Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กุมภาพันธ์ 2556 การธนาคารแห่งประเทศไทย เตือน+++ ถูกหลอกผ่านอีเมล์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ


ประเด็นหลัก



“ในส่วนของภัยทางการเงินในปี 2556 นี้ ศคง.ประเมินว่า การถูกหลอกผ่านโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ น่าจะลดน้อยลง เห็นได้จากการโทรเข้ามาเพื่อร้องเรียนในเรื่องนี้ในช่วงหลังๆ นี้ เป็นการโทรเข้ามาสอบถามและร้องเรียน โดยไม่ได้ถูหลอก ขณะที่ส่วนที่เริ่มเห็นชัดขึ้น เป็นการถูกหลอกผ่านอีเมล์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ในลักษณะเข้ามาแสดงตัวเป็นเพื่อน และบอกว่าเป็นคนของแบงก์เพื่อล้วงข้อมูล หรือหลอกล่อด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อหลอกให้มีการโอนเงิน เนื่องจากในขณะนี้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต และสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น”

ในขณะที่การร้องเรียนในเรื่องการให้บริการทางการเงินนั้น หากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปีหลังและครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา นางอัมรา กล่าวว่า ศคง.พบว่า ในช่วงครึ่งปีหลังการร้องเรียนในเรื่องการให้บริการทางการเงินเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งแรกมาก และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ในช่วงปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา ศคง.ได้แก้ปัญหาให้กับประชาชนจนได้ข้อยุติทั้งสิ้น 3,171 ราย หรือ 84% ของเรื่องร้องเรียนในด้านบริการทางการเงินทั้งหมด นอกจากนั้น ยังได้แก้ปัญหาในเรื่องที่เริ่มมีการร้องเรียนมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การขายพ่วงผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น สินเชื่อและเงินฝากกับประกัน หรือการขายประกันพ่วงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในกรณีนี้ได้มีการออกเป็นเกณฑ์ในการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ประกันภัย และการให้บริการทางการเงินว่า ควรจะมีการแยกเคาน์เตอร์ในการขายผลิตภัณ์ต่างๆ ออกจากกัน และไม่มีการขายผลิตภัณฑ์ในลักษณะบังคับให้ซื้อ แต่จะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ รวมทั้งการทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในการฝากถอนเงิน ลูกจะต้องสามารถเลือกได้ว่า จะทำบัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม ไม่ควรมีข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่ทำบัตรเอทีเอ็มให้หากลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ หากมีปัญหาการให้บริการทางการเงิน สามารถร้องเรียน ศคง. ได้ผ่าน โทร 1213.








__________________________


ศคง.เตือนหลอกลวงผ่านสังคมออนไลน์มาแรง

ยอดร้องเรียนและขอคำปรึกษาศูนย์คุ้มครองทางการเงินปี 55 พุ่งกว่า 1.3 แสนคน ชี้ปีนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์มุกแป้ก คนเริ่มรู้ทัน ศคง.เตือนหลอกช่องทางใหม่ผ่านสังคมออนไลน์มาแรง...

วันที่ 14 ก.พ. นางอัมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายวางแผนและงบประมาณ กล่าวสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ในปี 2555 ที่ผ่านมา พบว่า มียอดการให้คำปรึกษา และร้องเรียนการให้บริการทางการเงินทั้งสิ้น 130,181 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นการขอคำปรึกษา ในเรื่องการไถ่ถอนพันธบัตร การใช้บริการทางการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนฯ ขณะที่มีผู้ร้องเรียนเข้ามาทั้งสิ้น 3,785 ราย โดยการร้องเรียนที่มากที่สุดคือ การร้องเรียนในเรื่องภัยทางการเงิน 805 ราย โดย 84% เป็นการหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่เหลือเป็นเรื่องของการหลอกลวงทางอีเมล์ และการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตและเงินในบัญชี

ส่วนการร้องเรียนเรื่องการให้บริการทางการเงินมียอดร้องเรียนรวมกัน 3,785 ราย สูงที่สุดเป็นการขอความช่วยเหลือในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ 468 ราย ปัญหาสินเชื่อซอฟท์โลน 461 ราย และอันดับที่ 3 เป็นการร้องเรียนการทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสม โดยการร้องเรียนการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ และต้องการให้ช่วยให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคลมากที่สุด ขณะที่การร้องเรียนการติดตามทวงถามหนี้นั้น ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่องการทวงถามหนี้ในลักษณะการประจานกับบุคคลที่ 3 และทวงถามในลักษณะข่มขู่ ขณะที่อีกเรื่องที่เป็นปัญหาคือ การให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนของพนักงานสถาบันการเงินกับลูกค้า ทำให้เข้าใจสัญญาคลาดเคลื่อน

“ในส่วนของภัยทางการเงินในปี 2556 นี้ ศคง.ประเมินว่า การถูกหลอกผ่านโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ น่าจะลดน้อยลง เห็นได้จากการโทรเข้ามาเพื่อร้องเรียนในเรื่องนี้ในช่วงหลังๆ นี้ เป็นการโทรเข้ามาสอบถามและร้องเรียน โดยไม่ได้ถูหลอก ขณะที่ส่วนที่เริ่มเห็นชัดขึ้น เป็นการถูกหลอกผ่านอีเมล์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ในลักษณะเข้ามาแสดงตัวเป็นเพื่อน และบอกว่าเป็นคนของแบงก์เพื่อล้วงข้อมูล หรือหลอกล่อด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อหลอกให้มีการโอนเงิน เนื่องจากในขณะนี้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต และสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น”

ในขณะที่การร้องเรียนในเรื่องการให้บริการทางการเงินนั้น หากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปีหลังและครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา นางอัมรา กล่าวว่า ศคง.พบว่า ในช่วงครึ่งปีหลังการร้องเรียนในเรื่องการให้บริการทางการเงินเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งแรกมาก และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ในช่วงปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา ศคง.ได้แก้ปัญหาให้กับประชาชนจนได้ข้อยุติทั้งสิ้น 3,171 ราย หรือ 84% ของเรื่องร้องเรียนในด้านบริการทางการเงินทั้งหมด นอกจากนั้น ยังได้แก้ปัญหาในเรื่องที่เริ่มมีการร้องเรียนมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การขายพ่วงผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น สินเชื่อและเงินฝากกับประกัน หรือการขายประกันพ่วงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในกรณีนี้ได้มีการออกเป็นเกณฑ์ในการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ประกันภัย และการให้บริการทางการเงินว่า ควรจะมีการแยกเคาน์เตอร์ในการขายผลิตภัณ์ต่างๆ ออกจากกัน และไม่มีการขายผลิตภัณฑ์ในลักษณะบังคับให้ซื้อ แต่จะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ รวมทั้งการทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในการฝากถอนเงิน ลูกจะต้องสามารถเลือกได้ว่า จะทำบัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม ไม่ควรมีข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่ทำบัตรเอทีเอ็มให้หากลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ หากมีปัญหาการให้บริการทางการเงิน สามารถร้องเรียน ศคง. ได้ผ่าน โทร 1213.


http://www.thairath.co.th/content/eco/326701

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.