Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 กรกฎาคม 2556 หลังจากซอฟต์แบงก์(ยักษ์โทรคมนาคมญี่ปุ่น)ซื้อสปรินท์(ยักษ์โทรคมนาคมเบอร์3)เตรียมเงินลงทุนไว้ถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บริการ4Gพร้อมลดอุปกรณ์หัวเว่ยเทคโนโลยีตามที่รัฐบาลขอ


ประเด็นหลัก

บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแดนปลาดิบ "ซอฟต์แบงก์" น่าจะเป็นตัวอย่างล่าสุดที่ดีที่สุด หลังขยายอาณาจักรธุรกิจไปยังตลาดโทรคมนาคมเมืองมะกันได้สำเร็จ หลังจัดการสัญญาซื้อขายหุ้นในบริษัท สปรินท์ เน็กซ์เทล ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมายาวนานมาถึง 9 เดือนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัทซอฟต์แบงก์ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตในประเทศญี่ปุ่น กำลังจะซื้อบริษัท สปรินท์ เน็กซ์เทล โอเปอเรเตอร์รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จในไม่ช้า หลังจากคณะกรรมาธิการสหภาพโทรคมนาคม (Federal Communications Commission) หรือเอฟซีซี อนุมัติให้ซอฟต์แบงก์ปิดดีลซื้อขายหุ้นของสปรินท์ เน็กซ์เทล มูลค่ากว่า 21,600 ล้านเหรียญสหรัฐได้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม

ที่ผ่านมา ส่งผลให้ "ซอฟต์แบงก์" และประธานบริษัท "มาซาโยชิ ซัน" เข้ามามีพื้นที่ยืนในตลาดโทรคมนาคมแห่งสหรัฐอเมริกาในทันที

นอก จากนี้ "เอฟซีซี" ยังอนุญาตให้ "สปรินท์" สามารถเข้าซื้อหุ้นในบริษัท "เคลียร์ไวร์" โอเปอเรเตอร์รายหนึ่งในอเมริกาได้กึ่งหนึ่งด้วย

"มิ กนัน ไคลเบิร์น" รักษาการประธาน "เอฟซีซี" ให้สัมภาษณ์ว่า การอนุมัติในครั้งนี้จะเป็นผลดีกับชาวอเมริกันทั้งหมดที่ใช้บริการโมบายบรอด แบนด์ โดยแผนการเพิ่มทุนด้านเครือข่ายของสปรินท์และเคลียร์ไวร์น่าจะช่วยเร่งการ ขยายบริการโมบายบรอดแบนด์ รวมถึงเพิ่มอัตราการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือของสหรัฐอเมริกา เพิ่มทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค สร้างนวัตกรรม และทำให้ระดับราคาค่าบริการลดต่ำลงด้วย

การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท "ซอฟต์แบงก์" น่าจะช่วยเสริมแกร่งให้บริษัทสปรินท์ โอเปอเรเตอร์อันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ รองจากสองยักษ์ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ บริษัท เวอไรซัน ไวร์เลส และบริษัทเอที แอนด์ ที "มาซาโยชิ ซัน" ซีอีโอ "ซอฟต์แบงก์" เปิดเผยว่า ตนจะใช้กลยุทธ์การวางระดับราคาค่าบริการแบบใหม่ การลงทุนด้านเครือข่าย การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ "สปรินท์" กลายเป็นคู่แข่งอย่างแท้จริงในตลาดที่มีการครอบครองด้วยบริษัทโอเปอเรเตอร์ สองรายใหญ่ให้ได้ โดยเตรียมเงินลงทุนไว้ถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับใช้ในการขยายโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการ




ซอฟต์ แบงก์, สปรินท์ และเคลียร์ไวร์ คาดว่าจะจัดการเรื่องซื้อขายหุ้นทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดย "ซอฟต์แบงก์" ให้การรับประกันกับเจ้าหน้าที่สหรัฐว่า บริษัทจะลดปริมาณการใช้งานอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมที่ผลิตจากบริษัท "หัวเว่ยเทคโนโลยี" บริษัทสัญชาติจีน เนื่องจากปีที่ผ่านมารัฐสภาสหรัฐกล่าวหาว่าบริษัทหัวเว่ยมีความเกี่ยวโยงกับ กองทัพของประเทศจีน และมีปัจจัยความเสี่ยงที่จะทำให้สหรัฐอเมริกาโดนสืบข้อมูลผ่านอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากการควบรวมระหว่างบริษัทซอฟต์แบงก์ สปรินท์ และเคลียร์ไวร์ ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอันดับสี่และอันดับห้าของตลาด ทั้งหมดยังตัดสินใจควบรวมกันจนกลายเป็นบริษัทเดียวในชื่อ บริษัท ที-โมบาย ยูเอส (TMUS) ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

