04 มิถุนายน 2557 วทท.เจริญ ระบุ ผู้ประกอบการวิทยุธุรกิจท้องถิ่น ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ประจำ จึงส่งผลให้พนักงานตกงานกว่า 30,000-40,000 คน จาก 3,000-4,000 สถานี และก่อให้เกิดภาระหนี้สินตามมา
ประเด็นหลัก
นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (วทท.) เปิดเผยกับ ‘ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์’ ว่า จากกรณีดังกล่าว ทางกลุ่มผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งๆที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ไม่เคยเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเลยแม้แต่น้อย แต่กลับต้องถูกสั่งปิดกิจการอย่างไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ทางผู้ประกอบการวิทยุธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลและได้รับใบอนุญาตทดลองออกอากาศจาก กสทช.อย่างถูกต้องนั้น ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ประจำ อันเนื่องมาจากสปอนเซอร์ถอนโฆษณา และระงับการจ่ายเงิน โดยมีสาเหตุมาจากการออกอากาศไม่ครบตามสัญญา รวมถึงสถานีจำเป็นต้องยกเลิกการจ้างพนักงาน จึงส่งผลให้พนักงานตกงานกว่า 30,000-40,000 คน จาก 3,000-4,000 สถานี และก่อให้เกิดภาระหนี้สินตามมา
______________________________________
วิทยุท้องถิ่น วอน กสทช.เลิกปิดคลื่น ลูกจ้างจ่อตกงานนับหมื่น
สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ กสทช. หลังคสช.สั่งระงับออกอากาศไม่มีกำหนด เผยผู้ประกอบการเดือดร้อน สปอนเซอร์ถอน เลิกจ้างพนักงานนับหมื่น ชี้พรุ่งนี้บอร์ดกสทช.ถกหาความชัดเจน...
จากกรณี ประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 32 เรื่องการระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย ได้เดินทางไปยื่นหนังสือกับน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อแจ้งให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการวิทยุธุรกิจในท้องถิ่นพร้อมกันนั้น ยังเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอีกด้วย
นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (วทท.) เปิดเผยกับ ‘ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์’ ว่า จากกรณีดังกล่าว ทางกลุ่มผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งๆที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ไม่เคยเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเลยแม้แต่น้อย แต่กลับต้องถูกสั่งปิดกิจการอย่างไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ทางผู้ประกอบการวิทยุธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลและได้รับใบอนุญาตทดลองออกอากาศจาก กสทช.อย่างถูกต้องนั้น ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ประจำ อันเนื่องมาจากสปอนเซอร์ถอนโฆษณา และระงับการจ่ายเงิน โดยมีสาเหตุมาจากการออกอากาศไม่ครบตามสัญญา รวมถึงสถานีจำเป็นต้องยกเลิกการจ้างพนักงาน จึงส่งผลให้พนักงานตกงานกว่า 30,000-40,000 คน จาก 3,000-4,000 สถานี และก่อให้เกิดภาระหนี้สินตามมา
ขณะเดียวกัน ทางสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไข ดังนี้ 1.ผู้เกี่ยวข้องคัดกรองสถานีที่มีการขออนุญาตถูกต้องและไม่ถูกต้อง 2.แยกแยะสถานีที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา 3.ปิดสถานีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง 4.ปิดสถานีที่ไม่ขออนุญาตจากทาง กสทช. 5.กสทช.ต้องใช้กฎกติกาของ กสทช.อย่างเคร่งครัด และเป็นธรรมไม่เหมารวม 6.ให้สถานีที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เปิดดำเนินการได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยอาจพิจารณาให้ออกอากาศในวันและเวลาตามห้วงเวลาที่กำหนด เช่น เปิดเวลา 06.00-18.00น.หรือตามที่ คสช.เห็นสมควร เพื่อให้มีการตรวจสอบ ดูแล และควบคุมได้
ขณะที่ 7.สถานีที่ได้รับการพิจารณาให้ออกอากาศ ต้องให้ความร่วมมือกับ คสช.โดยทำข้อตกลงเดียวกันในแต่ละพื้นที่ และให้ถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 8.ตามความในข้อ 6 และ 7 หากสถานีใดฝ่าฝืน ต้องถูกการระงับออกอากาศขั้นเด็ดขาด
“ภายหลังจากเข้าไปยื่นหนังสือแก่ กสทช.วันนี้ ทาง กสทช.ยอมรับว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงผลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการวิทยุท้องถิ่นเลย ซึ่งในวันพรุ่งนี้(4 มิ.ย.57)ทางบอร์ดกสทช.จะหยิบยกเรื่องดังกล่าวไปหารือ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขต่อไป โดยทางสมาคมฯ จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วย เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาด้วย เพราะทางกสทช.ได้ชี้แจงว่า การผ่อนปรนในเรื่องของวิทยุยังไม่มีอยู่ในแผนของ คสช." นายเจริญ กล่าว.
http://www.thairath.co.th/content/427103
ไม่มีความคิดเห็น: