Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 สิงหาคม 2557 กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง.อำนาจ ระบุ โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็กที่ออกอากาศทางฟรีทีวีในปัจจุบัน พบว่ามีโฆษณาอาหารที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพของเด็ก ร้องให้ กสทช. แก้ไข

ประเด็นหลัก



นายอำนาจ แป้นประเสริฐ กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง เปิดเผยว่า เครือข่ายฯ ได้ติดตามโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็กที่ออกอากาศทางฟรีทีวีในปัจจุบัน พบว่ามีโฆษณาอาหารที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพของเด็ก และยังใช้เทคนิคการโฆษณาสารพัดรูปแบบ เพื่อจูงใจให้บริโภค เช่น ใช้พรีเซ็นเตอร์ดารา คนดัง ตัวการ์ตูน เน้นเรื่องรสชาติ การกระตุ้นให้บริโภคเกินจำเป็น การโน้มนำว่ามีคุณค่า ราคาถูก บริโภคแล้วจะเด่น หากไม่บริโภคแล้วจะด้อยกว่าคนอื่น ทั้งมีเนื้อหาส่อไปในทางเพศซึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก รวมถึงมีโฆษณาแฝง โดยจงใจใช้กลุ่มเป้าหมายเด็กเป็นหลัก ซึ่งอาจทำให้เด็กเล็กและเยาวชนไม่รู้เท่าทันการโฆษณา ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ


______________________________




เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กร้องควบคุมโฆษณาอาหารในรายการเด็ก



รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2557 คณะเครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผ่าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ขอให้ กสทช. ออกมาตรการควบคุมโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็กทางโทรทัศน์

นายอำนาจ แป้นประเสริฐ กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง เปิดเผยว่า เครือข่ายฯ ได้ติดตามโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็กที่ออกอากาศทางฟรีทีวีในปัจจุบัน พบว่ามีโฆษณาอาหารที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพของเด็ก และยังใช้เทคนิคการโฆษณาสารพัดรูปแบบ เพื่อจูงใจให้บริโภค เช่น ใช้พรีเซ็นเตอร์ดารา คนดัง ตัวการ์ตูน เน้นเรื่องรสชาติ การกระตุ้นให้บริโภคเกินจำเป็น การโน้มนำว่ามีคุณค่า ราคาถูก บริโภคแล้วจะเด่น หากไม่บริโภคแล้วจะด้อยกว่าคนอื่น ทั้งมีเนื้อหาส่อไปในทางเพศซึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก รวมถึงมีโฆษณาแฝง โดยจงใจใช้กลุ่มเป้าหมายเด็กเป็นหลัก ซึ่งอาจทำให้เด็กเล็กและเยาวชนไม่รู้เท่าทันการโฆษณา ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ

เครือข่ายจึงขอเสนอแนวทางต่อ กสทช.ให้ออกระเบียบเรื่องการโฆษณาทั้งทางตรงและทางแฝงให้ชัดเจน เน้นการกำกับดูแลการสื่อสารการตลาดทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจ ค่านิยม และพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งควรออกระเบียบห้ามไม่ให้มีการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม ในรายการสำหรับเด็ก หรือกำหนดให้ต้องมีโฆษณาที่มีเนื้อหาไม่เป็นพิษภัยต่อเด็กเพื่อเผยแพร่ในช่วงเวลารายการสำหรับเด็กแยกจากโฆษณาที่เผยแพร่ในรายการทั่วไป

ที่สำคัญควรมีกลไกติดตามและตรวจสอบการโฆษณา เพื่อกำกับดูแลได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่รอรับเรื่องร้องเรียนเท่านั้น รวมถึงสนับสนุนทำงานร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรการศึกษาด้านการวิจัยการคุ้มครองผู้บริโภคหรือภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409041357

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.