"เว็บไซต์พี ซีแม็ก" วิเคราะห์ว่า ก่อนหน้านี้ทั้งสปรินท์และเคลียร์ไวร์ต่างประสบปัญหาด้านเงินทุนทั้งคู่ การที่ซอฟต์แบงก์เข้ามาซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทสปรินท์จึงเป็นเหมือนข่าวดี ของทั้งสองบริษัท โดย "ซีอีโอ" ของซอฟต์แบงก์น่าจะหวังใช้ "สปรินท์" เป็นช่องทางบุกธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือระดับโลก ซึ่งหมายความว่า เขาเตรียมจะทุ่มเงินเป็นหลักหลายพันล้านเหรียญเพื่อให้สปรินท์สามารถผงาด ขึ้นไปต่อกรกับอีกสองยักษ์ในอเมริกาได้ โดยเฉพาะเรื่องการเพิ่มคุณภาพและความเร็วของโครงข่าย ส่งผลให้จุดยืนของสปรินท์ในขณะนี้แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 10 ปี


















______________________________________





ยักษ์มือถือเมืองปลาดิบบุกอเมริกา "ซอฟต์แบงก์" ยึด "สปรินท์"


เส้น แบ่งขอบเขตพื้นที่ทำธุรกิจของวงการโทรคมนาคมในปัจจุบันเลือนลางขึ้นทุกที เพราะผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ประกอบกับรูปแบบธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์ไร้สายมีหลักมาตรฐานคล้ายคลึงกัน ทั่วโลก อาจแตกต่างไปบ้างจากสภาพการแข่งขันและพฤติกรรมผู้บริโภค จึงไม่แปลกที่จะมีโอกาสได้เห็นค่ายมือถือในบางประเทศขยายขอบเขตธุรกิจไปนอก เหนือพื้นที่เดิมของตน

บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแดนปลาดิบ "ซอฟต์แบงก์" น่าจะเป็นตัวอย่างล่าสุดที่ดีที่สุด หลังขยายอาณาจักรธุรกิจไปยังตลาดโทรคมนาคมเมืองมะกันได้สำเร็จ หลังจัดการสัญญาซื้อขายหุ้นในบริษัท สปรินท์ เน็กซ์เทล ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมายาวนานมาถึง 9 เดือนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัทซอฟต์แบงก์ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตในประเทศญี่ปุ่น กำลังจะซื้อบริษัท สปรินท์ เน็กซ์เทล โอเปอเรเตอร์รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จในไม่ช้า หลังจากคณะกรรมาธิการสหภาพโทรคมนาคม (Federal Communications Commission) หรือเอฟซีซี อนุมัติให้ซอฟต์แบงก์ปิดดีลซื้อขายหุ้นของสปรินท์ เน็กซ์เทล มูลค่ากว่า 21,600 ล้านเหรียญสหรัฐได้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม

ที่ผ่านมา ส่งผลให้ "ซอฟต์แบงก์" และประธานบริษัท "มาซาโยชิ ซัน" เข้ามามีพื้นที่ยืนในตลาดโทรคมนาคมแห่งสหรัฐอเมริกาในทันที

นอก จากนี้ "เอฟซีซี" ยังอนุญาตให้ "สปรินท์" สามารถเข้าซื้อหุ้นในบริษัท "เคลียร์ไวร์" โอเปอเรเตอร์รายหนึ่งในอเมริกาได้กึ่งหนึ่งด้วย

"มิ กนัน ไคลเบิร์น" รักษาการประธาน "เอฟซีซี" ให้สัมภาษณ์ว่า การอนุมัติในครั้งนี้จะเป็นผลดีกับชาวอเมริกันทั้งหมดที่ใช้บริการโมบายบรอด แบนด์ โดยแผนการเพิ่มทุนด้านเครือข่ายของสปรินท์และเคลียร์ไวร์น่าจะช่วยเร่งการ ขยายบริการโมบายบรอดแบนด์ รวมถึงเพิ่มอัตราการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือของสหรัฐอเมริกา เพิ่มทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค สร้างนวัตกรรม และทำให้ระดับราคาค่าบริการลดต่ำลงด้วย

การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท "ซอฟต์แบงก์" น่าจะช่วยเสริมแกร่งให้บริษัทสปรินท์ โอเปอเรเตอร์อันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ รองจากสองยักษ์ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ บริษัท เวอไรซัน ไวร์เลส และบริษัทเอที แอนด์ ที "มาซาโยชิ ซัน" ซีอีโอ "ซอฟต์แบงก์" เปิดเผยว่า ตนจะใช้กลยุทธ์การวางระดับราคาค่าบริการแบบใหม่ การลงทุนด้านเครือข่าย การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ "สปรินท์" กลายเป็นคู่แข่งอย่างแท้จริงในตลาดที่มีการครอบครองด้วยบริษัทโอเปอเรเตอร์ สองรายใหญ่ให้ได้ โดยเตรียมเงินลงทุนไว้ถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับใช้ในการขยายโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการ

หลังการซื้อขาย "โอเปอเรเตอร์" สัญชาติญี่ปุ่นจะเข้าถือหุ้นของ "สปรินท์" คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 78% โดยก่อนหน้านี้ "ซอฟต์แบงก์" ต้องแข่งขันแย่งซื้อหุ้นของ

บริษัทสปรินท์และเคลียร์ไวร์กับบริษัท ดิช เน็ตเวิร์ก (DISH) ทำให้ต้องเพิ่มมูลค่าในการซื้อขายหุ้นจาก 20,600 ล้านเหรียญสหรัฐในครั้งแรก เป็น 21,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากดิช เน็ตเวิร์ก เข้ามาเสนอราคาซื้อขายสปรินท์ภายหลัง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ซอฟต์แบงก์จะเป็นผู้ได้สิทธิ์เข้าซื้อหุ้นของสปรินท์ แต่ไม่ได้หมายความว่าซอฟต์แบงก์จะได้เป็นเจ้าของใบอนุญาตคลื่นความถี่ใน สหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด

ด้าน "แดน ฮีส" ซีอีโอสปรินท์ กล่าวว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้ว อุตสาหกรรมไร้สายในสหรัฐอเมริกาเกือบกลายเป็นตลาดที่มีผู้เล่นรายหลักเพียง แค่สองราย แต่ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรในครั้งนี้ ได้เข้าใกล้การสร้าง "สปรินท์" ให้มีความแกร่งมากกว่าเก่ายิ่งขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น, ท้าทายผู้นำตลาดในขณะนี้ และผลักดันนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในเศรษฐกิจของประเทศอเมริกาด้วย

ซอฟต์ แบงก์, สปรินท์ และเคลียร์ไวร์ คาดว่าจะจัดการเรื่องซื้อขายหุ้นทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดย "ซอฟต์แบงก์" ให้การรับประกันกับเจ้าหน้าที่สหรัฐว่า บริษัทจะลดปริมาณการใช้งานอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมที่ผลิตจากบริษัท "หัวเว่ยเทคโนโลยี" บริษัทสัญชาติจีน เนื่องจากปีที่ผ่านมารัฐสภาสหรัฐกล่าวหาว่าบริษัทหัวเว่ยมีความเกี่ยวโยงกับ กองทัพของประเทศจีน และมีปัจจัยความเสี่ยงที่จะทำให้สหรัฐอเมริกาโดนสืบข้อมูลผ่านอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากการควบรวมระหว่างบริษัทซอฟต์แบงก์ สปรินท์ และเคลียร์ไวร์ ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอันดับสี่และอันดับห้าของตลาด ทั้งหมดยังตัดสินใจควบรวมกันจนกลายเป็นบริษัทเดียวในชื่อ บริษัท ที-โมบาย ยูเอส (TMUS) ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

"เว็บไซต์พี ซีแม็ก" วิเคราะห์ว่า ก่อนหน้านี้ทั้งสปรินท์และเคลียร์ไวร์ต่างประสบปัญหาด้านเงินทุนทั้งคู่ การที่ซอฟต์แบงก์เข้ามาซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทสปรินท์จึงเป็นเหมือนข่าวดี ของทั้งสองบริษัท โดย "ซีอีโอ" ของซอฟต์แบงก์น่าจะหวังใช้ "สปรินท์" เป็นช่องทางบุกธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือระดับโลก ซึ่งหมายความว่า เขาเตรียมจะทุ่มเงินเป็นหลักหลายพันล้านเหรียญเพื่อให้สปรินท์สามารถผงาด ขึ้นไปต่อกรกับอีกสองยักษ์ในอเมริกาได้ โดยเฉพาะเรื่องการเพิ่มคุณภาพและความเร็วของโครงข่าย ส่งผลให้จุดยืนของสปรินท์ในขณะนี้แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 10 ปี

เว็บไซต์ ออลติงส์ดีนำเสนอข้อมูลว่า มาซาโยชิ ซัน ซีอีโอซอฟต์แบงก์ กำลังเตรียมแผนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้พร้อมเดินหน้าทันทีที่การเจรจาซื้อ หุ้นสำเร็จเสร็จสิ้น โดยแผนหลักของซอฟต์แบงก์ขณะนี้คือ การลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐไปกับการขยายโครงข่ายความเร็วสูงที่ชื่อว่า "แอลทีอี" และการเปิดศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างซอฟต์แบงก์และสปรินท์ที่ รัฐแคลิฟอร์เนียให้เสร็จสิ้นก่อนปลายปีนี้

อย่างไรก็ตาม หมายความว่าโปรเจ็กต์ดังกล่าวต้องใช้เงินทุนมหาศาล และอาจทำให้หนี้ของบริษัทสปรินท์พอกพูนยิ่งกว่าเดิมได้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374131810

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.