Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

6 ธันวาคม 2555 (บทความ) 3G กับแสงสว่างรำไร ( คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 คนไทยทุกคนน่าจะมี 3G กทม.ที่แรก )

ประเด็นหลัก

ล่าสุดเมื่อได้รับทราบคำสั่งศาลแล้ว กสทช.เหมือนติดปีก เพราะทางสำนักงานก็เตรียมชงบอร์ด กทค. ในวันที่ 6-7 ธ.ค.นี้ เพื่อกำหนดแนวทางการออกไลเซนส์ให้มีความชัดเจน ซึ่งในวันนี้จะนำวาระเรื่องการรายงานผลคำสั่งของศาลปกครอง ผลการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาในการประมูล 3 จี ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการของคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูล 3 จี ให้ทางที่ประชุมรับทราบ ส่วนในวันที่บอร์ด กทค.จะพิจารณาการกำหนดเงื่อนไขการลดอัตราค่าบริการ 3 จี ทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และการเข้าถึงข้อมูล (ดาต้า)


ซึ่งแว่วๆ ว่าหากไม่มีอะไรผิดพลาด กทค.อาจจะมอบไลเซนส์ 3 จี ให้กับ ทั้ง 3 ค่าย ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ก่อนเส้นตาย 90 วันที่จะครบกำหนดในวันที่  16 ม.ค.ปีหน้า ซึ่งก็หมายความว่า อีกไม่เกินอึดใจคนไทยก็จะมี 3 จีใช้เป็นชาติท้ายๆ ของโลก

จากนี้คงต้องวัดฝีมือ กสทช.ที่จะต้องทำหน้าที่ตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในเรื่องการลดค่าใช้บริการ 15-20% ตามที่เคยประกาศไว้ เพราะล่าสุดทั้ง 3 บริษัท ยังไม่ยอมเสนอแผนการลดราคาค่าบริการภายใต้การให้บริการระบบ 3 จีมาให้ ทั้งที่ กสทช.ร้องขอ และเลยเส้นตายไปตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. ซึ่งคล้ายๆ กับวิธีอารยะขัดขืน เพราะเอกชนยืนยันว่าพวกเขาดูตามกลไกตลาดเป็นหลัก




__________________________________________


3 จี กับแสงสว่างรำไร

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง



เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ สำหรับบริการ 3 จีในประเทศไทย หลังศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาไม่รับคำฟ้องเกี่ยวกับเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อออกใบอนุญาต 3 จี พร้อมกับให้จำหน่ายคดีออกจากระบบ ด้วยเหตุผลที่ค่อนข้างเอวังว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีสิทธิ์ยื่นฟ้อง"
ขณะเดียวกัน ในวันที่ 4 ธ.ค. ทางด้านกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ "ดีเอสไอ" ก็ออกมาช่วยรับรองอีกชั้นว่า การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช.มีอำนาจพึงกระทำตามกฎหมายได้ พร้อมทั้งไม่พบว่าคณะกรรมการ กสทช.จงใจวางกฎเกณฑ์การประมูลเพื่อให้เอกชนเกิดการสมยอมราคา เพราะพบว่าผู้เข้าแข่งขันได้เสนอทั้งหมด 7 รอบ และราคาที่ได้ไม่ต่ำกว่าราคาตั้งต้นที่มูลค่า 4,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าคลื่นความถี่ จำนวน 6,440 ล้านบาท ซึ่งทางดีเอสไอมองว่ากรณีดังกล่าวไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล)

นับถึงเวลานี้พบว่า กสทช.และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)  ได้รับตรายางโดยชอบธรรมถึง 2 ชั้น ที่จะปล่อยใบอนุญาตคลื่น 3 จี ให้กับ 3 บริษัทที่เข้าร่วมประมูล ซึ่งได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค, บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ได้ในเร็ววัน
แม้ว่าตอนนี้ทางกลุ่มผู้คัดค้านอย่างกลุ่มกรีน ที่นำโดย นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงาน ได้เข้าเรียกร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่ไม่รับคำฟ้องกรณีขอให้เพิกถอนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี แต่ดูเหมือนว่าทางผู้ตรวจการจะยังไม่ตอบสนองอะไรกับเรื่องนี้ ส่วนกระบวนการตรวจสอบของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  นั้น เป็นเรื่องการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตัวบุคคล ไม่ใช่กระบวนการประมูล ซึ่งเป็นที่ย้ำชัดว่า เกิน 90% ประชาชนมีความหวังที่จะใช้ 3 จีแน่นอน

