19 กุมภาพันธ์ 2556 (คำถามแนวนี้ใครๆก็ชอบประชานิยม) ผลวิจัย สพฐ. พบผู้ปกครองพอใจ "แท็บเล็ต ป.1" เชื่อเป็นผลดีกับการศึกษาไทย
ประเด็นหลัก
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีความเห็นของผู้ปกครองพบว่า ภาพรวมมีความพอใจ เพราะการใช้แท็บเล็ตจะส่งผลดีต่อการศึกษาของเด็กคิดเป็น ร้อยละ 86.1 ขณะเดียวกันแท็บเล็ตยังช่วยให้เด็กไทยก้าวทันเทคโนโลยีถึง ร้อยละ 93.9 เด็กไทยจะรู้จักค้นคว้าหาความรู้ ร้อยละ 82 และช่วยให้เด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ร้อยละ 67 อย่างไรก็ตามยังพบว่าสิ่งที่เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งจัดหาคือ ตู้จัดเก็บเครื่องแท็บเล็ตและอุปกรณ์ชาร์ตไฟ โดยอาจจะมีการนำนวัตกรรมตู้เก็บและเครื่องชาร์ตไฟอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลงานของนักเรียนที่นำมาโชว์ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 66 มาประยุกต์ใช้งานต่อไป เพราะเป็นนวัตกรรมที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก รวมถึงจะต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาที่บรรจุใส่ในแท็บเล็ตที่จะแจกให้กับเด็กในปีการศึกษาหน้าด้วย
___________________________
ผลวิจัย สพฐ. พบผู้ปกครองพอใจ "แท็บเล็ต ป.1"
"สพฐ." ชี้ ผลวิจัยแท็บเล็ตพบว่า "ผู้ปกครอง" พอใจ มีผลดีต่อการศึกษาของนักเรียน เผยเดือน เม.ย. เตรียมเปิดข้อมูลเชิงคุณภาพเปรียบเทียบกึ๋นเด็ก ป.1 "ก่อน-หลัง" แจกแท็บเล็ต
วันนี้ (19 ก.พ.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้มีรายงานการติดตามผลการใช้งานแท็บเล็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ ตามโครงการคอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนทุกคน หรือ (One Tablet PC Per Child) ผ่านระบบออนไลน์ EMES ของ สพฐ. ซึ่งได้มีการสำรวจในโรงเรียน 20,700 แห่ง ครอบคลุมนักเรียน 432,248 คน สาระของการสำรวจนั้นเพื่อต้องการรับทราบข้อมูลของการใช้งานแท็บเล็ตหลังจากได้มีการจัดสรรให้กับนักเรียนไปแล้ว
เบื้องต้นพบว่า ครูมีการใช้งานแท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนเฉลี่ยสัปดาห์ละ 4 วัน ๆ ละ 55 นาที และได้ใช้แท็บเล็ตในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาหลักมากที่สุด คือ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 56.05 สังคมศึกษา ร้อยละ 44.5 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 42.7 วิทยศาสตร์ ร้อยละ 38.1 และภาษาอังกฤษ ร้อยละ 35.5 ทั้งนี้ สพฐ.ได้ส่งทีมวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อไปเจาะลึกรายละเอียดการใช้งานต่อไป เพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานแท็บเล็ตสำหรับเด็ก ป.1 นั้นจะช่วยเพิ่มสมรรถนะด้านใดมากที่สุดก่อนหน้าที่ไม่มีการใช้งานแท็บเล็ต เช่น การอ่านออก เขียนได้ หรือการออกเสียงคำศัพท์ในวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อมูลเชิงคุณภาพประมาณเดือน เม.ย. นี้
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีความเห็นของผู้ปกครองพบว่า ภาพรวมมีความพอใจ เพราะการใช้แท็บเล็ตจะส่งผลดีต่อการศึกษาของเด็กคิดเป็น ร้อยละ 86.1 ขณะเดียวกันแท็บเล็ตยังช่วยให้เด็กไทยก้าวทันเทคโนโลยีถึง ร้อยละ 93.9 เด็กไทยจะรู้จักค้นคว้าหาความรู้ ร้อยละ 82 และช่วยให้เด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ร้อยละ 67 อย่างไรก็ตามยังพบว่าสิ่งที่เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งจัดหาคือ ตู้จัดเก็บเครื่องแท็บเล็ตและอุปกรณ์ชาร์ตไฟ โดยอาจจะมีการนำนวัตกรรมตู้เก็บและเครื่องชาร์ตไฟอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลงานของนักเรียนที่นำมาโชว์ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 66 มาประยุกต์ใช้งานต่อไป เพราะเป็นนวัตกรรมที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก รวมถึงจะต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาที่บรรจุใส่ในแท็บเล็ตที่จะแจกให้กับเด็กในปีการศึกษาหน้าด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามในหนังสือคำสั่งศธ. เลขที่ 122/2556 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ตามที่รัฐบาลมีนโยบายจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต) ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และครู ตามนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556 เพื่อ ให้การขับเคลื่อนโครงการฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศธ. เป็นประธาน นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. รองประธาน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) รองประธาน พร้อมด้วยกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการจำนวน 18 คน โดย ให้คณะกรรมการดังกล่าว มีหน้าที่ในการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน และเร่งรัดการดำเนินโครงการฯให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
http://www.dailynews.co.th/education/185666
ไม่มีความคิดเห็น: