Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 สิงหาคม 2557 (บทความ) แอพไทยไม่ธรรมดา!ทุนต่างชาติหนุนโกอินเตอร์ // APP “เคลมดิ” ได้เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัยแล้ว 11 บริษัท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 40% และอยู่ระหว่างเจรจาเพิ่มพันธมิตรบริษัทประกันอีก 5 ราย โดยมีการทำธุรกรรม การเคลมประกันประเภทต่างๆ รวม 14 ล้านครั้ง/ปี คิดเป็นมูลค่ามากถึง 3,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



กิตตินันท์ อนุพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอนนี่แวร์ ทูโก และผู้ก่อตั้งแอพ “เคลมดิ” กล่าวว่า ความท้าทายของบริษัทสตาร์ทอัพส์ของไทยคือเรื่องเงินทุน ซึ่งโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท ก็ช่วยผลักดันให้เป็นจริงได้ ทำให้กลุ่มนักลงทุนมาสนใจเพื่อที่จะทำให้บริษัทสามารถลงทุนทางด้านการตลาดได้มากขึ้น ในการเข้าไปทำตลาดในประเทศอื่นที่มีศักยภาพ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ที่ยังไม่มีแอพ เกี่ยวกับการเคลมในธุรกิจประกันภัยรถยนต์แต่มีการใช้รถยนต์มากกว่าไทยหลายเท่าตัว นอกจากนี้จะพยายามขยายตลาดไปยังสิงคโปร์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน มาเลเซีย

ที่ผ่านมา แอพ “เคลมดิ” ได้เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัยแล้ว 11 บริษัท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 40% และอยู่ระหว่างเจรจาเพิ่มพันธมิตรบริษัทประกันอีก 5 ราย ที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้ ปัจจุบันตลาดประกันภัยรถยนต์ไทยมีผู้ซื้อกรมธรรม์ ชั้น 1-3 จำนวน 8 ล้านคัน โดยมีการทำธุรกรรม การเคลมประกันประเภทต่างๆ รวม 14 ล้านครั้ง/ปี คิดเป็นมูลค่ามากถึง 3,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ “เคลมดิ” เป็นแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้สามารถเคลมประกันได้ที่จุดเกิดเหตุภายใน 15 นาที ช่วยประหยัดเวลาได้มากถึง 90% ประหยัดค่าใช้จ่ายบริษัทประกันลง 80% และลดการโกงได้ 100% สร้างความสะดวกให้กับลูกค้าไม่ต้องรอตัวแทนจากบริษัทประกัน (เซอร์เวเยอร์) มาถ่ายรูปเป็นหลักฐาน แต่ลูกค้าสามารถถ่ายรูปได้เองทั้งหมด และส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทได้ทันที จากปกติการเคลมประกันโดยทั่วไปจะโดยคิดค่าบริการ 550 บาท/ครั้งใน กทม. และ 1,100 บาทในต่างจังหวัด ซึ่งเคลมดินั้นไปเก็บจากบริษัทเองตามทรานเซ็กชั่นที่ใช้งาน เช่น เก็บเงินกับบริษัทประกัน 50 บาท/ครั้งในกรุงเทพฯ และ 100 บาท/ครั้งในต่างจังหวัด ทำให้ต้นทุนลดถึง 500 บาท/การเคลม


______________________________




แอพไทยไม่ธรรมดา!ทุนต่างชาติหนุนโกอินเตอร์

โพสต์เมื่อ : 18 ส.ค. 2557, 07:31 น.
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
โดย...โชคชัย สีนิลแท้

หลังจากดีแทค เดินหน้าโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท หรือเรียกได้ว่าเป็นโครงการปั้น ซิลิคอน วัลเลย์ของเมืองไทยก็ว่าได้ ที่ดีแทคพยายามเฟ้นหานักพัฒนาแอพพลิเคชั่นไทยที่มีศักยภาพไปสู่ระดับอินเตอร์มานาน 2 ปี จนถึง ณ วันนี้ แอพพลิเคชั่นฝีมือคนไทยไปเตะตานักลงทุนต่างชาติ พร้อมกับให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อให้เป็นแอพระดับสากลต่อไป ถือได้ว่าเป็นความหวังของผู้ที่ชื่นชอบพัฒนาแอพ สามารถได้ใช้เวทีดังกล่าวเพื่อผลักดันผลงาน รวมไปถึงสร้างรายได้ที่จะเข้ามาเป็นเท่าตัว หากผลงานดังกล่าวผ่านการยอมรับ

เรืองโรจน์ พูนผล ผู้อำนวยการโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท กล่าวว่า โครงการดีแทค แอคเซอเลเรทประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ทีมจากบริษัท ผู้ก่อตั้ง “เคลมดิ“ (Claim di) ซึ่งเป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ดีแทค แอคเซอเลเรท ได้รับเงินทุนสนับเริ่มต้น จากเวนเจอร์แคปปิตอลรายใหญ่ ได้แก่ 500 สตาร์ทอัพส์ คือกลุ่มนักลงทุนระดับแนวหน้าที่มารวมตัวกันจากซิลิคอน วัลเลย์ และโกลเด้นท์ เกต เวนเจอร์ คือบริษัทที่ระดมทุนช่วยเหลือผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานอยู่ในสิงคโปร์

สำหรับความสนใจในการลงทุนของกลุ่มทุนดังกล่าวเกิดจากการที่ดีแทค แอคเซอเลเรท และ เทเลนอร์ ดิจิทัล ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า และบริษัท สามารถ มัลติมีเดีย จัดงาน กรีก ออน อะ เพลน (Geeks on a plane) เชิญนักลงทุนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ และผู้ทรงอิทธิพลทางด้านนี้จากทั่วโลกมายังประเทศไทย ซึ่งทีมบริษัท เอนนี่แวร์ ทูโก ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานท่ามกลางนักลงทุนเหล่านี้เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา

“ทีมบริษัท เอนนี่แวร์ ทูโก ผู้พัฒนาแอพเคลมดิจะได้รับในช่วงพรีซีรี่ส์เอเป็นเงินไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการผลักดันให้แอพเคลมดินั้นสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเอเชีย มูลค่าของบริษัท Anywhere to go สามารถเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัวได้ภายในเวลา 2 เดือน ระหว่างบูธแคมป์หรือว่ายังบูธแคมป์ จะยังไม่จบก็ตามก็ถือว่าเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จ” เรืองโรจน์ กล่าว

เมื่อ 2 ปีก่อน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสายตากลุ่มนักลงทุนระดับโลกเลย แต่มีการพัฒนาและผลักดันให้เกิดการพัฒนาและก้าวไปสู่ระดับสากล แอพจากฝีมือคนไทยจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยติดลำดับที่ 36 ของโลก ที่น่าสนใจในการพัฒนาสิ่งดังกล่าว และเชื่อว่าจะก้าวเข้าสู่ลำดับต้นๆ ได้ไม่ยากในไม่ช้า

ไคลี อึ้ง หุ้นส่วนนักลงทุนจาก 500 สตาร์ทอัพส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า โอกาสที่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นจากไทยจะก้าวขึ้นสู่ระดับโลกนั้นไม่ยาก เพราะเกิดการจากนักพัฒนาแอพ และมีหน่วยงานที่ให้ความสนใจสนับสนุน อีกทั้งการเกิดโตของการใช้สมาร์ทโฟนก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่กองทุนฯ ให้การสนับสนุนแอพเคลมดิ เนื่องจากมองเห็นโอกาสขยายตลาดไปธุรกิจประกันต่างประเทศ แต่ที่ผ่านมานักลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่ไปลงทุนในสิงคโปร์ เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์ให้การสนับสนุนชัดเจน โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 500 สตาร์ทอัพส์ ได้ให้เงินสนับสนุนเหล่าบริษัท สตาร์ทอัพส์ ของไทยไปแล้ว 7 บริษัท ที่ผลิตแอพพลิเคชั่น ประกอบด้วย Taamkru Noonswoon Play basic EKO Pomelo Builk และ Claim di

กิตตินันท์ อนุพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอนนี่แวร์ ทูโก และผู้ก่อตั้งแอพ “เคลมดิ” กล่าวว่า ความท้าทายของบริษัทสตาร์ทอัพส์ของไทยคือเรื่องเงินทุน ซึ่งโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท ก็ช่วยผลักดันให้เป็นจริงได้ ทำให้กลุ่มนักลงทุนมาสนใจเพื่อที่จะทำให้บริษัทสามารถลงทุนทางด้านการตลาดได้มากขึ้น ในการเข้าไปทำตลาดในประเทศอื่นที่มีศักยภาพ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ที่ยังไม่มีแอพ เกี่ยวกับการเคลมในธุรกิจประกันภัยรถยนต์แต่มีการใช้รถยนต์มากกว่าไทยหลายเท่าตัว นอกจากนี้จะพยายามขยายตลาดไปยังสิงคโปร์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน มาเลเซีย

ที่ผ่านมา แอพ “เคลมดิ” ได้เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัยแล้ว 11 บริษัท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 40% และอยู่ระหว่างเจรจาเพิ่มพันธมิตรบริษัทประกันอีก 5 ราย ที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้ ปัจจุบันตลาดประกันภัยรถยนต์ไทยมีผู้ซื้อกรมธรรม์ ชั้น 1-3 จำนวน 8 ล้านคัน โดยมีการทำธุรกรรม การเคลมประกันประเภทต่างๆ รวม 14 ล้านครั้ง/ปี คิดเป็นมูลค่ามากถึง 3,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ “เคลมดิ” เป็นแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้สามารถเคลมประกันได้ที่จุดเกิดเหตุภายใน 15 นาที ช่วยประหยัดเวลาได้มากถึง 90% ประหยัดค่าใช้จ่ายบริษัทประกันลง 80% และลดการโกงได้ 100% สร้างความสะดวกให้กับลูกค้าไม่ต้องรอตัวแทนจากบริษัทประกัน (เซอร์เวเยอร์) มาถ่ายรูปเป็นหลักฐาน แต่ลูกค้าสามารถถ่ายรูปได้เองทั้งหมด และส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทได้ทันที จากปกติการเคลมประกันโดยทั่วไปจะโดยคิดค่าบริการ 550 บาท/ครั้งใน กทม. และ 1,100 บาทในต่างจังหวัด ซึ่งเคลมดินั้นไปเก็บจากบริษัทเองตามทรานเซ็กชั่นที่ใช้งาน เช่น เก็บเงินกับบริษัทประกัน 50 บาท/ครั้งในกรุงเทพฯ และ 100 บาท/ครั้งในต่างจังหวัด ทำให้ต้นทุนลดถึง 500 บาท/การเคลม

และนี่ถือเป็นตัวอย่างก้าวสำคัญในการพัฒนาแอพไทยให้ก้าวไปสู่เวทีระดับโลก


http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/313053/แอพไทยไม่ธรรมดา-ทุนต่างชาติหนุนโกอินเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.