คำสั่งศาลที่ออกมานับเป็นการปลดล็อก และทำให้บอร์ด กทค.โล่งอก เพราะหากศาลปกครองรับคุ้มครองขึ้นมา นั้นก็หมายความว่ากระบวนการประมูลจะต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ แถมอาจจะถูกเอกชนฟ้องร้อง โดยเฉพาะทั้ง 3 บริษัทนั้นได้กู้ยืมเงิมมาใช้ในการประมูล ทำให้มีต้นทุนดอกเบี้ยค่อนข้างสูง แต่ถ้ากระบวนการถูกแช่แข็ง ก็เป็นไปได้ที่ทั้ง 3 บริษัท จะต้องรุมฟ้องร้องอย่างไม่ต้องสงสัย


ล่าสุดเมื่อได้รับทราบคำสั่งศาลแล้ว กสทช.เหมือนติดปีก เพราะทางสำนักงานก็เตรียมชงบอร์ด กทค. ในวันที่ 6-7 ธ.ค.นี้ เพื่อกำหนดแนวทางการออกไลเซนส์ให้มีความชัดเจน ซึ่งในวันนี้จะนำวาระเรื่องการรายงานผลคำสั่งของศาลปกครอง ผลการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาในการประมูล 3 จี ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการของคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูล 3 จี ให้ทางที่ประชุมรับทราบ ส่วนในวันที่บอร์ด กทค.จะพิจารณาการกำหนดเงื่อนไขการลดอัตราค่าบริการ 3 จี ทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และการเข้าถึงข้อมูล (ดาต้า)


ซึ่งแว่วๆ ว่าหากไม่มีอะไรผิดพลาด กทค.อาจจะมอบไลเซนส์ 3 จี ให้กับ ทั้ง 3 ค่าย ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ก่อนเส้นตาย 90 วันที่จะครบกำหนดในวันที่  16 ม.ค.ปีหน้า ซึ่งก็หมายความว่า อีกไม่เกินอึดใจคนไทยก็จะมี 3 จีใช้เป็นชาติท้ายๆ ของโลก

จากนี้คงต้องวัดฝีมือ กสทช.ที่จะต้องทำหน้าที่ตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในเรื่องการลดค่าใช้บริการ 15-20% ตามที่เคยประกาศไว้ เพราะล่าสุดทั้ง 3 บริษัท ยังไม่ยอมเสนอแผนการลดราคาค่าบริการภายใต้การให้บริการระบบ 3 จีมาให้ ทั้งที่ กสทช.ร้องขอ และเลยเส้นตายไปตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. ซึ่งคล้ายๆ กับวิธีอารยะขัดขืน เพราะเอกชนยืนยันว่าพวกเขาดูตามกลไกตลาดเป็นหลัก

ต้องดูว่า กทค. และ กสทช. จะมีพลังขนาดไหนที่จะออกคำสั่ง เพราะตามข่าว กสทช.จะออกมาตรการบังคับ โดยกำหนดให้ลดราคา 15% จากราคาเฉลี่ยของตลาดตามตัวเลขที่ กสทช.เสนอ และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาต ซึ่งต้องดูปฏิกิริยาจากเอกชนว่าจะตอบสนองกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ทั้ง 3 ค่ายบอกเองว่าถ้ามีการบีบบังคับเกินไป เอกชนก็จะขอพึ่งศาลเหมือนกัน

แถมล่าสุด กสทช.ยังจะเพิ่มเติมเงื่อนไขให้กับผู้ได้รับใบอนุญาต 3 จี ต้องคุ้มครองผู้บริโภค โดยจะกำหนดให้ผู้ประกอบการซื้อประกันความเสียหายเพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีโครงข่ายล่ม บริษัทประกันควรจ่ายค่าสินไหมชดเชยความเสียหายได้ทันที ซึ่งจะไปเพิ่มต้นทุนให้เอกชนอีกปีละ 30 ล้านบาท

แน่นอนด้วยเงื่อนไขที่เพิ่มเติมนั้น เป็นเรื่องดีต่อผู้ใช้บริการทั้งสิ้น ก็หวังว่า กสทช.จะผลักดันคำสัญญาที่ให้ไว้เป็นผลสำเร็จ

และจากนี้คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 คนไทยทุกคนน่าจะมี 3 จีใช้กัน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ กทม. หากไม่มีอุบัติเหตุอะไรมาทำให้ผิดพลาดอีก
และในไตรมาสแรกปีหน้า คณะกรรมการ กสทช.จะเปิดประมูลคลื่น 4G ต่อเลยทันที.

ไทยรัฐ
http://www.thaipost.net/news/061212/66217

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.