ็ม อินเตอร์แอ็คชั่น จำกัด "ดิจิทัล เอเยนซี่" ในเครือกรุ๊ปเอ็ม และนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาไทยมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยสื่อโทรทัศน์ยังครองแชมป์ส่วนแบ่งเม็ดเงินสูงสุดที่ 58% ขณะที่กลุ่มสื่อใหม่ ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และดิจิทัล แม้จะครองสัดส่วนไม่มาก แต่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง
โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมโฆษณาราว 3% หรือมีมูลค่าราว 3,000 ล้านบาทในปีนี้ เพิ่มจาก 2,000 ล้านบาทในปีก่อน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับแนวโน้มการใช้โฆษณาสื่อดิจิทัลของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ สัดส่วน 10-20%, อังกฤษ 20%, ออสเตรเลีย 10%, จีน 12%และในกลุ่มเอเชียเฉลี่ยที่
8-12% ซึ่งทำให้ตลาดสื่อดิจิทัลในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต
ทีวีดาวเทียม ตอบโจทย์ช่องทางขาย
ท่ามกลางการเติบโตของสื่อในกลุ่ม "ทีวีดาวเทียม" ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับจำนวน "ช่อง"ในปัจจุบันได้ราว 200 ช่อง เป็นสื่อที่มีอัตราการเข้าถึงครัวเรือนไทยกว่า 60-70% อันเป็นผลจากการรุกทำตลาดอย่างดุเดือดในกลุ่มผู้ประกอบการ "จานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียม" ด้วยการเสนอกลยุทธ์ "หั่นราคา" กระตุ้นผู้บริโภคติดกล่องและเปลี่ยนจาน ที่อยู่ในระดับราคาไม่เกิน 1,500 บาท ชูความแตกต่างจำนวนช่องรายการเพิ่มขึ้นนับร้อนช่อง
ด้วยการลงทุน "ช่องรายการ" ที่ใช้งบประมาณไม่สูงนัก ในระดับ 30-100 ล้านบาทต่อช่อง ก็สามารถเป็นเจ้าของสถานีทีวีได้ ทำให้ค่ายคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ต่างแห่ลงทุนเปิดช่องทีวีดาวเทียมจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งยังพบการเปิดช่องทีวีดาวเทียมและช่องเคเบิล ของแบรนด์สินค้าและบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในฝั่งคอนเทนท์ด้วยเช่นกัน
___________________________________
'3จี'ดันโฆษณาดิจิทัล'หมื่นล้าน'
การเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เมื่อ 16 ต.ค.แม้กระแสสังคมจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ผลการประมูลว่าเข้าข่ายฮั้วหรือไม่
แต่ฟากผู้ประกอบการทั้ง 3 ค่ายโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ ที่ได้รับใบอนุญาต ต่างประกาศแผนลงทุนขยายโครงข่าย 3จี ช่วง 3 ปีจากนี้มูลค่านับ "แสนล้าน" โดยพร้อมเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2556
บริการ 3จี เต็มรูปแบบที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงกระตุ้นการเติบโต ในฝั่งกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ "สื่อ" ในฝั่งธุรกิจบรอดแคสต์ ให้เกิดการบริโภคคอนเทนท์ผ่านจอสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น รวมทั้งกลยุทธ์การสื่อสารโฆษณาที่จะมุ่งมาที่ "สื่อดิจิทัล" ด้วยเช่นกัน
ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอ็ม อินเตอร์แอ็คชั่น จำกัด "ดิจิทัล เอเยนซี่" ในเครือกรุ๊ปเอ็ม และนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาไทยมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยสื่อโทรทัศน์ยังครองแชมป์ส่วนแบ่งเม็ดเงินสูงสุดที่ 58% ขณะที่กลุ่มสื่อใหม่ ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และดิจิทัล แม้จะครองสัดส่วนไม่มาก แต่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง
โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมโฆษณาราว 3% หรือมีมูลค่าราว 3,000 ล้านบาทในปีนี้ เพิ่มจาก 2,000 ล้านบาทในปีก่อน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับแนวโน้มการใช้โฆษณาสื่อดิจิทัลของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ สัดส่วน 10-20%, อังกฤษ 20%, ออสเตรเลีย 10%, จีน 12%และในกลุ่มเอเชียเฉลี่ยที่
8-12% ซึ่งทำให้ตลาดสื่อดิจิทัลในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต
3 ปีโต'เท่าตัว'สะพัดหมื่นล้าน
ศิวัตร มองว่าปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตโฆษณาสื่อดิจิทัล คือการเปิดให้บริการโทรศัพท์ 3จี ของประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ด้วยความเร็วของการให้
บริการข้อมูล (ดาต้า) ผ่านบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (โมบาย บรอดแบนด์) จะทำให้เกิดการบริโภคคอนเทนท์ผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น ซึ่งคนไทยมีความต้องการใช้บริการ3จี เป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้บริการ 3จี ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ 2จี ของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
หลังการเปิดให้บริการ 3 จีเต็มรูปแบบบนโครงข่ายใหม่ จะทำให้อุตสาหกรรมโฆษณามีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ โดยเฉพาะรูปแบบ "วีดิโอ คอนเทนท์" ที่สามารถพัฒนาเป็นโฆษณานำเสนอก่อนการรับชมคอนเทนท์ และการโฆษณาผสมผสานไปกับเนื้อหารายการ (Branded Content) ซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบโฆษณาเฉพาะบุคคล ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายสูง และได้รับความสนใจจากผู้ลงโฆษณา
ที่ผ่านมาจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ในไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเปิดให้บริการ 3จี จะส่งผลให้การใช้บริการดาต้าขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน และส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโฆษณาประเภทสื่อดิจิทัล ซึ่งปกติเติบโตปีละ 35-40% คาดว่าบริการ 3จี จะกระตุ้นการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น "เท่าตัว" อย่างต่อเนื่อง โดยภายใน 2-3 ปีจากนี้ เม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัลจะแตะ "หมื่นล้านบาท" แน่นอน
ขณะที่ฝั่ง "ทีวีดิจิทัล" ซึ่งเป็นสื่อที่มีการจัดสรรคลื่นใหม่ ขณะที่ยังให้บริการ "ฟรีทีวี" อนาล็อก ควบคู่กันไปอีกในช่วง 8-10 ปีจากนี้ จนกว่าจะยกเลิกระบบอนาล็อกเมื่อสิ้นสุดสัมปทานเดิม อีกทั้งท่ามกลางสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นและได้รับความสนใจสูง ทั้งช่องเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ที่เป็นระบบดิจิทัลมีความคมชัดในการรับชมเช่นกัน ทำให้ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมช่องรายการหลากหลาย ดังนั้นการใช้งบโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล อาจต้องใช้เวลาให้มีฐานผู้ชมชัดเจนก่อน จึงจะประเมินเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดังกล่าวได้
'ทีวีดิจิทัล'โฆษณา SMEs พุ่ง
รัฐกร สืบสุข เทรดดิ้งพาร์ทเนอร์ บริษัท กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือดับบลิวพีพี กล่าวว่าจากพฤติกรรมการรับสื่อในปัจจุบันที่แบ่งเป็นกลุ่มแยกย่อย (Fragmentation) ทำให้ "ช่องรายการ" บนแพลตฟอร์มต่างๆ มีความเฉพาะเจาะจงตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่นเดียวกับการขยายตัวของสื่อนิตยสาร, ช่องทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสำหรับการเกิดขึ้นของ "ทีวีดิจิทัล" คงต้องพิจารณาต่อไปว่า “คอนเทนท์ใหม่”ที่จะเข้ามาในสื่อดังกล่าว จะแตกต่างจากช่องฟรีทีวีเดิมและมีคุณภาพที่จะเรียกเรทติ้งผู้ชมหรือไม่
"ปรากฏการณ์ในอนาคตหลังเกิดทีวีดิจิทัลที่เห็นได้ชัด จะเป็นโอกาสการเข้าถึงโฆษณาสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มเอสเอ็มอีในประเภทบริการธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นเม็ดเงินโฆษณาสื่อทีวีในตลาดอีกจำนวนหนึ่ง ที่ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจว่ามีมูลค่าเท่าไร แต่เชื่อได้ว่ามีจำนวนมากเช่นกัน" รัฐกร กล่าว
----------------------
ทีวีดาวเทียม ตอบโจทย์ช่องทางขาย
ท่ามกลางการเติบโตของสื่อในกลุ่ม "ทีวีดาวเทียม" ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับจำนวน "ช่อง"ในปัจจุบันได้ราว 200 ช่อง เป็นสื่อที่มีอัตราการเข้าถึงครัวเรือนไทยกว่า 60-70% อันเป็นผลจากการรุกทำตลาดอย่างดุเดือดในกลุ่มผู้ประกอบการ "จานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียม" ด้วยการเสนอกลยุทธ์ "หั่นราคา" กระตุ้นผู้บริโภคติดกล่องและเปลี่ยนจาน ที่อยู่ในระดับราคาไม่เกิน 1,500 บาท ชูความแตกต่างจำนวนช่องรายการเพิ่มขึ้นนับร้อนช่อง
ด้วยการลงทุน "ช่องรายการ" ที่ใช้งบประมาณไม่สูงนัก ในระดับ 30-100 ล้านบาทต่อช่อง ก็สามารถเป็นเจ้าของสถานีทีวีได้ ทำให้ค่ายคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ต่างแห่ลงทุนเปิดช่องทีวีดาวเทียมจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งยังพบการเปิดช่องทีวีดาวเทียมและช่องเคเบิล ของแบรนด์สินค้าและบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในฝั่งคอนเทนท์ด้วยเช่นกัน
มณี เอียบ กรรมการผู้จัดการ แมกน่า โกลบอล มีเดีย เอเยนซี กล่าวว่าปัจจุบัน "แบรนด์"สินค้าได้หันมาใช้กลยุทธ์ Branded Channel หรือการใช้ช่องทางของตนเองสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านการลงทุนเป็นเจ้าของสื่อ คือ ช่องทีวีดาวเทียมและช่องเคเบิลทีวี เพิ่มขึ้น เช่นช่อง In Channel ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส, ช่อง กิฟฟารีน แชนแนล ของกิฟฟารีน
รูปแบบการพัฒนาช่องรายการของ "แบรนด์" สินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์ช่องทางการขายของแต่ละแบรนด์ และใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าและกลุ่มสมาชิกนักขาย ในธุรกิจขายตรง ซึ่งยังถือเป็นช่องทางการใช้สื่อที่มีงบประมาณไม่สูง หากเปรียบเทียบกับการโฆษณาผ่านโทรทัศน์ในช่วงไพรม์ไทม์ ที่ตกนาทีละ 5 แสนบาทในปัจจุบัน
ทำให้กระแสนิยมลงทุนช่องทีวีดาวเทียม ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยสนองตอบทั้งโจทย์การสื่อสารกับเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม, ช่องทางขายสินค้า และเม็ดเงินโฆษณาในช่องที่มีเรทติ้งดี
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/technology/201210
23/475159/3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B
1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%
93%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8
%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%
B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0
%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอ็ม อินเตอร์แอ็คชั่น จำกัด "ดิจิทัล เอเยนซี่" ในเครือกรุ๊ปเอ็ม และนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาไทยมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยสื่อโทรทัศน์ยังครองแชมป์ส่วนแบ่งเม็ดเงินสูงสุดที่ 58% ขณะที่กลุ่มสื่อใหม่ ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และดิจิทัล แม้จะครองสัดส่วนไม่มาก แต่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง
โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมโฆษณาราว 3% หรือมีมูลค่าราว 3,000 ล้านบาทในปีนี้ เพิ่มจาก 2,000 ล้านบาทในปีก่อน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับแนวโน้มการใช้โฆษณาสื่อดิจิทัลของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ สัดส่วน 10-20%, อังกฤษ 20%, ออสเตรเลีย 10%, จีน 12%และในกลุ่มเอเชียเฉลี่ยที่
8-12% ซึ่งทำให้ตลาดสื่อดิจิทัลในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต
ทีวีดาวเทียม ตอบโจทย์ช่องทางขาย
ท่ามกลางการเติบโตของสื่อในกลุ่ม "ทีวีดาวเทียม" ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับจำนวน "ช่อง"ในปัจจุบันได้ราว 200 ช่อง เป็นสื่อที่มีอัตราการเข้าถึงครัวเรือนไทยกว่า 60-70% อันเป็นผลจากการรุกทำตลาดอย่างดุเดือดในกลุ่มผู้ประกอบการ "จานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียม" ด้วยการเสนอกลยุทธ์ "หั่นราคา" กระตุ้นผู้บริโภคติดกล่องและเปลี่ยนจาน ที่อยู่ในระดับราคาไม่เกิน 1,500 บาท ชูความแตกต่างจำนวนช่องรายการเพิ่มขึ้นนับร้อนช่อง
ด้วยการลงทุน "ช่องรายการ" ที่ใช้งบประมาณไม่สูงนัก ในระดับ 30-100 ล้านบาทต่อช่อง ก็สามารถเป็นเจ้าของสถานีทีวีได้ ทำให้ค่ายคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ต่างแห่ลงทุนเปิดช่องทีวีดาวเทียมจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งยังพบการเปิดช่องทีวีดาวเทียมและช่องเคเบิล ของแบรนด์สินค้าและบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในฝั่งคอนเทนท์ด้วยเช่นกัน
___________________________________
'3จี'ดันโฆษณาดิจิทัล'หมื่นล้าน'
การเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เมื่อ 16 ต.ค.แม้กระแสสังคมจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ผลการประมูลว่าเข้าข่ายฮั้วหรือไม่
แต่ฟากผู้ประกอบการทั้ง 3 ค่ายโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ ที่ได้รับใบอนุญาต ต่างประกาศแผนลงทุนขยายโครงข่าย 3จี ช่วง 3 ปีจากนี้มูลค่านับ "แสนล้าน" โดยพร้อมเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2556
บริการ 3จี เต็มรูปแบบที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงกระตุ้นการเติบโต ในฝั่งกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ "สื่อ" ในฝั่งธุรกิจบรอดแคสต์ ให้เกิดการบริโภคคอนเทนท์ผ่านจอสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น รวมทั้งกลยุทธ์การสื่อสารโฆษณาที่จะมุ่งมาที่ "สื่อดิจิทัล" ด้วยเช่นกัน
ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอ็ม อินเตอร์แอ็คชั่น จำกัด "ดิจิทัล เอเยนซี่" ในเครือกรุ๊ปเอ็ม และนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาไทยมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยสื่อโทรทัศน์ยังครองแชมป์ส่วนแบ่งเม็ดเงินสูงสุดที่ 58% ขณะที่กลุ่มสื่อใหม่ ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และดิจิทัล แม้จะครองสัดส่วนไม่มาก แต่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง
โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมโฆษณาราว 3% หรือมีมูลค่าราว 3,000 ล้านบาทในปีนี้ เพิ่มจาก 2,000 ล้านบาทในปีก่อน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับแนวโน้มการใช้โฆษณาสื่อดิจิทัลของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ สัดส่วน 10-20%, อังกฤษ 20%, ออสเตรเลีย 10%, จีน 12%และในกลุ่มเอเชียเฉลี่ยที่
8-12% ซึ่งทำให้ตลาดสื่อดิจิทัลในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต
3 ปีโต'เท่าตัว'สะพัดหมื่นล้าน
ศิวัตร มองว่าปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตโฆษณาสื่อดิจิทัล คือการเปิดให้บริการโทรศัพท์ 3จี ของประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ด้วยความเร็วของการให้
บริการข้อมูล (ดาต้า) ผ่านบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (โมบาย บรอดแบนด์) จะทำให้เกิดการบริโภคคอนเทนท์ผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น ซึ่งคนไทยมีความต้องการใช้บริการ3จี เป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้บริการ 3จี ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ 2จี ของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
หลังการเปิดให้บริการ 3 จีเต็มรูปแบบบนโครงข่ายใหม่ จะทำให้อุตสาหกรรมโฆษณามีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ โดยเฉพาะรูปแบบ "วีดิโอ คอนเทนท์" ที่สามารถพัฒนาเป็นโฆษณานำเสนอก่อนการรับชมคอนเทนท์ และการโฆษณาผสมผสานไปกับเนื้อหารายการ (Branded Content) ซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบโฆษณาเฉพาะบุคคล ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายสูง และได้รับความสนใจจากผู้ลงโฆษณา
ที่ผ่านมาจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ในไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเปิดให้บริการ 3จี จะส่งผลให้การใช้บริการดาต้าขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน และส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโฆษณาประเภทสื่อดิจิทัล ซึ่งปกติเติบโตปีละ 35-40% คาดว่าบริการ 3จี จะกระตุ้นการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น "เท่าตัว" อย่างต่อเนื่อง โดยภายใน 2-3 ปีจากนี้ เม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัลจะแตะ "หมื่นล้านบาท" แน่นอน
ขณะที่ฝั่ง "ทีวีดิจิทัล" ซึ่งเป็นสื่อที่มีการจัดสรรคลื่นใหม่ ขณะที่ยังให้บริการ "ฟรีทีวี" อนาล็อก ควบคู่กันไปอีกในช่วง 8-10 ปีจากนี้ จนกว่าจะยกเลิกระบบอนาล็อกเมื่อสิ้นสุดสัมปทานเดิม อีกทั้งท่ามกลางสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นและได้รับความสนใจสูง ทั้งช่องเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ที่เป็นระบบดิจิทัลมีความคมชัดในการรับชมเช่นกัน ทำให้ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมช่องรายการหลากหลาย ดังนั้นการใช้งบโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล อาจต้องใช้เวลาให้มีฐานผู้ชมชัดเจนก่อน จึงจะประเมินเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดังกล่าวได้
'ทีวีดิจิทัล'โฆษณา SMEs พุ่ง
รัฐกร สืบสุข เทรดดิ้งพาร์ทเนอร์ บริษัท กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือดับบลิวพีพี กล่าวว่าจากพฤติกรรมการรับสื่อในปัจจุบันที่แบ่งเป็นกลุ่มแยกย่อย (Fragmentation) ทำให้ "ช่องรายการ" บนแพลตฟอร์มต่างๆ มีความเฉพาะเจาะจงตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่นเดียวกับการขยายตัวของสื่อนิตยสาร, ช่องทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสำหรับการเกิดขึ้นของ "ทีวีดิจิทัล" คงต้องพิจารณาต่อไปว่า “คอนเทนท์ใหม่”ที่จะเข้ามาในสื่อดังกล่าว จะแตกต่างจากช่องฟรีทีวีเดิมและมีคุณภาพที่จะเรียกเรทติ้งผู้ชมหรือไม่
"ปรากฏการณ์ในอนาคตหลังเกิดทีวีดิจิทัลที่เห็นได้ชัด จะเป็นโอกาสการเข้าถึงโฆษณาสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มเอสเอ็มอีในประเภทบริการธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นเม็ดเงินโฆษณาสื่อทีวีในตลาดอีกจำนวนหนึ่ง ที่ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจว่ามีมูลค่าเท่าไร แต่เชื่อได้ว่ามีจำนวนมากเช่นกัน" รัฐกร กล่าว
----------------------
ทีวีดาวเทียม ตอบโจทย์ช่องทางขาย
ท่ามกลางการเติบโตของสื่อในกลุ่ม "ทีวีดาวเทียม" ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับจำนวน "ช่อง"ในปัจจุบันได้ราว 200 ช่อง เป็นสื่อที่มีอัตราการเข้าถึงครัวเรือนไทยกว่า 60-70% อันเป็นผลจากการรุกทำตลาดอย่างดุเดือดในกลุ่มผู้ประกอบการ "จานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียม" ด้วยการเสนอกลยุทธ์ "หั่นราคา" กระตุ้นผู้บริโภคติดกล่องและเปลี่ยนจาน ที่อยู่ในระดับราคาไม่เกิน 1,500 บาท ชูความแตกต่างจำนวนช่องรายการเพิ่มขึ้นนับร้อนช่อง
ด้วยการลงทุน "ช่องรายการ" ที่ใช้งบประมาณไม่สูงนัก ในระดับ 30-100 ล้านบาทต่อช่อง ก็สามารถเป็นเจ้าของสถานีทีวีได้ ทำให้ค่ายคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ต่างแห่ลงทุนเปิดช่องทีวีดาวเทียมจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งยังพบการเปิดช่องทีวีดาวเทียมและช่องเคเบิล ของแบรนด์สินค้าและบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในฝั่งคอนเทนท์ด้วยเช่นกัน
มณี เอียบ กรรมการผู้จัดการ แมกน่า โกลบอล มีเดีย เอเยนซี กล่าวว่าปัจจุบัน "แบรนด์"สินค้าได้หันมาใช้กลยุทธ์ Branded Channel หรือการใช้ช่องทางของตนเองสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านการลงทุนเป็นเจ้าของสื่อ คือ ช่องทีวีดาวเทียมและช่องเคเบิลทีวี เพิ่มขึ้น เช่นช่อง In Channel ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส, ช่อง กิฟฟารีน แชนแนล ของกิฟฟารีน
รูปแบบการพัฒนาช่องรายการของ "แบรนด์" สินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์ช่องทางการขายของแต่ละแบรนด์ และใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าและกลุ่มสมาชิกนักขาย ในธุรกิจขายตรง ซึ่งยังถือเป็นช่องทางการใช้สื่อที่มีงบประมาณไม่สูง หากเปรียบเทียบกับการโฆษณาผ่านโทรทัศน์ในช่วงไพรม์ไทม์ ที่ตกนาทีละ 5 แสนบาทในปัจจุบัน
ทำให้กระแสนิยมลงทุนช่องทีวีดาวเทียม ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยสนองตอบทั้งโจทย์การสื่อสารกับเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม, ช่องทางขายสินค้า และเม็ดเงินโฆษณาในช่องที่มีเรทติ้งดี
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/technology/201210
23/475159/3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B
1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%
93%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8
%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%
B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0
%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
ไม่มีความคิดเห็น: